Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

สายธารธรรม ที่ถักทอเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว ของพระฝรั่ง และพระไทย

Posted By มหัทธโน | 08 ธ.ค. 60
9,101 Views

  Favorite

 

หนังสือ ธรรมะปรารภยามเช้า-ค่ำ : สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ที่มาภาพ : มนสิกุลออนไลน์

 

ที่มาของสายสัมพันธ์อันงดงาม ที่ถักทอมาตั้งแต่สมัย พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท) กับ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถร )


จากหนังสือ ธรรมะปรารภยามเช้า-ค่ำ : สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ)

“ก่อนที่พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท) จะอาพาธ ท่านได้ฝากให้ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถร ) ช่วยดูแลวัดหนองป่าพงด้วย โดยเฉพาะลูกศิษย์ที่เป็นฝรั่ง ท่านเกรงว่า พระฝรั่ง จะอยู่ในเมืองไทยลำบาก อันเกี่ยวกับข้อกฎหมาย และความไม่เข้าใจของฝ่ายปกครอง

 

“ความผูกพันที่ก่อตัวขึ้นจากวัยหนุ่มสู่วัยชรา หาได้แปรเปลี่ยนไปตามกาลเวลา แม้เจ้าประคุณสมเด็จฯจะได้รับสถาปนาขึ้นเป็นพระราชาคณะชั้นสมเด็จ จนเมื่อหลวงพ่อชาละสังขารไปแล้ว แต่ความผูกพันก็หาได้ลดน้อยเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ยังคงถูกถักทอผ่านคำบอกเล่า ระหว่างลูกศิษย์ของทั้งสองฝ่ายรุ่นแล้วรุ่นเล่า
 

“ลูกศิษย์ที่อยู่ในสาขาต่างๆ ของหลวงปู่ชา หรือแม้แต่ลูกศิษย์ในสาขาต่างประเทศ หากผ่านมากรุงเทพฯ ก็จะมาแวะกราบคาราวะเจ้าประคุณสมเด็จ ฯ เสมือนครั้งเมื่อหลวงพ่อชายังมีชีวิตอยู่ หากวันไหนตรงกับวันพระอุโบสถ ก็จะร่วมลงสังฆกรรม ฟังสวดพระปาฏิโมกข์ ร่วมกับพระสงฆ์ ในพระอารามด้วยทุกครั้ง แม้เจ้าประคุณสมเด็จฯ หากผ่านไปทางวารินทร์ ก็จะแวะไปที่วัดหนองป่าพงเสมอ บางครั้งหากลูกศิษย์วัดสระเกศ มีความประสงค์จะปฏิบัติพระกรรมฐานเจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็จะส่งให้ไปอยู่วัดหนองป่าพงเช่นกัน …”

 

พระวิเทศพุทธิคุณ (พระอาจารย์อมโร) เจ้าอาวาสวัดอมราวดี ประเทศอังกฤษ และ พระพรหมสิทธิ เจ้าอาวาสวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร  
ที่มา : Wat Saket และ มนสิกุลออนไลน์
สืบค้นจาก https://goo.gl/bvLDMs เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 60

 

ความงดงามของสายสัมพันธ์ทางธรรม ที่ยังดำรงคงอยู่ในปัจจุบัน 

จากเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 60 คณะศิษย์พระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) จากหลากหลายประเทศ  เดินทางมาสักการะรูปเหมือนเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถร ) และเข้ากราบคารวะ พระพรหสิทธิ เจ้าอาวาสวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร  นำโดย พระวิเทศพุทธิคุณ (พระอาจารย์อมโร) เจ้าอาวาสวัดอมราวดี ประเทศอังกฤษ พระครูอุบลภาวนาวิเทศ (พระอาจารย์เกวลี ) เจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ จังหวัดอุบลราชธานี พระอามิต อุปสโม (วัดป่านานาชาติ) พระแกรม รุจิโร (วัดอัมราวดี) และ พระแฟร์นันโด รฏฺฐปาโล (วัดป่านานาชาติ)

