Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

Rare earth elements “แรร์เอิร์ธ” คืออะไร?

Posted By ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บัญญพนต์ พูลสวัสดิ์ | 21 พ.ค. 62
53,517 Views

  Favorite

สภาวะการของเหตุการณ์ Trade War ระหว่างสหรัฐอเมริกา และ สาธารณรัฐประชาชนจีน ตอนนี้ หลังประเด็นร้อนที่ “Google” (Trump?) ระงับความร่วมมือ “Huawei” กระทบผู้ใช้สมาร์ทโฟนแบรนด์ Huawei ทั่วโลก ทำให้การโต้แย้งประเด็นโดยสหรัฐฯ ให้เหตุผลว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงประเทศ ผลของ Trade War นี้จะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับการเจรจาของทั้งสองฝั่งทั้งสหรัฐอเมริกา และ สาธารณรัฐประชาชนจีน

ซึ่งการเจรจาต่อรองครั้งนี้ ฝั่งของสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้หยิบแร่สำคัญที่ทางจีนมีอยู่และส่งออกใหญ่ที่สุดของประเทศ แร่ที่ว่านั้นมีความสำคัญทางด้านอุตสาหกรรมของโลก ที่สำคัญเป็นข้อต่อรองที่จำมากเป็นต่อสหรัฐฯ นั่นคือแร่ Rare Earth (Rare Earth Elements)

แร่ Rare Earth นั้นถือว่าเป็นส่วนประกอบสำคัญในการผลิต อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ที่สำคัญ​เช่น ชิปเซ็ตของเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนประกอบสำคัญในโทรศัพท์สมาร์ตโฟน หรือส่วนประกอบของแบตเตอร์รี่ ถ้าเอาง่ายๆ ธาตุ (Elements) ในกลุ่มของ Rare Earth ที่หายากอย่าง Yttrium และ Europium นั้นมีความสำคัญต่อฟังก์ชันการทำงานของ สมาร์ตโฟนเกือบทุกโมเดล เพราะมีการใช้ในแบตเตอรี่ของโทรศัพท์ อีกทั้งธาตุที่ว่ายังเป็นองค์ประกอบสำคัญในการแสดงผลหน้าจอผ่านโดยตรงร่วมผ่านหน่วยประมวลผลกราฟิกของสมาร์ตโฟน ในอดีตแร่ดังกล่าวเป็นตัวแปรสำคัญของสมาร์ตโฟน แบรนด์ดังอย่าง Apple (ซึ่งในปัจจุบันมีการปรับแผนการผลิตโดยลดการใช้ Yttrium และ Europium ลดลง เป็นการทดแทนด้วยวัสดุรีไซเคิล)

REE - Rare Earth Elements and their Uses The demand for rare earth elements has grown rapidly, but their occurrence in minable deposits is limited. Article by: Hobart M. King, Ph.D., RPG

 

Rare Earth Element คือกลุ่มธาตุสำคัญรวมทั้งหมด 17 ธาตุที่สามารถค้นพบในดินได้ทั่วไป เพียงแค่กลุ่มธาตุทั้ง 17 ธาตุนี้มีความกระจัดกระจายตัว อีกทั้ง Rare Earth ทั้ง 17 ธาตุที่ว่านี้มีลักษณะคล้ายกันชนิดที่ต้องตรวจสอบให้ละเอียดในการคัดแยกชนิด ปัจจัยที่ว่ามาส่งผลต่อกระบวนการสกัดแยกธาตุแต่ละธาตุออกจากกันใน ซึ่งกระบวนการถลุงแร่ มีผลกระทบรุนแรงต่อสภาพแวดล้อมคือเสียทางเคมีออกมาอย่างมหาศาลในขั้นตอนการถลุง และเทคนิคกระบวนการที่ว่าต้องลงทุนสูง และมีรูปแบบซ้ำซ้อนยุ่งยาก

ทำไมสหรัฐต้องนำเข้าจากจีน

ข้อมูลย้อนหลังจาก Geology.com โดยเก็บข้อมูลจาก The United States Geological Survey. เป็นข้อมูลปี 1994-2017 จะพบว่าประเทศที่ผลิต Rare Earth Elements ได้มากที่สุดคือสาธารณรัฐประชาชนจีน ในทางตรงข้ามประเทศที่ต้องการทรัพยากรเหล่านี้ กลับเป็นสหรัฐฯ

REE production chart: This chart shows China's dominance in the production of rare earth elements between 1994 and 2017.
The United States was a significant producer through the 1990s, but low-priced materials being sold by China forced mines in the United States and other countries out of operation. As China limited exports, and prices increased rapidly in 2009 and 2010, mines in Australia and the United States became active again. Graph by Geology.com using data from the United States Geological Survey.

 

จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่า Rare Earth เป็นข้อต่อรองสำคัญรูปแบบหนึ่งไม่พอ สหรัฐฯ มีความจำยอมต้องนำเข้าแร่ดังกล่าวจากจีนสูงถึง 80% ดังที่กล่าวไว้ว่ากระบวนการสกัดแยกธาตุต้องใช้เทคนิคที่ยาก เกิดปัญญาของเสียเคมีจำนวนมาก ไปจนถึงแรงงานที่ถูกกว่าของจีน เป็นสิ่งที่สหรัฐฯ ต้องถอนตัวจากอุตสาหกรรมนี้

ปริมาณนำเข้า Rare Earth ทั้งหมดตอนนี้จีนกลายเป็นเป็นผู้ผลิต และขยายตลาดการผลิตธาตุ Rare Earth มากกว่า 90% ของโลกมาอย่างต่อเนื่องแบบเบ็ดเสร็จ (Monopoly) ตั้งแต่ยุค 1990 ข้อเสนอที่จีนยื่นให้ทำให้ทางสหรัฐฯ ต้องกลับมารื้อฟื้นอุตสาหกรรมนี้ใหม่ ไม่ก็กำลังพิจารณามองหาแหล่งผลิตทดแทนอย่างประเทศอื่น เช่น ประเทศเวียดนาม เป็นต้น

Rare Earth Metals

ธาตุโลหะหายาก หรือ Rare Earth สำคัญมีอะไรบ้าง

Rare Earth Elements ที่สำคัญต่ออุตสาหกรรมอิเล็คทรอนิกส์นั้นมีอยู่ 5 ธาตุ คือ Scandium สำหรับอุตสาหกรรมขุดเจาะน้ำมัน Promethium สำหรับการผลิตแบตเตอรี่พลังงานนิวเคลียร์ Lanthanum สำหรับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ และกล้องถ่ายรูป Yttrium ใช้ในการผลิตโทรทัศน์และเตาอบไมโครเวฟ และPraseodymium ซึ่งใช้ซึ่งใช้อุตสาหกรรมผลิตใยแก้วนำแสง และเครื่องยนต์ของเครื่องบิน

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บัญญพนต์ พูลสวัสดิ์
  • 0 Followers
  • Follow