Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

เทคนิคการดึงศักยภาพความสามารถของเด็กนักเรียน

Posted By Plook Teacher | 06 มิ.ย. 61
11,348 Views

  Favorite

          ถ้าพูดถึงการเรียนรู้ในยุคไทยแลนด์ 4.0 ตามกระทรวงศึกษาธิการนั้นมีองค์ประกอบหลายด้านที่ทำให้ผู้เรียนแสดงถึงศักยภาพของตัวเองทั้งด้านการเรียน กิจกรรม ที่จะต้องเข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไป ให้ความสำคัญกับจินตนาการพร้อม ๆ ไปกับการเรียนรู้ จึงจะสามารถดึงศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคนออกมาได้ และปัจจัยสำคัญหนึ่งในนั้นก็คือ ลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้ ที่จะดึงดึงศักยภาพ ความสามารถของนักเรียนแต่ละคนออกมา

 

ภาพ : shutterstock.com

 

ลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้ ที่จะสามารถดึงศักยภาพของนักเรียนออกมา

 

- ต้องสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ที่ทำให้ผู้เรียนได้รับทักษะที่จำเป็นทั้งทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ การสร้างนวัตกรรม การเรียนและการทำงานร่วมกันเป็นทีม ซึ่งจะทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ และเห็นภาพในภาวะผู้นำ การสื่อสาร การใช้ข้อมูลและสารสนเทศ เป็นต้น กิจกรรมที่จะสร้างการเรียนรู้ เช่น

 

- การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Collaborative learning group) เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบแบ่งกลุ่ม ซึ่งสมาชิกในกลุ่มมีความสามารถที่แตกต่างกัน ก็จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ช่วยเหลือสนับสนุนซึ่งกันและกัน และมีความรับผิดชอบร่วมกันทั้งในหน้าที่คงตนเองและส่วนรวม

- เทคนิคคู่คิด (Think Pair Share) เป็นเทคนิคที่จะต้องใช้คู่กับวิธีการสอนแบบอื่น โดยผู้สอนเป็นผู้ตั้งคำถามหรือกำหนดปัญหาให้แก่ผู้เรียน จากนั้นให้ผู้เรียนแต่ละคนหาคำตอบของตนเองก่อน แล้วจับคู่กับเพื่อนอภิปรายหน้าชั้น

- การเรียนรู้แบบใช้เกม (Games) เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ผู้สอนนำเกมเข้ามา  บูรณาการ โดยสามารถนำมาใช้ได้ทั้งเข้าสู่บทเรียน การสอน การมอบหมายงาน และขั้นตอนการประเมินผล

- การเรียนรู้แบบแผนผังความคิด (Concept mapping) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนออกแบบแผนผังความคิด เพื่อนำเสนอสิ่งที่เป็นความคิดรวบยอด

- การเรียนรู้แบบสะเต็มศึกษา (STEM Education) เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการในเรื่องวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี คณิตศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ เน้นให้ผู้เรียนได้ใช้ทักษะต่าง ๆ ในการแก้ปัญหา เป็นต้น


 

- สร้างกิจกรรมที่เกิดจากปัญหา เพื่อให้นักเรียน (Result-Based Learning) หาทางออกด้วยการวิเคราะห์แก้ปัญหา จัดทำโครงงานในรูปแบบต่าง ๆ ขึ้นมา

- ส่งเสริมให้นักเรียนหาคำตอบที่หลากหลาย เช่น ค้นหาคำตอบจากห้องทดลอง ห้องปฏิบัติการ การเรียนรู้นอกห้องเรียน นอกจากการค้นหาในห้องสมุด อินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นการจำกัดความคิดของผู้เรียน

- สร้างการเรียนรู้แบบกรณีศึกษา (Analyze case studies) เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ศึกษาจากกรณีตัวอย่าง วิเคราะห์แลกเปลี่ยนหาแนวทางแก้ไข ทันต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน ผู้เรียนจะเห็นภาพและเข้าใจได้ง่ายมากขึ้น

- สร้างการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเกิดการกระตือรือร้นเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ค้นพบความรู้ใหม่ ๆ  เชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้กับวิถีชีวิต ส่งเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนรู้ตลอดชีวิต

 

ภาพ : shutterstock.com

 

          การสร้างกิจกรรมการเรียนรู้ เปิดพื้นที่การสร้างสรรค์เช่นนี้ ย่อมส่งผลดีต่อผู้เรียนในการมีส่วนร่วม นั่นหมายถึงการแสดงความสามารถศักยภาพของผู้เรียนออกมาได้เป็นอย่างดี และเมื่อทำเช่นนี้บ่อยครั้ง ก็จะทำให้ผู้เรียนเข้าใจความถนัด ค้นหาตัวเองเจอว่าชอบทางไหน ซึ่งครูผู้สอนจะต้องใช้เทคนิคบาลานซ์การเรียนและกิจกรรม ปรับการสอนให้เข้ากับผู้เรียนแต่ละคนเพื่อดึงความสนใจต่อวิชาที่ยากหรือไม่ถนัด

 

          ที่สำคัญไม่ตีกรอบทางความคิด ไม่ประเมินผลเฉพาะด้านวิชาการอย่างเดียว สร้างสื่อการสอนที่น่าสนใจ วิเคราะห์การประเมินผลแต่ละคนเพื่อดูว่าผู้เรียนคนไหนถนัดวิชาอะไร และพร้อมที่จะผลักดันให้เขาไปได้ไกลกว่าเดิม สิ่งนี้จะทำให้เขามั่นใจตัวเองมากขึ้นว่าเขาทำอะไรได้ดี ถนัดอะไร แม้จะไม่ได้เกรดสี่ทุกวิชาก็ตาม

 
เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Teacher
  • 127 Followers
  • Follow