Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

เทคโนโลยีใหม่ในการสร้างพันธะทางเคมี

Posted By thaiscience | 09 พ.ค. 61
9,756 Views

  Favorite

นักเคมีอินทรีย์อาจจะสามารถปฏิวัติอุตสาหกรรมเคมีและยาได้โดยการเปลี่ยนสารเคมีต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปสาร ประกอบอินทรีย์ที่มีมูลค่าได้อย่างรวดเร็วและมีค่าใช้จ่ายน้อย

 

โดยทั่วไปแล้วสารประกอบอินทรีย์จะประกอบไปด้วยโมเลกุลของคาร์บอนอะตอมเชื่อมพันธะกับไฮโดรเจนอะตอม และเรียกพันธะที่เชื่อมระหว่างสองอะตอมนี้ว่า “พันธะ C-H”  ซึ่งเป็นพันธะที่ไม่ไวต่อปฏิกิริยาและทำลายได้ยาก ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเรื่องยากสำหรับนักเคมีอินทรีย์ที่จะสร้างพันธะใหม่ ๆ ขึ้นระหว่างการสร้างสาร ประกอบอินทรีย์ 

 

โครงการ DASCA ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหภาพยุโรปได้พัฒนากลวิธีที่จะเปลี่ยนแปลงพันธะ C-H ให้กลายเป็นพันธะ C-C ซึ่งเป็นการเชื่อมพันธะระหว่างคาร์บอนอะตอมด้วยกัน ซึ่งพันธะ C-C ถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งในการผลิตสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตยาและพลาสติก 

 

โดยปกติแล้วการนำคาร์บอนอะตอมไปแทนที่ไฮโดรเจนอะตอมเพื่อสร้างพันธะ C-C นั้นต้องใช้เวลานานและประกอบไปด้วยขั้นตอนย่อย ๆ หลายขั้นตอน แต่โครงการ DASCA พยายามพัฒนากระบวนการโดยการใช้โลหะเข้ามาเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา โดยจะแทรกอะตอมของโลหะเข้าไปยังพันธะ C-H ทำให้พันธะที่เชื่อมระหว่างคาร์บอนอะตอมและไฮโดรเจนอะตอมถูกทำลาย จากนั้นอะตอมของโลหะจะเข้าไปสร้างพันธะกับคาร์บอนอะตอมแทนที่ไฮโดรเจนอะตอม ซึ่งเราสามารถนำสารประกอบนี้ไปสร้างเป็นสารประกอบอื่น ๆ ต่อไป

 

ตัวอย่างของเทคนิคที่นักวิจัยในโครงการ DASCA ได้ใช้ คือ การนำโลหะรูทีเนียม (ruthenium) เข้าไปเร่งการเปลี่ยนรูปพันธะในสารประกอบไนโตรเจนให้กลายเป็นสารประกอบอินทรีย์ชนิดใหม่ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วอาจจะนำไปสู่การค้นพบยาชนิดใหม่ ๆ นอกจากนี้นักวิจัยของโครงการ DASCA ยังได้พัฒนาสารที่จะถูกนำไปเชื่อมกับไนโตรเจนอะตอมในสารประกอบอินทรีย์ หรือเชื่อมกับโครงของคาร์บอน เพื่อคัดเลือกตำแหน่งพันธะ C-H ที่เฉพาะเจาะจงให้ถูกเปลี่ยนไปเป็นพันธะ C-C   

 

การใช้เทคนิคเหล่านี้เอื้อประโยชน์ให้นักเคมีสามารถสรรสร้างโมเลกุลและสารใหม่ ๆ ซึ่งไม่เคยสามารถทำได้มาก่อน เทคโนโลยีนี้จะสร้างประโยชน์อย่างมากสำหรับการผลิตสารประกอบอินทรีย์ใหม่ ๆ ในอุตสาหกรรมการผลิตยา ที่การผลิตทำได้ง่ายขึ้นและมีค่าใช้จ่ายที่น้อยลง

 

ที่มา: http://cordis.europa.eu/result/rcn/175198_en.html

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • thaiscience
  • 2 Followers
  • Follow