Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ร่วมไว้อาลัย…พระครูใบฎีกามณเฑียร มณฺฑิโร (วัฒนเสถียร) พระอาจารย์จ้อยแห่งสวนโมกขพลาราม ซึ่งได้มรณภาพแล้ว

Posted By มหัทธโน | 08 มี.ค. 62
5,312 Views

  Favorite

 

 ร่วมไว้อาลัย พระครูใบฎีกามณเฑียร  มณฺฑิโร (วัฒนเสถียร) พระอาจารย์จ้อย หรือท่านจ้อย แห่งสวนโมกขพลาราม อดีตเจ้าอาวาสวัดตะกรบ  

ที่มา : ธรรมสภา สวนมุทิตาธรรมาราม


พระครูใบฎีกามณเฑียร  มณฺฑิโร (วัฒนเสถียร) พระอาจารย์จ้อย ได้มรณภาพ เมื่อวันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2562 เวลา 13:21 น. ณ โรงพยาบาลศิริราช
 

ทางวัดจะนำสรีระของท่านกลับสู่สวนโมกขพลาราม อ.ไชยา จ. สุราษฏร์ธานี  และมีกำหนดการจัดงานประชุมเพลิง ในวันจันทร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2562 เวลา 13:00 น. ณ ลานสนามหญ้าค่ายลูกเสือ (ธรรมบุตร).                                                                                       

 

ที่มา : ธรรมสภา สวนมุทิตาธรรมาราม


 

 …*สัตว์ทั้งปวง ทั้งที่เป็นคนหนุ่ม คนแก่, ทั้งที่เป็น คนพาลและบัณฑิต, ทั้งที่มั่งมี และยากจน ล้วนแต่มีความตายเป็นที่ไปถึง ในเบื้องหน้า. เปรียบเหมือนภาชนะดิน ที่ช่างหม้อปั้นแล้ว ทั้งเล็กและใหญ่ ทั้งที่สุกแล้ว และยังดิบ ล้วนแต่มีการแตกทำลายเป็นที่สุด ฉันใด; ชีวิตแห่งสัตว์ ท.  ก็มีความตายเป็นเบื้องหน้า ฉันนั้น.                                                               “สิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา”                                                                                                                                       

 

ที่มา : ธรรมสภา สวนมุทิตาธรรมาราม

 

พิษลูกศรแห่งความทุกข์ของปุถุชน 


 *ภิกษุ ท. !  ฐานะ  ๕  ประการเหล่านี้ อันสมณะ  พราหมณ์  เทพ  มาร  พรหม  หรือใคร ๆ  ในโลก  ไม่พึงได้ตามปรารถนา  มีอยู่.  ห้าประการเหล่าไหนเล่า ? ห้าประการคือ สมณะ พราหมณ์ เทพ  มาร  พรหม  หรือใครๆ  ในโลก  ไม่อาจได้ตามปรารถนาว่า  “สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา  อย่าแก่เลย,  สิ่งที่มีความเจ็บไข้เป็นธรรมดา  อย่าเจ็บไข้เลย,  สิ่งที่มีความตายเป็นธรรมดา  อย่าตายเลย,  สิ่งที่มีความสิ้นไปเป็นธรรมดา  อย่าสิ้นไปเลย,  สิ่งที่มีความวินาศเป็นธรรมดาอย่าวินาศเลย”  ดังนี้. 


