Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

การฟื้นฟูสมรรถภาพของทหารบาดเจ็บและพิการ

Posted By Plookpedia | 20 ธ.ค. 59
931 Views

  Favorite

การฟื้นฟูสมรรถภาพของทหารบาดเจ็บและพิการ 

เป็นงานเวชศาสตร์ฟื้นฟู ซึ่ง เป็นสาขาหนึ่งของวิชาแพทย์ที่เกิดหลังจากเกิด สงครามโลกครั้งที่ ๑ แล้วเจริญพัฒนามากขึ้น หลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ เนื่องจากมีทหารพิการ จากการสู้รบเป็นจำนวนมาก ทำให้ทุกคนเห็นความสำคัญ ในการที่จะช่วยให้คนพิการเหล่านี้ กลับมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมได้อีก

โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าสังกัดกรมแพทย์ทหารบก

   การบาดเจ็บพิการที่พบประจำคือ แขนขาด ขาขาด ตาบอด กระดูกหัก ข้อแตก และอัมพาต อาการอัมพาตเกิดได้จากสาเหตุหลายประการ มีอาการตั้งแต่น้อยไปจนกระทั่งรุนแรงมาก เช่น การที่ประสาทได้รับการกระทบกระเทือน หรือถูกตัดขาด ทำให้เป็นอัมพาตเฉพาะส่วนของแขนหรือขา ที่เส้นประสาทนั้น ควบคุมการทำงาน การกระทบกระเทือนที่กระดูกสันหลังส่วนคอ จะทำให้ไขสันหลังถูกตัดขาด ก็จะเกิดอัมพาตของลำตัวและแขน หรือถ้าเป็นการบาดเจ็บของสันหลัง บริเวณทรวงอก ก็จะเป็นอัมพาต บริเวณลำตัวส่วนล่าง และขาทั้งสองข้าง ผู้ป่วยพวกนี้ นอกจากเป็นอัมพาตแล้ว ยังจะไม่สามารถถ่าย อุจจาระ หรือปัสสาวะได้เอง และจะสูญเสียความรู้สึกในส่วนที่เป็นอัมพาตด้วย ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บที่สมอง ก็อาจจะมีอาการอัมพาตของแขน ขาด้านตรงกันข้ามกับบาดแผล บางรายอาจมีอาการพูดไม่ได้ร่วมด้วย
ผู้ป่วยที่พิการเหล่านี้ถ้าไม่ได้รับการรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพให้ช่วยเหลือตนเองได้แล้ว จะกลายเป็นภาระอย่างใหญ่หลวง แก่ญาติพี่น้อง ที่ต้องดูแลตลอดไป รวมทั้งรัฐจะต้องใช้จ่ายเพื่อ สงเคราะห์ไม่มีที่สิ้นสุด นอกจากนี้ ผู้ป่วยอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ทำให้ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการรักษาโรคแทรกเหล่านั้นต่อไปอีก 

โรงพยาบาลตำรวจ สังกัดกรมตำรวจ


การฟื้นฟูสภาพผู้ป่วย เมื่อพ้นจากการรักษาขั้นต้นแล้ว มีความสำคัญมากในการช่วยป้องกัน ไม่ให้ความพิการเกิดมากขึ้น ทำให้สุขภาพกลับคืนแข็งแรงได้เร็วขึ้น และในรายที่พิการบาดเจ็บไม่มากนัก ก็จะสามารถกลับไปทำงานได้เร็วขึ้น

แพทย์และพยาบาลกำลังรักษาทหารบาดเจ็บจากการต่อสู้ในโรงพยาบาลสนามยามวิกาล


สำหรับผู้พิการรุนแรง เช่น เป็นอัมพาต หรือเสียแขน เสียขา การฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยจะช่วย ให้เขาเรียนรู้วิธีที่จะช่วยเหลือตัวเอง โดยใช้กล้ามเนื้อที่ยังเหลืออยู่ ร่วมกับการใช้แขนหรือขาทียม หรือเครื่องช่วยพยุงข้อ และเครื่องค้ำยันต่างๆ รวมทั้งการออกกำลังกายวิธีต่างๆ เพื่อเพิ่มสมรรถภาพการทำงานของกล้ามเนื้อ ฝึกการขับถ่าย อุจจาระ ปัสสาวะ เพื่อให้ทำได้เอง โดยไม่ต้องคาสายสวนปัสสาวะไว้ตลอดชีวิต ฝึกพูด เพื่อให้ สามารถสื่อความหมายกับผู้อื่นได้ รวมทั้งเตรียมผู้ป่วย เพื่อฝึกอาชีพที่ถนัดและเหมาะสมต่อไป

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow