Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

จิตเวชศาสตร์และสุขภาพจิต

Posted By Plookpedia | 19 ธ.ค. 59
4,497 Views

  Favorite

เราเห็นอะไร เมื่อมองดูตนเองในกระจกเงา

เรามองเห็นรูปร่าง หน้าตา และส่วนต่างๆ ของร่างกายของเรา 

บางครั้งเรายิ้มแย้มแจ่มใส หน้าตาเบิกบาน 

บางครั้งหน้าของเราบึ้งตึง ท่าทางอึดอัด ฮึดฮัด

บางเวลาเรามีความรู้สึกนึกคิดแตกต่างกันไป 

เราเรียกการรับรู้อารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดนี้ว่า "จิตใจ" 

คนเราประกอบด้วยร่างกาย และจิตใจ 

คนที่มีความสมบูรณ์ ต้องมีสุขภาพดีทั้งทางร่างกาย และจิตใจ 

วิชาที่ว่าด้วย สุขภาพของจิตใจเรียกว่า "จิตเวชศาสตร์"

เด็กแรกเกิดเป็นทารกที่อ่อนแอ ช่วยตัวเองไม่ได้

ถ้าผู้ใหญ่เลี้ยงดูด้วยความรัก และเอาใจใส่อย่างแท้จริง เด็กจะเติบโตขึ้นอย่างมีจิตใจดี เชื่อถือไว้วางใจผู้อื่น และอารมณ์ดี 

พอพ้นขวบปีแรกจนถึงอายุ ๓ ปี เราเรียกเด็กวัยนี้ว่าเป็น เด็กเล็ก เด็กควบคุมตนเองได้บ้าง เด็กมีความอยากรู้ อยากเห็น มีความสนใจคน และสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัวมากขึ้น

เด็กเรียนรู้มากขึ้น เมื่ออายุ ๓-๕ ปี มีความคล่องตัว ชอบเพ้อฝัน 

ถ้าผู้ใหญ่เลี้ยงดูอย่างบังคับเข้มงวดเกินไป เด็กจะขาดความมั่นใจในตนเอง และวิตกกังวล ถ้าผู้ใหญ่ตามใจมากเกินไป เด็กก็จะไม่รู้จักบังคับตนเอง
  

 เมื่อเด็กอายุ ๖-๑๒ ปี ได้เรียนกับเพื่อน จึงรักหมู่คณะ ชอบออกกำลัง กาย รู้จักแพ้ รู้จักชนะ ชอบเล่นกับเพื่อนเพศเดียวกัน ผู้ใหญ่จึงต้องสนับสนุนให้ทำอะไรได้สำเร็จ เพื่อให้เติบโตเป็นคนไม่มีปมด้อย
เด็กเติบโตเริ่มเข้าวัยรุ่น เมื่ออายุ ๑๓-๑๗ ปี ร่างกาย และจิตใจมีความ เปลี่ยนแปลงรวดเร็วทั้งชายหญิง เริ่มมีความสนใจเพศตรงกันข้าม ชอบคิด ฝัน อารมณ์รุนแรง 

ตลอดเวลาที่เด็กเติบโตขึ้นจนเป็นผู้ใหญ่ ถ้าได้รับการอบรมเลี้ยงดูด้วยความรัก ความเอาใจใส่ และความเข้าใจ เด็กจะฝึกหัดปรับตัวให้สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมได้ดี สามารถควบคุมจิตใจให้รู้จักอดทน อภัย พอใจ และกล้าเผชิญปัญหาของชีวิต


 
บางคนโชคร้าย ร่างกายเติบโตเป็นผู้ใหญ่ แต่จิตใจเป็นเด็ก บางคนปรับตัวไม่ได้ จิตใจพิการ ท่าทางแปลกประหลาด วิตกหวาดกลัว บางคนก้าวร้าว บางคนเหงาซึม ซึ่งอาจเป็นโรคประสาท คนที่มีความบกพร่องทางจิตใจ และทางอารมณ์ อาจจะมีความผิดปกติทางร่างกายด้วย

