การสร้างคำ ตอนที่ 3 คำสมาส
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 384.1K views



การสร้างคำ ตอนที่ 3 คำสมาส

สมาส  คือ การสร้งคำที่นำเอาคำจากภาษาบาลีหรือสัสสกฤต 2 คำรวมให้เป็นคำเดียวกัน เกิดเป็นคำใหม่ที่ยังคงเค้าความหมายเดิมอยู่ และเวลาออกเสียงจะออกเสียงต่อเนื่องกัน

หลักการสมาส
- บาลี+บาลี  ตัวอย่างเช่น พุทธ+บูชา , ยุทธ+ภูมิ, ราช+การ , รัฐ+บาล , พยัคฆ+ราช , อัคคี+ภัย
- บาลี+สันสกฤต  ตัวอย่างเช่น วัฒน+ธรรม , หัตถ+กรรม , จริย+ศึกษา , รัฐ+บุรุษ , อิทธิ+ฤทธิ์ , ฉันท+ลักษณ์
- สันสกฤต+บาลี ตัวอย่างเช่น เทศ+บาล , ธรรม+บูชา , กรรม+กร , เศรษฐ+กิจ ,มิตร+ภาพ, เชษฐ+ราช
- สันสกฤต+สันสกฤต  ตัวอย่างเช่น ธรรม+ศาสตร์ , อักษร+ศาสตร์ , ศีล+ธรรม , โจร+กรรม , สัตย + เคราะห์ , พัสดุ + ภัณฑ์

ข้อสังเกต
1. เมื่อสมาสกันแล้วถ้าพยางค์สุดท้ายของคำหน้ามีรูป วิสรรชนีย์ (สระอะ) ให้ตัดออกแต่การอ่านจะออกเสียงอะกึ่งเสียงต่อเนื่องกัน เช่น ธุระ+การ   อ่านว่า ทุ-ระ-กาน  พละ+ศึกษา อ่านว่า พะ-ละ-สึก-สา
2. ถ้าคำหน้ามี่ตัวการันต์ให้ตัดไม้กัณฑฆาตออกก่อน และเขียนติดกัน เช่น กาญจน์+บุรี , สัมพันธ์+ภาพ , พันธ์+กรณี , อารัมภ์+บท

การพิจารณาคำสมาส
การอ่าน
การอ่านออกเสียงคำสมาสจะต้องออกเสียงสระตรงพยางค์ท้ายของคำหน้า เช่น

        พันธุกรรม อ่านว่า พัน-ทุ-กำ
        อุบัติเหตุ     อ่านว่า อุ-บัด-ติ-เหด
        ธนบัตร       อ่านว่า ทะ-นะ-บัด
        นิติศาสตร์    อ่านว่า นิ-ติ-สาด

คำสมาสบางคำที่ไม่อ่านออกเสียงต่อเนื่องกัน เช่น
        ชาตินิยม      อ่านว่า ชาด-นิ-ยม
        ธนบุรี          อ่านว่า ทน-บุ-รี
        สามัญชน     อ่านว่า สา-มัน-ชน
        ชลบุรี         อ่านว่า ชน-บุ-รี

การแปลความหมาย
เมื่อแปลความหมายจะแปลจากคำหลังไปหาคำหน้า เช่น

                ปฐม+วัย         ปฐมวัย     แปลว่า วัยต้น
                บุพ+ชาติ         บุพชาติ   แปลว่า ชาติก่อน
                สนธิ+สัญญา    สนธิสัญญา   แปลว่า สัญญาติดต่อกัน

ข้อสังเกต  คำว่า พระ ที่นำหน้าศัพทืที่มาจากภาษาบาลีหรือสันสกฤต ซึ่งแผลงมาจาก วร เมื่อประกอบกันแล้วก็เป็นคำสมานด้วย เช่น พระพุทธ พระอรหันต์ พระภูมิ พระเคราะห์ พระรูป พระองค์ พระธรรม

สมาสโดยวิธีการสนธิ
สระสนธิ คือการสนธิด้วยสระทั้งคำหน้าและคำหลัง เมื่อเชื่อมกันแล้วสระจะเหลือเพียงตัวเดียวเท่านั้น โอยอาจจะเป็นสระของคำหน้าหรือสระของคำหลังก็ได้

