Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

รูโหว่โอโซน

Posted By Guide NT | 03 เม.ย. 62
45,252 Views

  Favorite

โอโซนเป็นก๊าซชนิดหนึ่ง มีสูตรโมเลกุล คือ O3 โอโซนมีโครงสร้างที่ไม่เสถียรจึงสามารถเปลี่ยนกลับไปเป็นก๊าซออกซิเจน (O2) ได้ โดยโอโซนนี้จะอยู่ในชั้นบรรยากาศที่ชื่อว่า ชั้นสตราโทสเฟียร์ (Stratosphere) มีความสูงจากพื้นโลกประมาณ10 – 50 กิโลกเมตร

 

ก๊าซโอโซนที่อยู่ในชั้นบรรยากาศสตราโทสเฟียร์ มีหน้าที่ช่วยดูดซับรังสียูวี (Ultraviolet) โดยเฉพาะรังสียูวีบี (UV-B) ให้ผ่านมายังโลกในปริมาณที่พอเหมาะแก่การดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตบนโลก แต่ในยุคอุตสาหกรรมมีการใช้สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอนหรือสารซีเอฟซี (Chlorofluorocarbons : CFCs) ในเครื่องทำความเย็นจำพวกตู้เย็น แอร์ รวมถึงใช้ในสเปรย์ฉีดพ่นหรือการทำโฟม โดยสารซีเอฟซีที่หลุดลอยขึ้นไปในบรรยากาศจะไปทำลายก๊าซโอโซน ทำให้เกิดเป็นรูโหว่ในชั้นโอโซนนั้นเอง ส่งผลให้รังสียูวีสามารถทะลุผ่านมายังโลกได้มากขึ้น

 

เมื่อรังสียูวีทะลุผ่านเข้ามายังโลกได้มากขึ้น โดยเฉพาะรังสียูวีบี จะทำให้จุลินทรีย์หรือสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ๆ ตายได้ รวมทั้งไปทำลายเซลล์ผิวหนังของมนุษย์ทำให้เกิดเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง สามารถทำให้ตาเป็นต้อกระจกได้ และที่สำคัญ เมื่อโลกได้รับรังสียูวีมากขึ้นหรือรังสีที่มีความร้อน จึงเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นอีกด้วย

 

รูโหว่โอโซนเป็นเพียงชั้นบรรยากาศที่มีก๊าซโอโซนอยู่บางเบาเท่านั้น ไม่ใช่เกิดเป็นรูโหว่ที่ไม่มีก๊าซโอโซนอยู่เลย ในแต่ละปีก็จะมีขนาดของรูโหว่โอโซนแตกต่างกันไป แต่ในปัจจุบันมนุษย์เริ่มมีการตระหนักถึงความสำคัญของชั้นโอโซน โดยแต่ละประเทศต่างได้ร่วมกันทำสนธิสัญญาต่าง ๆ ในการลดการใช้สารคลอโรฟลูออโรคาร์บอนนี้ เพื่อรักษาชั้นโอโซนที่มีความสำคัญต่อมนุษยชาติและสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ บนโลก

 

 

บทความที่เกี่ยวข้อง

- โอโซนคืออะไร
- ภาวะโลกร้อน (Global Warming)

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Guide NT
  • 2 Followers
  • Follow