การสร้างคำ ตอนที่ 1 คำมูล คำซ้ำ
ทีมงานทรูปลูกปัญญา
|
06 ส.ค. 64
 | 33.2K views



การสร้างคำ ตอนที่ 1 คำมูล   คำซ้ำ

คำมูล หมายถึง ถ้อยคำคำเดียวที่ใช้เพื่อการสื่อสาร หรือใช้พูดจากันทั่วไป อาจจะเป็นคำที่มีมาแต่เดิม ซึ่งเรียกว่าคำไทยแท้ หรืออาจจะเป็นคำที่มาจากภาษาอื่น ๆ เช่นภาษาบาลี สันสกฤต เขมร จีน ชวา อังกฤษ ฯลฯ และใช้กันเป็นที่แพร่หลายแล้ว

คำมูลมีลักษณะสำคัญดังนี้

1.เป็นคำที่มีพยางค์เดียว หรืออกเสียงครั้งเดียว ที่มีความหมายในตัวเอง ซึ่งได้แก่ คำไทยแท้ เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง ดิน น้ำ ลม ไฟ เดิน เล่น ขี้น ลง อ้วน ผอม แข็ง หนา บาง ยืน เหนือ ใต้ ออก เข้า แมว หมา นก ช้าง เรือ ป่า เขา ฯลฯ คำเหล่านี้ถ้ามีตัวสะกดจะตรงตามมาตรา

2.เป็นคำหลายพยางค์ หรือ คำที่ออกเสียงหลายครั้งแต่มีความหมายเดียว ถ้าหากแยกพยางค์ออกจากัน แล้วแต่ละพยางค์จะไม่มีความหมารย หรือถ้ามีก็จะไม่เหมือนเดิม ซึ่งจะมีทั้งที่เป็นคำไทยแท้ เช่น มะระ กะทิ ตะร้า กระท่อม จิ้งหรีด มะละกอ ตุลุมพุก สะระแหน่ ทะมัดทะแมง ละล่ำละลัก กระฉับกระเฉง เป็นต้น

คำมูลที่รับมาจากภาษาอื่น ๆ
อาจเป็นคำพยางค์เดียว หรือ หลายพยางค์ก็ได้เช่น

- ภาษาจีน ได้แก่ เก๋ง บ๊วย ตั๋ว เกี๊ยะ เฮง ลื้อ ...
- ภาษาเขมร ได้แก่ ขลาด ควาญ โปรด สนาม สำเร็จ กระทรวง...
- ภาษาอังกฤษ ได้แต่ โน้ต เสิร์ฟ กราฟ คอมพิวเตอร์ แสตมป์ กัปตัน...
- ภาษาบาลี-สันสกฤต ได้แก่ ฤกษ์ ดุจ เปรต พัสดี เยาวชน ปรารถนา...
- ภาษาอื่น ๆ ได้แก่ ชวา บุหลัน กะลาสี ลองกอง ทุเรียน บุหงาส่าหรี...

คำซ้ำ
เป็นคำประสมที่เกิดจากการนำคำที่เหมือนกัน มาประสมกัน เพื่อเน้นหรือย้ำคำนั้น ๆ ให้มีน้ำหนักมากขึ้น หรือเบา ๆ ลง แล้วแต่กรณี เช่น สูงๆ ขาวๆ ดำๆ เร็วๆ เบาๆ อ้วนๆ ดีๆ ต่าง ๆ เป็นต้น

คำซ้ำ แบ่งตามวัตถุประสงค์ในการใช้ดังนี้
1.เน้นความหมายให้ชัดเจนขึ้น เวลาใช้คำแรกจะออกเสียงสูงและเสียงยาวกว่าปกติ เช่น
                    แม่ของฉันดี๊...ดี (ดีๆ)
                    พ่อของเธอ ดุ๊...ดุ (ดุๆ)
                    ผมของเธอย้าว...ยาว (ยาวๆ)

2.ไม่ต้องการชี้เฉพาะ เป็นการบอกกว้าง ๆ เช่น
                    พบกันตอนสาย ๆ พรุ่งนี้
                    บ้านของเขาอยู่ใกล้ๆ โรงเรียน
                    ฉันพบเขาแถว ๆ ท่าน้ำ

3.บอกความเป็นพหูพจน์ เช่น
                    เธอมีเสื้อผ้าเป็นตู้ ๆ
                    เพื่อน ๆ รักเขามาก
                    เด็ก ๆ ไม่ชอบรับประทานผัก

4.บอกลักษณะของสิ่งต่าง ๆ เช่น
                    ฉันชอบนักร้องเสียงหวาน ๆ
                    เธอใช้เสื้อผ้าดี ๆ มียี่ห้อ
                    เขามีรูปร่างผอม ๆ สูง ๆ

5.บอกถึงความไม่ตั้งใจ โดยพิจารณาจากบริบทนั้น ๆ เช่น
                    ทำส่ง ๆ ไปเถอะ
                    รับ ๆ ไปจะได้หมดเรื่องเสียที
                    รีบเขียน ๆ เสีย 5-6 บรรทัดก็พอ

6.ใช้กับภาษาพูดซึ่งมีความหมายเปลี่ยนไป เช่น
                    โจทย์เหล่านี้หมู ๆ จังเลย
                    เพิ่งเตือนไปหยก ๆ ก็ลืมเสียแล้ว
                    อย่าทำงานแบบลวก ๆ นะ

7.ต้องการแยกออกเป็นส่วน เช่น
                    ให้เธอพูดเป็นเรื่อง ๆ ไป
                    ผักเหล่านี้ต้องแยกเป็นอย่าง ๆ ไป
                    เธอเช็ดถูโต๊ะเป็นตัว ๆ ไป

การนำคำมาซ้ำกันทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงเดียวกับความหมาย ซึ่งมีข้อที่น่าสังเกตไว้ดังนี้
1.ถ้านำคำนามหรือคำบอกจำนวน (ตัวเลข) มาซ้ำกัน จะทำให้เกิดคำซ้ำที่มีความหมายเป็นพหูพจน์แต่ไม่อาจระบุจำนวนที่แน่ชัดได้ เช่น
                    ลูก  ๆ ไม่ค่อยทำการบ้านกันเลย
                    พวกเด็ก ๆ เล่นสนุกกันมาก

2.ถ้านำคำกริยาหรือวิเศษณ์มาซ้ำกัน
3.ถ้านำคำที่ใช้สำหรับบอกสถานที่ หรือบอกเวลามาซ้ำกัน
4.ถ้านำคำลักษณนามมาซ้ำกัน
5.ถ้านำคำกริยาหรือคำวิเศษณ์บางคำมาซ้ำกัน
6.ถ้านำคำซ้อนบางคำมาทำเป็นคำซ้ำ