ผู้มีสุขภาพดี จึงต้องมีจิตใจสดใสในร่างกายที่แข็งแรง

จิตเวชศาสตร์เป็นวิชาแพทย์แขนงหนึ่ง แต่เดิมนั้นเข้าใจกันว่า ผู้ที่ป่วยเป็นโรคจิตคือ ผู้ที่ถูกผีเข้า หรือทำผิดข้อห้ามทางศาสนา ใช้วิธีรักษาด้วยวิธีแปลกๆ เช่น ข่มขู่ผู้ป่วยจนกลัวลาน เฆี่ยนตีทรมานต่างๆ หรือกักขังล่ามโซ่ไว้ ซึ่งปัจจุบันถือว่าเป็นความเข้าใจ ผิด

ปัจจุบันได้มีการค้นคว้าวิจัยโรคทางจิตใจตามวิธีทางวิทยาศาสตร์ มีการค้นหาสาเหตุ อาการ การรักษา และการป้องกัน เช่นเดียวกับโรคในระบบอื่นๆ โดยทั่วไปการรักษาทำโดยใช้ยาทางจิตเวช ซึ่งมีมากมายหลายชนิด สามารถบรรเทาอาการของผู้ป่วย ตั้งแต่ขั้นเริ่มแรก จนถึงขั้นรุนแรงได้ นอกจากนี้ ยังมีการให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป ให้รู้จักปฎิบัติตัว เพื่อมิให้เกิดอาการป่วยทางจิตใจ หรือที่เรียกว่า ให้เป็นผู้มีสุขภาพจิตดีอีกด้วย

ความผิดปกติทางจิตใจอาจแบ่งออกได้เป็นหลายประเภทตามลักษณะอาการ คือ โรคจิต โรคประสาท บุคลิกภาพแปรปรวน ความผิดปกติอื่นๆ ที่มิใช่โรคจิตและปัญญาอ่อน 

โรคจิต 

ผู้ป่วยโรคจิตจะมีอาการผิดปกติทางจิตใจ จนไม่สามารถดำเนินชีวิต อย่างปกติได้สาเหตุของการเป็นโรคจิต อาจเนื่องมาจากพยาธิสภาพทางกาย หรือ ไม่เกี่ยวกับพยาธิสภาพทางกายเลยก็ได้ 

โรคจิตอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพทางกาย แบ่งออกได้เป็น โรคสมองเสื่อมในวัยชรา โรคจิตจากสารบางชนิด โรคจิตชั่วคราว เนื่องจากการป่วยด้วยโรคบางชนิด เช่น มาลาเรียขึ้นสมอง ไทฟอยด์ ฯลฯ โรคจิตเรื้อรัง อันเนื่องจากโรคทางกาย เช่น โรคซิฟิลิสขึ้นสมอง เป็นต้น

โรคจิตที่ไม่เกี่ยวกับพยาธิสภาพทางกาย ได้แก่ โรคจิตเภท โรคจิตทางอารมณ์ โรคจิตสภาวะระแวง และโรคจิตอื่นๆ
    การรักษาผู้ป่วยเป็นโรคจิต ทำได้โดยใช้ยา หรือการทำช็อกไฟฟ้าร่วมกับการรักษาอื่นๆ เช่น การทำจิตบำบัด นันทนาการบำบัด เป็นต้น
โรคประสาท 

โรคประสาทเป็นเพียงความผิดปกติทางจิตใจ ซึ่งส่วนมากไม่ทำให้ผู้ป่วยเสียความสามารถในการทำงาน ผู้ป่วยจะมีอาการหงุดหงิดไม่สบายใจ หรือกังวลมาก ย้ำคิดย้ำทำ

โรคประสาทที่พบบ่อยมี ๖ ชนิด คือ โรคประสาทกังวล โรคประสาทฮิสทีเรีย โรคประสาทย้ำคิดย้ำทำ โรคประสาทโฟบิก โรคประสาทซึมเศร้า และโรคประสาทไฮโพคอนดริอะซิส ในบรรดาโรคประสาททั้งหมดนี้ โรคประสาทกังวลเป็นโรคที่พบมากที่สุด
การรักษาโรคประสาททำได้ โดยใช้ยาตามแพทย์สั่ง ประกอบกับการทำจิตบำบัด และป้องกันได้ โดยการอบรมเลี้ยงดูเด็กอย่างถูกต้อง    
บุคลิกภาพแปรปรวน 