 

ซึ่งจริง ๆ แล้ว วัตรปฏิบัติของคณะสงฆ์จากวัดหนองป่าพงและครูบาอาจารย์วัดสระเกศ มิได้เพิ่งเริ่มต้นขึ้นในปีนี้ หากสืบเนื่องมาตั้งแต่สายสัมพันธ์ของอาจารย์กับศิษย์ นับเนื่องตั้งแต่เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ กับ พระราชสุเมธาจารย์ (หลวงพ่อสุเมโธ) ตั้งแต่ ปี ๒๕๐๙ เป็นต้นมา

 

พระพรหมสิทธิ์ เจ้าอาวาสวัดสระเกศฯ และ พระราชสุเมธาจารย์ (หลวงพ่อสุเมโธ)
สืบค้นจาก Wat Sakret และ มนสิกุลออนไลน์

 

ดังที่ หลวงพ่อสุเมโธกล่าวไว้

” 2509 ปีแรกที่ได้มาเมืองไทย ก็ได้พบ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ในปีนั้น ขณะที่ท่านกำลังจะไปเวียงจันทร์  อาตมายังเป็นฆราวาสอยู่ และเป็นอาจารย์สอนภาษาอังกฤษที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพฯ ตั้งใจจะบวชเป็นพระ หลังจากบวชเป็นพระที่วัดศรีสะเกษ จ.หนองคายแล้ว ท่านเจ้าคุณพระธรรมปริยัติมุนี พระอุปัชฌาย์ก็ส่งไปอยู่กับหลวงพ่อชา ที่จังหวัดอุบลราชธานี  จากนั้น พระอุปัชฌาย์อาตมาก็พามาพบท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ที่วัดสระเกศ  ตอนนั้นท่านสมณศักดิ์ที่พระพรหมคุณาภรณ์ ท่านบอกว่า เวลาเวลาที่มีกิจมากรุงเทพฯ ก็ให้มาพักที่วัดสระเกศได้ ซึ่งตอนนั้นได้มาพักที่วัดสระเกศหลายสัปดาห์ ทำเรื่องวีซ่า ธุระหลายอย่าง หลังจากนั้นก็เวลามากรุงเทพฯ ก็มาพักที่วัดสระเกศเป็นประจำ"
 

“เวลามาพัก เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์ ชอบชวนสนทนาเรื่องการปฏิบัติ ท่านอยากรู้ว่า เราปฏิบัติอย่างไร แล้วท่านก็นิยมชมชอบหลวงพ่อชามาก ท่านอยากจะช่วยหลวงพ่อชาตามกำลังความสามารถของท่าน เพื่อให้คำสอนของหลวงพ่อชาเผยแผ่ไปให้ประชาชนชาวไทยได้"
 

“เวลาหลวงพ่อชาส่งอาตมาไปอยู่ประเทศอังกฤษ เจ้าประคุณสมเด็จก็ช่วยเป็นธุระให้เราเป็นพระอุปัชฌาย์ได้ เพื่อเกื้อกูลให้ชาวต่างประเทศได้บวชเรียน หลังจากที่หลวงพ่อชาอาพาธเป็นอัมพาตถึง 10 ปี จนมรณภาพ เจ้าประคุณสมเด็จฯ ช่วยพระในวัดหนองป่าพงมาก ท่านเป็นห่วงพระเวลาอาพาธ ท่านจึงรับเป็นเจ้าคณะภาค 10 เพื่อช่วยพระในวัดหนองป่าพงด้วย อาตมาอยู่ประเทศอังกฤษก็พยายากลับมาทุกปีหมือนเดิน เวลากลับมาก็ได้มากราบสมเด็จพระพุฒาจารย์ก่อน และพักที่วัดสระเกศ ”

 