 ภิกษุ ท. !  สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา  ก็ย่อมแก่สำหรับบุถุชนผู้มิได้สดับ.  เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่แล้ว  เขาก็  ไม่พิจารณาเห็นโดยประจักษ์ว่า  “ไม่ใช่สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา  จะแก่สำหรับเราผู้เดียวเท่านั้น,  โดยที่แท้แล้ว  สิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดา  ย่อมแก่สำหรับสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงที่มีการมา  การไป  การจุติ  การอุบัติ,  ก็เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่แล้ว  เราจะมามัวเศร้าโศก กระวนกระวาย ร่ำไรรำพัน  ทุบอกร่ำไห้  ถึงความหลงใหลแม้อาหารก็ไม่ย่อย  กายก็เศร้าหมอง  การงานก็หยุดชงัก  พวกอมิตรก็ดีใจ  มิตรสหายก็เศร้าใจ”  ดังนี้.  บุถุชนนั้น  เมื่อสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาแก่แล้ว  ย่อมเศร้าโศก  กระวนกระวาย  ร่ำไรรำพัน  เป็นผู้ทุบอกร่ำไห้  ย่อมถึงความหลงใหล.  ภิกษุ ท. !  เรากล่าวว่า  บุถุชนผู้มิได้สดับนี้  ถูกลูกศรแห่งความโศก  อันมีพิษเสียบแทงแล้ว  ทำตนเองให้เดือดร้อนอยู่. 


 (ในกรณีแห่งสิ่งที่มี ความเจ็บไข้ เป็นธรรมดา  มี ความตาย เป็นธรรมดา มี  ความสิ้นไป  เป็นธรรมดา มี ความวินาศไป เป็นธรรมดา  ก็ได้ตรัสไว้ด้วยถ้อยคำอย่างเดียวกันกับในกรณีแห่งสิ่งที่มีความแก่เป็นธรรมดาข้างบนนี้. 


 และพระองค์ยังได้ตรัสไว้ ในลักษณะที่ตรงกันข้ามจากข้อความนี้ สำหรับอริยสาวก ผู้ได้สดับ.) 
 
 - ปญฺจก. อํ. ๒๒/๕๙/๔๘… จากชุดห้าเล่มจากพระโอษฐ์ (เล่มที่๒) อริยสัจจากพระโอษฐ์๑ (หน้า๒๖๗-๒๖๘)

สำนวนแปลพระบาลีโดย พระพุทธทาส สวนโมกขพลาราม.                                                                                                       

  “สิ่งใดมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดาสิ่งนั้นทั้งหมดมีความดับไปเป็นธรรมดา”.                                                                                                                                        *ศีล,สมาธิ,ปัญญา, และ ธรรมวินัยบัญญัติ ก็ดี ฯลฯ.  จำเป็นจะต้องมีเพื่อ ใช้เป็นเครื่องมือสำหรับ ขูดเกลา,สํารอก,กำจัดกิเลส [ราคะ,โทสะ,โมหะ ] ให้หมดไปจากจิตใจ. (เพื่อ… ความพ้นทุกข์).                                                                                                                           

 

ที่มา : ธรรมสภา สวนมุทิตาธรรมาราม

 

จุดมุ่งหมายแท้จริงของพรหมจรรย์.    


 ภิกษุ ท. !  พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีลาภสักการะและเสียงเยินยอเป็นอานิสงส์, พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีความถึงพร้อมด้วยศีลเป็นอานิสงส์, พรหมจรรย์นี้มิใช่มีความถึงพร้อมด้วยสมาธิเป็นอานิสงส์, พรหมจรรย์นี้ มิใช่มีความถีงพร้อมด้วยญาณทัสสนะเป็นอานิสงส์. 


 ภิกษุ ท. !  ก็เจโตวิมุตติที่ไม่กำเริบอันใด มีอยู่, พรหมจรรย์นี้มี เจโตวิมุตตินั่นแหละเป็นประโยชน์ที่มุ่งหมาย มีเจโตวิมุตินั่นแหละเป็นแก่นสาร มีเจโตวิมุตตินั่นแหละเป็นผลสุดท้ายของพรหมจรรย์ แล.  
 
 - มู. ม. ๑๒/๓๗๓/๓๕๒… จากชุดห้าเล่มจากพระโอษฐ์ (เล่ม๓) อริยสัจจากพระโอษฐ์๒ (หน้า๑๓๘๙)

สำนวนแปลพระบาลีโดย พระพุทธทาส สวนโมกขพลาราม.

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • มหัทธโน
  • 4 Followers
  • Follow