เป็นความผิดปกติทางจิตเวช ซึ่งมีลักษณะของพฤติกรรมที่มีการปรับตัวไม่ถูกต้อง แบ่งออกได้เป็น 9 ลักษณะ คือ บุคลิกภาพแบบระแวง แบบอารมณ์แปรปรวน แบบเก็บตัว แบบก้าวร้าว แบบย้ำคิดย้ำทำ แบบฮิสทีเรียแบบอ่อนแอ แบบต่อต้านสังคมหรืออันธพาล และแบบก้าวร้าวอย่างเฉื่อย การรักษาผู้มีบุคลิกภาพแปรปรวนทำได้ค่อนข้างยาก เพราะบุคคลนั้นๆ ไม่คิดว่า ตนเองต้องการการรักษา แต่มีวิธีป้องกัน โดยการเลี้ยงดูเด็กตั้งแต่เกิดด้วยความรักอย่างเหมาะสม

ความผิดปกติทางเพศ 

ที่พบมากในเมืองไทย ได้แก่ รักร่วมเพศ และเปลือยอวัยวะเพศ การรักษาทำได้โดยจิตบำบัด 

ความผิดปกติอื่นๆ ที่มิใช่โรคจิต 

 

เช่น การติดสุรา การติดยาเสพติด และความจำเสื่อม เนื่องจากสมองได้รับการกระทบกระเทือนรุนแรงเหล่านี้ เป็นต้น

ปัญญาอ่อน 

เป็นความผิดปกติ เนื่องจากสมองถูกทำลาย หรือเสียหายจนทำให้ระดับสติปัญญาต่ำกว่าปกติ ปัญญาอ่อนมีหลายสาเหตุ เช่น กรรมพันธุ์มารดาขาดสารอาหารสำคัญขณะตั้งครรภ์ หรือเป็นโรคบางอย่าง เช่น หัดเยอรมัน บุคคลปัญญาอ่อนมักเป็นตั้งแต่เด็ก และไม่มีทางรักษ าให้หายได้ แต่สามารถให้การศึกษาด้วยวิธีพิเศษ เพื่อช่วยให้บุคคลนั้นๆ มีชีวิตอยู่ไดในสังคม และประกอบอาชีพบางอย่างได้ ดังนั้นการป้องกันจึงมีความสำคัญมาก

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป

Content

2
ประวัติจิตเวชศาสตร์และสุขภาพจิต
ประวัติจิตเวชศาสตร์และสุขภาพจิต มีหลักฐานปรากฏแน่ชัดว่า ในประเทศอียิปต์ สมัย ๑,๕๐๐ ปีก่อนคริสต์กาล คนในยุคนั้นเชื่อถืออำนาจเหนือธรรมชาติ เช่น เชื่อว่า โรคทั้งหลายรวมทั้งโรคจิตเกิดจากวิญญาณของภูติผีปีศาจเข้ามาสิงสู่ หรือโรคจิตเกิดจากการกระทำในสิ่งที่ต้องห
2K Views
6
จิตเวชเด็ก
จิตเวชเด็ก เมื่อเด็กเจ็บป่วย พ่อแม่จะพาไปหากุมารแพทย์ หรือแพทย์ประจำครอบครัว เมื่อแพทย์ตรวจแล้วเห็นว่า เด็กควรได้รับการรักษา จากจิตแพทย์เด็ก ก็จะแนะนำหรือส่งต่อจิตแพทย์เด็ก ความผิดปกติทางจิตเวชในเด็ก มีสาเหตุจากปัจจัย ๒ ประการ คือ ๑. โครงสร้างของเด็กเอง
3K Views
10
การตรวจสภาพจิตใจ
การตรวจสภาพจิตใจ การที่แพทย์จะวินิจฉัยโรค และให้การรักษาผู้ ป่วยทางกาย หรือทางจิตได้นั้น แพทย์จะต้องตรวจผู้ป่วยเสียก่อน วิธีการตรวจจะมีหลักเกณฑ์ส่วนใหญ่ที่คล้ายคลึงกัน แต่การตรวจทางจิตเวชอาจมีข้อแตกต่างไปบ้าง วิธีการตรวจที่จำเป็นได้แก่ การตรวจสภาพจิต
2K Views
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow