Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

รวมเทคนิคสร้างแรงกระตุ้น ช่วยบริหารสมองซีกซ้ายและซีกขวาให้สมดุลกัน

Posted By Plook Magazine | 09 ก.ค. 63
15,406 Views

  Favorite

หลาย ๆ คนอาจจะไม่รู้ว่าตัวเองใช้สมองซีกใดซีกหนึ่งมากกว่าอีกซีกหนึ่งอยู่ เช่น คนที่ชอบอ่านหนังสือ ชอบเรียนหนังสือ ก็จะใช้สมองซีกซ้ายมากกว่าซีกขวา ส่วนคนที่ชอบถ่ายคลิป TikTok ชอบฟังเพลง ก็จะใช้สมองซีกขวามากกว่าซีกซ้าย ซึ่งการใช้สมองซีกใดซีกหนึ่งมากกว่าอีกซีกอาจทำให้เกิดผลเสียได้ เราจึงอยากชวนให้มาบริหารสมองทั้งซีกซ้ายและซีกขวาให้สัมพันธ์และสมดุลกัน ด้วย 4 เทคนิคง่าย ๆ ที่สามารถทำได้ทุกวัน

 

 

สมองซีกซ้ายและซีกขวา แตกต่างกันยังไง

• สมองซีกซ้าย จะคอยควบคุมการแสดงออก การมีสามัญสำนึก การคิดวิเคราะห์แยกแยะรายละเอียด การคิดวิเคราะห์ตีความ การใช้สมองซีกซ้ายเพียงด้านเดียวมากเกินไปอาจทำให้เป็นคนที่มีความเครียดสูง 

• สมองซีกขวา จะทำหน้าที่เกี่ยวกับการจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ งานศิลปะ ดนตรี รวมไปถึงการรับรู้ของสัญชาตญาณและอารมณ์ความรู้สึก การใช้สมองซีกขวาเพียงด้านเดียวมากเกินไปอาจทำให้เป็นคนขาดระเบียบ ใช้ชีวิตไม่ค่อยมีแบบแผนได้ 

 

“ถ้าไม่อยากมีวงจรความคิดแบบเดิม ๆ
ก็ต้องบริหารสมองซีกซ้ายและซีกขวาให้สมดุลกัน”

 

ทำความรู้จักกับ ‘คอร์ปัส คาโลซัม’

ในสมองของเราจะมีส่วนที่ชื่อว่า คอร์ปัส คาโลซัม (Corpus callosum) ซึ่งเป็นส่วนที่เชื่อมสมองซีกซ้ายกับซีกขวาเข้าด้วยกัน และยังทำหน้าที่เหมือนเป็นสะพานคอยถ่ายทอดข้อมูลระหว่างสมองทั้งสองซีกด้วย หากไม่บริหารคอร์ปัส คาโลซัม เพื่อให้การส่งข้อมูลระหว่างสมองทั้งสองซีกมีความสมดุลกัน ขอบเขตการทำงานของสมองก็จะถูกจำกัด ทำให้รูปแบบการใช้ความคิดวนเวียนอยู่แค่ในกรอบเดิม ๆ ถ้าไม่อยากมีวงจรความคิดแบบเดิม ๆ ก็ต้องบริหารสมองซีกซ้ายและซีกขวาให้สมดุลกัน !

