Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

Portfolio : โปรเจกต์คู่สู่แนวความคิด Smart Local Guide

Posted By Plook Magazine | 10 ม.ค. 61
4,376 Views

  Favorite

เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยว ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้น และเป็นการประยุกต์วิชาในห้องเรียนออกมาเป็นโปรเจกต์คู่เจ๋ง ๆ ที่ชื่อว่า ‘Smart Local Guide’ แอปพลิเคชันที่สร้างขึ้นจากการชอบท่องเที่ยว ซึ่งเวลาที่ไปต่างจังหวัดจะไม่ค่อยมีข้อมูลเชิงลึกแนะนำว่าจุดไหนสำคัญบ้าง จึงนำไปสู่แนวคิดโปรเจกต์ของ จิม-ธนโชติ เฉวียงหงษ์ และมิกส์-เอนกพงษ์ ฝีมือสาร ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

 

การประยุกต์ความรู้จากวิชาที่เรียน

คือการใช้ความรู้ด้านการพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันในระบบแอนดรอย ช่วยให้นักพัฒนาจัดเก็บและซิงค์ข้อมูล (Firebase) ระบบฐานข้อมูล (Database) และก็การเขียนโปรแกรม Google Maps (KPI) นำมาใช้ในการจัดหน้า ออกแบบแอปให้ใช้งานง่ายขึ้นด้วยการสแกนคิวอาร์โค้ด และการส่งเสียงพูด โดยใช้เวลาปั้นโปรเจกต์ตั้งแต่ศึกษาทฤษฎี วางแผน ออกแบบประมาณ 6-7 เดือน 

 


ขั้นตอนการใช้งานในส่วนผู้ใช้งาน

พอเข้าสู่ระบบหน้าจอจะแสดงโปรแกรมที่ได้รับความนิยมสูงสุดสองอันดับแรกของระบบขึ้นมา จากนั้นค้นหาโปรแกรมท่องเที่ยว แล้วกดปุ่ม Start แผนที่จะขึ้นเส้นทางเชื่อมระหว่างจุดผู้ใช้ เลือกจุดเดินได้เลยว่าจะไปจุดไหนก่อนหรือจะเดินตามหมายเลขที่ผู้ดูแลระบบกำหนดไว้ให้ก็ได้ โดยจะมีฟังก์ชันบรรยายด้วยเสียงและสแกนคิวอาร์โค้ด ถ้าอยากจะฟังข้อมูลของสถานที่นั้น ๆ 

 

 

ขั้นตอนการทำงานสำหรับผู้ดูแลระบบ

ส่วนของ AGWTS Mobile Application สำหรับผู้ดูแลระบบ ในหน้าเข้าสู่ระบบของผู้ดูแลระบบ ให้ใส่อีเมล์และรหัสผ่านของ แล้วคลิกที่ปุ่มเข้าสู่ระบบเพื่อนทำรายการต่าง ๆ ที่ต้องการ เมื่อใส่อีเมล์และรหัสผ่านเรียบร้อย ระบบจะแสดงหน้าต่างให้เลือกว่าต้องการทำอะไร เช่น การเพิ่มโปรแกรมท่องเที่ยว เมื่อต้องการที่จะเพิ่มโปรแกรมท่องเที่ยว ให้คลิกที่ปุ่มเพิ่มโปรแกรท่องเที่ยว จากนั้นหน้าจอจะเปลี่ยนเป็นหน้าให้กรอกรายละเอียดของโปรแกรม พอกรอกรายละเอียดเรียบร้อยก็คลิกที่ปุ่ม ขั้นตอนต่อไป ก็จะเข้าสู่หน้าเลือกสถานที่ที่ต้องการให้ใอยู่ในโปรแกรม หลังจากที่เลือกสถานที่เรียบร้อยให้กดปุ่มเพิ่มโปรแกรมเพื่อบันทึกข้อมูลเพิ่มสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ ถ้าต้องการที่จะเพิ่มสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ลงไปในระบบให้คลิกที่ปุ่มเพิ่มสถานที่ท่องเที่ยวใหม่ จะเข้าไปที่หน้าจอเพิ่มสถานที่ กรอกข้อมูลและใส่รูปภาพของสถานที่ให้เรียบร้อย เมื่อกรอกข้อมูลและใส่รูปภาเสร็จแล้วให้กดปุ่มบันทึกสถานที่ ส่วนการใส่คิวอาร์โค้ดของสถานที่และบันทึกรูปภาพสถานที่นั้นให้เลือกที่ปุ่ม QR code ก็จะเข้ามาในหน้าของการเลือกคิวอาร์โค้ด จากนั้นคลิกที่ dropdown เพื่อเลือกสถานที่ตามต้องการ ถ้าเลือกเสร็จแล้ว หน้าจอก็จะแสดงคิวอาร์โค้ดของสถานที่ออกมา ให้กดที่ปุ่มบันทึกรูปภาพ เท่านี้ก็จะบันทึกรูปภาพลงในโทรศัพท์มือถือ 

 


ความสำเร็จของแอปพลิเคชัน 

จิม อธิบายเพิ่มว่า “เป็นเหมือนแนวความคิดครับ แต่ยังไม่ได้นำมาใช้จริงจัง ทางอาจารย์ที่ปรึกษา ผศ.ดร.วิรัตน์ จารีวงศ์ไพบูลย์ มีความคิดอยากให้ทำต่อ เพราะเล็งเห็นว่าแอปนี้สามารถช่วยประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวแต่ละจังหวัดได้” โปรเจกต์คู่งานนี้ไม่ง่ายเลยเพราะว่าต้องเจอกับปัญหาทางเทคนิค การเขียนโปรแกรม เช่น แพลตฟอร์มคิวอาร์โค้ด ตอนแรกเขียนขึ้นมาใช้กับภาษาอังกฤษเท่านั้น ก็ต้องหาวิธีแปลงเป็นภาษาไทย แล้วก็ Google Maps (KPI) ซึ่งเป็นเรื่องยากและซับซ้อน แต่ก็ผ่านมาได้จากคำแนะนำของอาจารย์และค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม

 

Smart Local Guide

 

 

ความท้าทายของโปรเจกต์นี้

อยู่ที่การออกแบบแอปให้คนเข้าใจง่าย จิมและมิกส์ต้องศึกษาข้อมูลเยอะมากทั้งของไทยและต่างประเทศ จิมจึงฝากถึงน้อง ๆ ที่อยากจะสร้างโปรเจกต์เจ๋ง ๆ ว่า “หาแรงบันดาลใจจากความชอบ แล้วศึกษาวิธีการทำอย่างละเอียด พอรู้ทฤษฎีที่จะใช้แล้ว ก็ลงมือทำเลย เพราะการเริ่มทำจากสิ่งที่ชอบ เราจะมีแรงทำแบบไม่เหนื่อยเลย”  

 

 

เรื่อง : วรรณวิสา สุภีโส

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • Plook Magazine
  • 3 Followers
  • Follow