จากนั้นเป็นต้นมา คณะศิษย์สายวัดหนองป่าพงจึงถือเป็นวัตรปฏิบัติต่อพ่อแม่ครูอาจารย์ที่วัดสระเกศ เช่นเดียวกับพ่อแม่ครูอาจารย์ที่วัดหนองป่าพง จนถึงทุกวันนี้

 

พระครูอุบลภาวนาวิเทศ (พระอาจารย์เกวลี) เจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ จังหวัดอุบลราชธานี ​กับ พระพรหมสิทธิ และคณะสงฆ์จากวัดหนองป่าพง ที่วัดสระเกศ
ที่มา : มนสิกุลออนไลน์ และ Wat Saket สืบค้นจาก https://goo.gl/bvLDMs เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 60



ทุกปีคณะศิษย์จากวัดหนองป่าพงทั่วโลกที่เดินทางกลับมาร่วมงานอาจาริยบูชา หลวงปู่ชา ก็จะเดินทางมาพักที่วัดสระเกศ โดยยังคงรักษาวัตรปฏิบัติปกติ อาทิ บิณฑบาต และลงปาติโมกข์กับคณะสงฆ์ที่วัดสระเกศทุกครั้ง  จึงไม่น่าแปลกใจที่วัดอมราวดี ในประเทศอังกฤษ ได้หล่อรูปเหมือนเจ้าประคุณสมเด็จฯ ไว้สักการะบูชาด้วยความกตัญญูเช่นกัน

 

คณะศิษย์พระโพธิญาณเถร(ชา สุภัทโท) วัดหนองป่าพง เข้ากราบคารวะรูปเหมือนเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสณมหาเถร ) วัดสระเกศ
สืบค้นจาก Wat Sraket และ มนสิกุลออนไลน์


 

เจ้าประคุณสมเด็จฯ แสดงธรรมไว้ใน “ธรรมะปรารภยามเช้า-ค่ำ “ ตอนหนึ่งว่า

…อย่าให้กิเลสทำลายความเป็นพี่น้อง 
ขอโอกาสย้ำว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญทางพระพุทธศาสนา

ถ้าปฏิบัติได้อย่างนี้ พระพุทธศาสนาขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะเป็นประโยชน์แก่โลกอย่างยาวนาน 

แต่ถ้าเรามีความรู้สึกแยกจากกันเมื่อไร พระพุทธศาสนาจะมั่นคงอยู่ได้แค่ไหน เพียงไรนั้น เราก็ไม่สามารถจะคาดเดาได้  

ถ้าเรายังปฏิบัติกันในลักษณะอย่างเป็นพี่น้องกัน เป็นพ่อ เป็นแม่ เป็นลูกกัน เราก็จะสามารถรักษาพระพุทธศาสนาไว้ได้ 

 

หลวงพ่ออมโร และพระพรหมสิทธิ
สืบค้นจาก Wat Sakret และมนสิกุลออนไลน์

 

 

ดังเช่นสายธารธรรม จากวัดหนองป่าพง ถึงวัดสระเกศ จาก หลวงพ่อสมเด็จฯ ถึงหลวงปู่ชา สืบเนื่องมาจนถึง หลวงพ่อสุเมโธ หลวงพ่ออมโร พระอาจารย์ปสันโน พระอาจารย์ชยสาโร และอีกหลายๆ ท่าน มาจนถึงพระอาจารย์เกวลิน และศิษย์รุ่นต่อๆ มาอย่างไม่ขาดสาย เป็นวัตรปฏิบัติของครูบาอาจารย์ที่เป็นแบบอย่าง จากพี่ถึงน้อง ที่ผูกพันกับอย่างเป็นหนึ่งเดียว ไม่เพียงสองวัดนี้เท่านั้น หากหมายถึงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคณะสงฆ์ทั้งสังฆมณฑลด้วย

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • มหัทธโน
  • 4 Followers
  • Follow