 

เทคนิคสร้างแรงกระตุ้น ช่วยบริหารสมองซีกซ้ายและซีกขวาให้สมดุลกัน
 

เดินถอยหลังเป็นแนวตรง

เราสามารถเดินตรงไปข้างหน้าได้แบบชิลล์ ๆ แต่ถ้าลองเดินถอยหลังให้เป็นแนวตรง รับรองว่าจะต้องใช้สมาธิมากขึ้น เพราะต้องคอยระวังและกังวลกับการมองไม่เห็นทิศทาง แล้วยังต้องพยายามประคองร่างกายไม่ให้โงนเงนอีกด้วย การทำแบบนี้จะส่งผลดีต่อการกระตุ้นสมองซีกซ้ายและซีกขวา


วิธีฝึกเดินถอยหลังเพื่อกระตุ้นสมองทั้งสองซีก
ก้าวถอยหลังโดยให้ปลายนิ้วโป้งเท้าซ้ายแตะกับส้นเท้าขวา ตามด้วยก้าวเท้าขวาไปด้านหลัง ให้ปลายนิ้วโป้งเท้าขวาแตะส้นเท้าซ้าย เวลาก้าวถอยหลัง เท้าต้องก้าวเป็นแนวเส้นตรง และต้องทรงตัวให้อยู่

 

 

อาบน้ำ แปรงฟันด้วยมือข้างที่ไม่ถนัด

การใช้มือข้างที่ไม่ถนัดฟอกสบู่ สระผม ล้างตัว หรือแปรงฟัน จะทำให้เราต้องใช้ความพยายามเพิ่มมากขึ้น หรือรู้สึกว่ามันทำได้ยากขึ้น ซึ่งความรู้สึกไม่คุ้นเคยนี่แหละที่เป็นแรงกระตุ้นช่วยบริหารสมองซีกซ้ายและซีกขวา สามารถนำทริคนี้ไปปรับใช้กับกิจกรรมอื่น ๆ ได้นะ เช่น กินข้าวด้วยมือข้างที่ไม่ถนัด ฝึกเขียนด้วยมือฝั่งที่ไม่ถนัด เป็นต้น

 

 

ปั่นจักรยานช้า ๆ

เวลาเราปั่นจักรยานแบบปกติ ร่างกายจะขยับเพื่อพาจักรยานไปข้างหน้าเองโดยไม่ต้องตั้งสมาธิเพื่อประคองตัว แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นถีบจักรยานแบบช้า ๆ สมาธิทั้งหมดจะอยู่กับการประคองตัวเพื่อไม่ให้เสียสมดุล ซึ่งการเคลื่อนไหวที่ทำให้ร่างกายต้องปรับตัวเพื่อรักษาสมดุลนี้ จะช่วยบริหารสมองซีกซ้ายและซีกขวา และยังช่วยกระตุ้นให้สมองทั้งสองซีกมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกันเพิ่มมากขึ้นด้วย

 

 

หมุนแขนขวาและแขนซ้ายไปคนละทิศทาง

ลองหมุนแขวขวาไปด้านหน้าและหมุนแขนซ้ายไปด้านหลัง โดยต้องหมุนให้ไปพร้อม ๆ กันดู แล้วจะพบว่าร่างกายเราจะหยุดชะงักไปแป๊บนึง แรก ๆ ร่างกายจะงงหน่อยแต่สุดท้ายเราก็จะทำได้ ลองฝึกหมุนแขนขวาและซ้ายไปคนละทิศทางให้บ่อย ๆ เพราะมันช่วยให้การทำงานของคอร์ปัส คาโลซัมมีความกระตือรือร้นขึ้น

 

เราสามารถบริหารสมองซีกซ้ายและซีกขวาได้ง่าย ๆ ด้วย 4 เทคนิคตามที่บอก หมั่นทำทุกวัน วันละ 5-10 นาที แค่นี้สมองทั้งสองซีกก็จะสมดุลกัน และไม่ติดอยู่กับวงจรความคิดแบบเดิม ๆ แล้ว !


 

 

แหล่งข้อมูล
คาโต้ โทะชิโนะริ. (2558). ฝึกสมองให้ฉับไว แค่ทำอะไรต่างจากเดิม. แปลจาก No no kyokasho. แปลโดยอนิษา เกมเผ่าพันธ์. กรุงเทพฯ: อมรินทร์ฮาวทู อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง

 

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Magazine
  • 3 Followers
  • Follow