ระบบพลังลมปราณในการร้องเพลง (Pulmonary system)
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
18 ม.ค. 65
 | 6.8K views



การหายใจสำหรับการพูดธรรมดา และ การหายใจสำหรับการร้องเพลง มีความแตกต่างกันมาก เพราะต้องใช้ความจุปอดที่มากกว่าเพื่อให้สามารถปล่อยลมหายใจออกได้ยาวนานและคงที่ เพียงพอกับช่วงประโยคของท่อนเพลงที่ร้อง 

ในคนปกตินั้น

  • หายใจเข้าได้สุดประมาณ 6-7 ลิตร
  • หายใจออกสุดจะมีปริมาตรเหลืออยู่ในปอด ประมาณ 1.5-2 ลิตร
  • คิดได้ความแตกต่างประมาณ 5 ลิตร นั่นคือ ปริมาณลมหายใจเข้าในภาวะปกติ  หรือ vital capacity (VC)
  • ซึ่งในเวลาปกติเราจะมีความแตกต่างน้อยกว่านี้ เพราะเราจะหายใจเข้าและออกไม่ถึงที่สุดของปริมาตรนั้น


ในภาวะปกติ

  • การหายใจเข้าโดยใช้กล้ามเนื้อหายใจและการหายใจออกจากแรง elastic recoid (ดีดกลับ) ของปอดและช่องอก จะให้ความเปลี่ยนแปลงอยู่ที่ประมาณ 35-50% ของ VC


ในการร้องเพลง

  • ต้องใช้ความจุปอดตั้งแต่ระดับ 5 % VC จนถึง 100% VC  ทำให้ต้องจัดการกับ Positive และ negative recoid ของปอดและช่องอก รวมถึงกระบังลมและกล้ามเนื้อช่วยหายใจด้วย

 

  • ซึ่งทำให้การร้องเพลงมีลักษณะที่ต่างจากการหายใจปกติ คือ มีระยะหายใจเข้านานกว่าหายใจออก แต่ในการร้องเพลงจะมีระยะหายใจออกนานกว่าระยะหายใจเข้า การฝึกการหายใจสำหรับการร้องเพลงจึงเป็นสิ่งสำคัญ


ศัพท์เกี่ยวกับการร้องเพลงจะเรียกองค์ประกอบที่ช่วยให้ลมหายใจยาวขึ้นว่า support โดยเริ่มจากการจัดท่าทางในการร้องเพลงให้ถูกต้อง โดยมีหลักการคือ

  1. ให้กล่องเสียงอยู่ในทางตั้งตรงไม่เอนไปหน้าหรือหลัง
  2. หลังตรงเพื่อให้ช่องอกมี elastic recoid ดีที่สุด
  3. หย่อนกล้ามเนื้อท้อง เพื่อให้กระบังลมสามารถเคลื่อนขึ้นลงได้ดีที่สุด


ปัจจุบันท่ายืนในการร้องเพลงนั้นในบางโรงเรียนสอนร้องเพลงจะสอนให้แอ่นส่วนท้องมาด้านหน้าเล็กน้อย (abdominal-out position ปกติเป็น abdominal-in position) เพื่อให้ช่องท้องและกระบังลมหย่อนกว่าท่าตรงปกติ 

แต่จากงานวิจัยของ Jenny Iwarsson พบว่าการหย่อนของกระบังลมในท่า abdominal-in position จะทำให้กระบังลมหย่อนมากกว่า อย่างไรก็ดีใครถนัดท่าไหนก็ทำไปมันไม่ต่างกันมากนัก

 


Tag : voice