Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

เทคนิคเรียนภาษาจีนให้เข้าใจเร็ว ฉบับคนเพิ่งเริ่มเรียน

Posted By Plook Magazine | 15 มี.ค. 62
11,921 Views

  Favorite

สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มเรียนภาษาจีน ปัญหาที่คนส่วนใหญ่ต้องประสบก็คือ การจดจำตัวอักษร การอ่านพินอินให้ถูกต้อง รวมถึงการแยกศัพท์ที่มีความหมายคล้ายคลึงกันให้ได้ ครูพี่ปาล์มเลยมีเทคนิคดี ๆ สำหรับผู้ที่เริ่มเรียนภาษาจีนให้ได้ลองนำไปใช้กันค่ะ

 

1. วิธีจดจำตัวอักษรจีน
ตัวอักษรจีนส่วนใหญ่เกิดจากส่วนประกอบที่บอกความหมายและตัวที่แสดงเสียงอ่าน โดยเฉพาะคำศัพท์พื้นฐานง่าย ๆ เช่น “妈” แปลว่า แม่ อ่านว่า mā (มา) เกิดจากการผสมกันของ 女 (บอกความหมายที่เกี่ยวกับเพศหญิง) และ 马 ที่บอกเสียงอ่าน เมื่อไปผสมกับส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น 吗 แปลว่า ไหม/ใช่ไหม (ma) ก็ยังมีการออกเสียงอ่านที่คล้ายกับคำว่า 妈 โดยมีความหมายเกี่ยวกับการใช้ปาก 口 และคำบอกเสียงอ่าน คือ 马 เป็นต้น

 

2. วิธีออกเสียงภาษาจีนและการอ่านพินอิน
วิธีการที่ถูกต้องและดีที่สุดในการเรียนก็คือ การฝึกฟังเทปจากเจ้าของภาษาและดูวิดีโอการออกเสียงจากสื่อต่าง ๆ บนอินเทอร์เน็ต และจะสังเกตได้ว่าพินอินจำนวนมากมักจะมีข้อยกเว้นพิเศษด้วย เช่น พยัญชนะ j, q, x จะไม่ผสมกับสระเดียวกันกับพยัญชนะ z, c, s, zh, ch, sh, r ซึ่งผู้เรียนชาวไทยมักเจอปัญหาการออกเสียงพยัญชนะดังกล่าว ถึงแม้ว่าพยัญชนะข้างต้นจะออกเสียงคล้ายคลึงกัน และเมื่อเขียนประสมรูปสระเดียวกัน แต่จะไม่ออกเสียงเช่นเดียวกัน เช่น 字zì (จื้อ) ที่แปลว่า ตัวอักษร และ 记 jì (จี้) ที่แปลว่า จดจำ เป็นต้น

 

3. วิธีการแยกคำศัพท์ที่คล้ายคลึงกัน
เมื่อเรียนภาษาจีนไปสักพัก จะพบว่าคำศัพท์ภาษาจีนจำนวนมากเมื่อเปิดพจนานุกรมมักจะมีความหมายคล้ายคลึงกัน แต่ไม่สามารถแยกได้ว่าคำไหนต้องใช้ในสถานการณ์ใด เช่น 认为 (rènwéi) และ 以为 (yǐwéi) เทคนิคง่าย ๆ คือ พยายามท่องความหมายของแต่ละตัวอักษรให้ได้ เพราะเมื่อตัวอักษรไปผสมกันแล้วเกิดเป็นความหมายใหม่ ก็ยังคงมีความหมายเดิมแทรกอยู่ เช่น 认 (rèn) ที่แปลว่า จดจำแยกแยะ และ 以 yǐ ที่แปลว่า ถือเอา เมื่อนำไปผสมกับ 为 (wéi) คำว่า 认为 เลยแปลว่า เห็นว่า (บอกสิ่งที่คิดว่าเป็นเช่นนั้น) ส่วน 以为 จะแปลว่า หลงเข้าใจว่า (บอกสิ่งที่เข้าใจผิด) เป็นต้น

 

 

เรื่องโดย ครูพี่ปาล์ม-อัจฉรา เทพเกษตรกุล

- ศิลปศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ 2) วิชาเอกภาษาจีน

- อดีตบัณฑิตสาขาวรรณคดีจีนสมัยใหม่และร่วมสมัย จาก Nanjing University (มหาวิทยาลัย TOP 5 ในประเทศจีน)

- วิทยากรติวสอบวิชาความถนัดภาษาจีน (PAT 7.4) ให้กับโรงเรียนมัธยมในกรุงเทพฯ / ปริมณฑล และติวเตอร์สถาบันเดอชีเน่

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Magazine
  • 3 Followers
  • Follow