คำนาม
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 151.5K views



คำนาม

ชนิดและหน้าที่ของคำ
คำในภาษาไทยแบ่งตามหน้าที่ ออกเป็น 7 ชนิด
1. คำนาม
2. คำสรรพนาม
3. คำกริยา
4. คำวิเศษณ์
5. คำบุพบท
6. คำสันธาน
7. คำอุทาน

คำนาม คือ คำที่ใช้เรียกชื่อ คน สัตว์ สิ่งของ และกริยาอาการต่าง ๆ ซึ่งส่วนมาก ทำหน้าที่ผู้กระทำและผู้รับการกระทำ โดยทั่วไปผู้กระทำจะอยู่หน้ากริยา ผู้รับกระทำอจะอยู่หลังกริยา

ชนิดของคำนาม มี 5 ชนิด
1. สามานยนาม
2. วิสามานยนาม
3. สมุหยนาม
4. อาการนาม
5. ลักษณนาม

สามานยนาม คือ นามที่ใช้เรียกทั่วไป ไม่เจาะจงว่าเป็นคนใด สัตว์ใด สิ่งใด เช่น
บุคคล     ได้แก่    ครู่ พ่อ แม่ พี่ น้อง นักเรียน
สัตว์    ได้แก่    นก ช้าง ลิง ปลา แมว สุนัข
สถานที่    ได้แก่    บ้าน โรงเรียน วัด สะพาน ถนน ตลาด
นามธรรม   ได้แก่    ชื่อเสียง อำนาจ เกียรติ อายุ บุญ บาป การเงิน การคลัง

วิสามานยาม คือ นามที่เป็นชื่อเฉพาะของคน สัตว์ สิ่งของ หรือสถานที่ ใด ๆ เช่น
บุคคล    ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี พระยาอุปกิตศิลปสาร
สัตว์    ได้แก่ เจ้าพระยาไชยยานุภาพ(ช้างพระที่นั่งของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช) มอม
สถานที่    ได้แก่ ภูเก็ต พัทยา พังงา
สิ่งของ    ได้แก่ พระไตรปิฏก

สมุหนาม คือ นามที่เป็นคำเรียกชื่อหมวดหมู่ของคน สัตว์ สิ่งของ ส่วนมากจะวางอยู่หน้าสามานยนาม หรือบุรุษสรรพนาม
บุคคล    ได้แก่ คณะนักเรียน กลุ่มสมาชิกวุฒิสภาพ กองลูกเสือ
สัตว์    ได้แก่ โขลงช้าง ฝูงปลา หมู่แมลง
สิ่งของ    ได้แก่ ช่อดอกไม้ กองฟาง ทะลายมะพร้าว
สถานที่    ได้แก่ หมู่ปราสาท    กรมสามัญศึกษา

อาการนาม คือ นามที่บอกชื่ออาการ ความเป็นอยู่ คุณลักษณะและภาวะต่าง ๆ ที่ไม่มีตัวตน ส่วนมากจะมีคำว่า การ หรือ ความ นำหน้า
การ    นำหน้าคำกริยา    เช่น การเรียน การกิน การเล่น
ความ    นำหน้าคำวิเศษณ์    หรือกริยาเกี่ยวกับจิตใจ (นามธรรม) เช่น ความร้อน ความคิด ความฝัน ความดี ความชั่ว ความเกียจคร้าน ความรุ่งเรือง ความก้าวหน้า ความเสียหาย ความดับสูญ

เกร็ดความรู้
การหรือความ ที่นำหน้าสามานยนาม จัดเป็นสามานยสาม ไม่ใช่อาการนาม เช่นการเงิน การประปา การไฟฟ้า การคลัง

ลักษณนาม คือ นามที่ใช้บอกลักษณะของนาม ที่อยู่ข้างหน้า โดยจะวางไว้หลังคำบอกจำนวนนับ หรือหลัง สามานยนาม เช่น ปลาหลายฝูง ลูกเสือ 5 หมู่ ช้างโชลงใหญ่ ทหาร 2 กอง

ข้อสังเกต สมุหนามและลักษณนามบางทีใช้คำคำเดียวกัน มีหลักสังเกต คือ สมุหนามมักอยู่หน้าสามานยนาม ลักษณนามอยู่หลังคำบอกจำนวนหรืออยู่หลังสามานยนาม

ตัวอย่างลักษณนาม


หน้าที่ของนาม
นามทำหน้าที่ต่าง ๆ ตามตำแหน่งในประโยค ดังนี้
1. อยู่หน้ากริยาทำหน้าที่ผู้กระทำหรือประธานตัวอย่าง พระยาพิชัยดาบหัก เกิดที่เมืองพิชัย
2. อยู่หลังสกรรมกริยา ทำหน้าที่ผู้ถูกกระทำ ตัวอย่าง พระยาตากให้รางวัลนายทองดี, บุตรเจ้าเมืองพิชัยกับพวกข่มเหงจ้อย
หมายเหตุ ถ้าต้องการเน้นกรรม อาจสลับที่กรรมไว้หน้ากริยาและหน้าประธานก็ได้
- รางวัลพระยาตากให้นายทองดี
- เด็กบุญเกิดนายทองดีนำไปเมืองตากด้วย
3. อยู่หลังนามที่เป็นกรรมอยู่แล้ว ทำหน้าที่เป็นกรรมเอง กรรมที่อยู่ข้างหน้า เรียกว่ากรรมตรง และอาจมีคำว่า แก่ ให้ หรือ ให้แก่ อยู่หน้ากรรมรองก็ได้ ตัวอย่าง
- พระยาตากมองรางวัลนายทองดี
พระยาตากมอบรางวัลแก่นายทองดี
รางวัลเป็นกรรมตรง นายทองดี เป็นกรรมรอง
- นายทองดีสอนวิชามวยให้เด็กบุญเกิด
นายทองดีสอนวิชามวยแก่เด็กบุญเกิด
วิชามวยเป็นกรรมตรง เด็กบุญเกิด เป็นกรรมรอง
4. อยู่หลังวิกตรรถกริยา หรือกริยามีส่วนเติมเต็มทำหน้าที่เสริมความหมายของกริยา ตัวอย่าง
พระยาพิชัยดาบหักเป็นเจ้าเมืองพิชัย
5. อยู่หลังนามและสรรพนาม ทำหน้าที่ขยายนามและสรรพนามอย่างวิเศษณ์ ตัวอย่าง
- จ้อยมีฝีมือมวยยอดเยี่ยม
- พระยาพิชัยดาบหักใช้ดาบเล่มหักฟันพม่า
- เขาคนนั้นเป็นใคร
6. อยู่หลังคำบุพบททำหน้าที่ขยายคำข้างหน้าร่วมกับบุพบท
- พระยาพิชัยดาบหักมีความจงรักภักดีต่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ต่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมาหาราช ขยาย มี
- จ้อยเป็นเด็กวัดมหาธาตุที่เมืองพิชัย
ที่เมืองพิชัย ขยายวัดมหาธาตุ
7. ขยายคำข้างหน้าโดยไม่ต้องมีบุพบทนำ
- เขานอนเตียง     ละบุพบท        บน
- นักเรียนกลับบ้าน  ละบุพบท    ยังหรือยัง