อะ,อา  สนธิ อะ,อา             จะเป็นสระ อะ และตัวสะกด เช่น
                                    การ+อนุค - การันต์
                                    อน+อนุค  - อนันต์
                                    เอก+อรุก  - เอกรรถ
อะ,อา      สนธิ อิ,อี            จะเป็นสระ เอ เช่น
                                    มหา+อิสึ  - มเหสี
                                    ราช+อินทร - ราเชนทร์
                                    คช+อินทร  - คเชนทร์
                                    ปรม+อินทร - ปรเมนทร์
                                    นร+อินทร  - นเรนทร์
                                    นร+อิศวร   - นเรศวร
อะ,อา      สนธิ อุ,อู            จะเป็นสระ อุ,อู,โอ เช่น
                                    ยุทะ+อุปกรณ - ยุทโธปกรณ์
                                    กุศล+อุปาย  - กุศโลบาย
                                    มหา+อุฬาร  - มโหฬาร
                                    นย+อุปาย  - นโยบาย
                                    ราช+อุปโภค - ราชูปโภค
อะ,อา      สนธิ เอ,ไอ,โอ,เอา  จะเป็นสระ เอ,ไอ,โอ,เอา เช่น
                                    ราช+ โอวาท - ราโชวาท
                                    มหา+ไอศวรย - มไหศวรรย์
                                    มหา+เอฬาร   -  มเหาฬาร
                                    อน+เอก  -  อเนก
                                    ปิย+โอรส  -  ปิโยรส
อิ,อี          สนธิ อิ,อี           เป็นสระ อิ,อี เช่น
                                    ไพรี+อินทร  -  ไพรินทร์
                                    ภูมิ+อินทร  -  ภูมินทร์
                                    เภรี+อินทร  -  เภรินทร์
                                    กรี+อินทร  -  กรินทร์
อุ,อู          สนธิ อุ,อู           เป็นสระ อุ,อู,โอ เช่น
                                    ดนุ+อุปถัมภ์  -  ดนูปถัมภ์

พยัญชนะสนธิเป็นวิธีการเชื่อมคำซึ่งคำแรกมีพยัญชนะอยู่สุดท้ายศัพท์ และคำที่นำมาสมาสกันนั้น ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะเช่นเดียวกัน ดังมีวิธีการดังนี้

คำหน้าเป็น นิส,ทุส
ให้เปลี่ยน ส เป็น ร แล้วนำไปสนธิกัน เช่น
นิส+ภัย   -   นิรภัย
นิส+ มิด  -  นิรมิต
นิส+ทุกข์  -  นิรทุกข์
นิส+โรค  -  นิรโรค
ทุส+ชาติ  -  ทุรชาติ
ทุส+พล  -  ทุรพล

คำหน้าลงท้ายด้วย น
ให้ตัด น  ออก แล้วสนธิ เช่น
อาคมน+ภาว  -   อาตมภาพ
พรหมน+ชาติ  -  พรหมชาติ
พรหมน+จรย  -  พรหมจรย

คำหน้าลงท้ายด้วย ส
ให้แผลง ส เป็น โอ แล้วสนธิกัน เช่น
มนส+รถ  -  มโนรถ

นฤคหิตสนธิ
หมายถึง คำที่นำมาสนธิกันนั้น คำหน้าจะมี นฤคหิต (  ํ ) ซึ่งเป็นคำอุปสรรค ตามหลักบาลีสันสกฤต เมื่อสนธิกับคำหลังแล้ว นฤคหิต นั้นจะเปลี่ยนเป็นพยัญชนะ ว ญ ณ น และ ม ซึ่งเป็นพยัญชนะท้ายวรรคของพยัญชนะวรรคต่าง ๆ ในภาษาบลี

