Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

เงินที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร หาคำตอบได้ที่พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย จ.ลำปาง

Posted By woonwaii | 29 มิ.ย. 61
3,608 Views

  Favorite

หลายคนอาจเคยสงสัยว่า ในสมัยก่อนที่ยังไม่มีธนบัตรใช้กันนั้น เขาซื้อของกันอย่างไร หรือเงินที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้มาจากไหน ?

 

มาหาคำตอบกันได้ที่ พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย สาขาลำปาง ที่นี่เล่าเรื่องราวประวัติความเป็นมาของธนาคาร เครื่องมือเครื่องใช้ ภาพถ่าย และเอกสารต่าง ๆ ที่จัดแสดงและตกแต่งได้อย่างสวยงาม น่าเดินเล่นถ่ายภาพสุด ๆ  

และโดยเฉพาะตัวอาคารเอง ก็เป็นอาคารประวัติศาสตร์ ที่สมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้คัดเลือกให้อาคารนี้เป็นอาคารอนุรักษ์ดีเด่น ประจำ พ.ศ. 2540 อีกด้วย

 

ภาพ : https://www.thaibankmuseum.or.th/

 

ภาพ: https://www.thaibankmuseum.or.th/

 

ตัวอาคารเดิมของพิพิธภัณฑ์นั้นใช้เป็นที่ทำการมาโดยตลอด และเคยเป็นที่พักของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ในช่วงที่ท่านดำรงตำแหน่งผู้จัดการธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาลำปาง ใน พ.ศ. 2540 จนได้ปรับเปลี่ยนเป็นพิพิธภัณฑ์ธนาคารไทยในเวลาต่อมา

 

ภาพ: https://www.thaibankmuseum.or.th

 

ภายในมีการจัดแสดงเกี่ยวกับประวัติศาสตร์การเงิน การธนาคาร จำลองห้องทำการธนาคาร ห้องพักผู้จัดการในอดีต

 

ภาพ: https://www.thaibankmuseum.or.th

 

ในอาคาร 2 ชั้น แบ่งการจัดแสดงเป็น 8 ส่วน คือ
1. กำเนิดธนาคาร
2. สถานราชสถิต
3. ไทยพาณิชย์วัฒนา
4. ลือชาเขลางค์
5. ลำปางสาขา
6. ปรัชญาบริหาร
7. บริการธุรกิจ
8. พิพิธกษาปณ์

 

หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเข้าชมพิพิธภัณฑ์ออนไลน์ได้ที่ https://www.thaibankmuseum.or.th

พิกัด: https://goo.gl/maps/tzRD9TzpVWq

ที่อยู่: พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย สาขาลำปาง เลขที่ 573 ถนนฉัตรไชย ตำบลสบตุ๋ย อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
การเยี่ยมชม: ติดต่อที่พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาลำปาง
โทร: 054221976, 054225062-3

 

แหล่งข้อมูล
thaibankmuseum
museumthailand
เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • woonwaii
  • 0 Followers
  • Follow