พยัญชนะวรรค กะ
นฤคหิต (  ํ ) + คำที่พยัญชนะต้น เป็นพยัญชนะวรรค กะ ประกอบด้วย ก ช ค ข และมี ง ซึ่งเป็นพยัญชนะท้ายวรรค เมื่อสนธิกันแล้วนฤคหิตจะเปลี่ยนเป็น ง ซึ่งเป้นพยัญชนะท้ายวรรค กะ โดยจะออกเสียงเป็น สัง
ตัวอย่างเช่น
สํ+คีต - สังคีต
สํ+ขาร  -  สังขาร
สํ+กร   -  สังกร
สํ+คม   -  สังคม
สํ+เกด   -  สังเกต
พยัญชนะวรรค จะ
นฤคหิต (  ํ ) + คำที่พยัญชนะต้น เป็นพยัญชนะวรรค จะ ประกอบด้วย จ ฉ ช ฌ และมี ญ ซึ่งเป็นพยัญชนะท้ายวรรค เมื่อสนธิกันแล้วนฤคหิตจะเปลี่ยนเป็น ญ ซึ่งเป็นพยัญชนะท้ายวรรค จะ โดยจะออกเสียงเป็น สัญ
ตัวอย่างเช่น
สํ+จร  -  สัญจร
สํ+ชัย   -   สัญชัย
สํ+ชาติ  -  สัญชาติ
สํ+ญา   -   สัญญา
สํ+ญาณ  -  สัญญาณ

พยัญชนะวรรค ฎะ
นฤคหิต (  ํ ) + คำที่พยัญชนะต้น เป็นพยัญชนะวรรค ฎะ ประกอบด้วย ฎะ ฐ ฑ ณ และมี ญ ซึ่งเป็นพยัญชนะท้ายวรรค เมื่อสนธิกันแลวนฤคหิตจะเปลี่ยนเป็น ณ ซึ่งเป็นพยัญชนะท้ายวรรค ฎะ โดยออกเสียงเป็น สัณ
ตัวอย่างเช่น 
สํ+ฐาน  -  สัณฐาน
สํ+ฐิติ  - สัณฐิติ

พยัญชนะวรรค ตะ
นฤคหิต (  ํ ) + คำที่พยัญชนะต้น เป็นพยัญชนะวรรค ตะ ประกอบด้วย ด ถ ท ธ และมี น ซึ่งเป็นพยัญชนะท้ายวรรค เมื่อสนธิกันแลวนฤคหิตจะเปลี่ยนเป็น น ซึ่งเป็นพยัญชนะท้ายวรรค ตะ โดยออกเสียงเป็น สัน
ตัวอย่างเช่น
สํ+ดน (ดาน)  -  สันดาน
สํ+ธาน  -  สันธาน
สํ+นิ+วาส  -  สันนิวาส
สํ+นิษฐาน  -  สันนิษฐาน
สํ+โดษ  -  สันโดษ

พยัญชนะวรรค ปะ
นฤคหิต (  ํ ) + คำที่พยัญชนะต้น เป็นพยัญชนะวรรค ปะ ประกอบด้วย ป ผ พ ภ และมี ษ ซึ่งเป็นพยัญชนะท้ายวรรค เมื่อสนธิกันแลวนฤคหิตจะเปลี่ยนเป็น ม ซึ่งเป็นพยัญชนะท้ายวรรค ปะ โดยออกเสียงเป็น สัม
ตัวอย่างเช่น
สํ+ปทา  -  สัมปทา
สํ+ปทาน  -  สัมปทาน
สํ+ผัส   -  สัมผัส
สํ+พันธ์   -  สัมพันธ์
สํ+ภาษณ์  -  สัมภาษณ์

พยัญชนะที่เป็นเศษวรรค
นฤคหิต (  ํ ) + คำที่พยัญชนะต้น เป็นพยัญชนะวรรค พยัญชนะที่เป็นเศษวรรค ประกอบด้วย ย ร ล ฬ ว ศ ษ ส ห  เมื่อสนธิกันแลวนฤคหิตจะเปลี่ยนเป็น ง
ตัวอย่างเช่น
สํ+โยค  -  สังโยค
สํ+วร   -  สังวร
สํ+วิช  -  สังวิช
สํ+วาส  -  สังวาส
สํ+หรณ์  - สังหรณ์

สระ

นิบาต