Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ระบบประสาท

Posted By Plookpedia | 06 ธ.ค. 59
4,222 Views

  Favorite

ระบบประสาท

      ระบบประสาทเกี่ยวข้องกับการควบคุม และประสานงานของการทำงานของส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อจัดเตรียมร่างกายให้มีปฎิกิริยาต่อสิ่งแวดล้อมภายนอก ในขณะเดียวกันก็ควบคุมอวัยวะต่างๆ ภายในให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมภายใน ซึ่งจำเป็นสำหรับการยังมีชีวิตอยู่ คนเราเหนือกว่าสัตว์ต่างๆ ก็โดยที่ระบบประสาท โดยเฉพาะสมองเจริญดีกว่าสัตว์ทั้งปวง

 

สมองและไขสันหลังของทารกในครรภ์อายุ ๓ เดือน
หลังจากเลาะเอากระดูกกะโหลกศีรษะและกระดูกสันหลังออกบางส่วน


ระบบประสาท แบ่งออกได้เป็น

๑. ระบบประสาทกลาง (central nerous system) ได้แก่ สมอง และไขสันหลัง (spinal cord) ซึ่งเป็นศูนย์กลางควบคุม และประ สานงานของการทำงานของร่างกายทั้งหมด

๒. ระบบประสาทนอก (peripheral nervous system) ซึ่งยัง แบ่งต่อไปอีกเป็น
      ๒.๑ เส้นประสาทสมอง มี๑๒ คู่ ออกจากสมองผ่านรูต่าง ๆ ของกะ โหลกศีรษะ ส่วนใหญ่กระจายไปบริเวณศีรษะ
      ๒.๒ เส้นประสาทไขสันหลัง มี ๓๑ คู่ ออกจากไขสันหลังเป็นช่วง ๆ ผ่านรูระหว่างกระดูกสันหลัง ไปสู่ร่างกายและแขนขา
      ๒.๓ ประสาทระบบอัตโนมัติ ควบคุมการทำงานของอวัยวะที่อยู่นอก อำนาจจิตใจและโดยไม่รู้สึกตัว เช่น การเต้นของหัวใจ การเคลื่อนไหว ของอวัยวะภายใน ผนังของหลอดเลือดและต่อมต่าง ๆ ระบบอัตโนมัติยังแบ่ง ต่อไปอีกคือ
      ๒.๓.๑ ระบบซิมพาเธติค (stmpatthetic) มีเซลล์กำเนิดอยู่ในไข สันหลัง
      ๒.๓.๒ ระบบพาราซินพาเธติค (parasympathetic) มีเซลล์ กำเนิดอยู่ในสมองเป็นส่วนใหญ่

ระบบประสาทกลาง 

สมอง

      เป็นส่วนของระบบประสาทที่เจริญอยู่ในโพรงกะโหลกศีรษะ มีส่วนที่เจริญอยู่ในโพรงกะโหลกศีรษะ มีส่วนที่เจริญเติบโตมากอยู่ ๓ แห่ง ติดต่อซึ่งกันและกัน คือ สมองส่วนหลัง สมองส่วนกลาง และสมองส่วนหน้า

      สมองส่วนหลัง ประกอบด้วย สมองน้อย (cerebellum) พอนส์ (pons) และเมดลลาออมลองกาตา (medulla oblongata) ซึ่งติดต่อกับ ไขสันหลัง 

      สมองส่วนหน้า ประกอบด้วย ซีรีบรัม (cerebrum) เป็นส่วนใหญ่โตที่สุดของสมอง 

      สมองส่วนกลาง เป็นส่วนแคบระหว่างสมองส่วนหน้า และสมองส่วนหลัง

สมองมีเยื่อหุ้ม ๓ ชั้นคือ

      ชั้นนอกสุด เรียกว่า เยื่อดูรา (dula mater) หนาและเหนียว อยู่ชิดกับด้านในของกะโหลกศีรษะ ในที่บางแห่งเยื่อดูรายื่นแทรกเข้าไปในรอยแยกของสมอง เพื่อพยุงและป้องกันการกระทบกระเทือนต่อสมอง 

      ชั้นกลาง เรียกว่า เยื่ออะแร็คนอยด์ (arachnoid mater) เป็นชั้นบาง อยู่แนบชิดกับด้านในของเยื่อดูรา 

      ชั้นใน เรียกว่า เยื่อเปีย (pia mater) เป็นชั้นบางๆ อยู่ แนบสนิทกับผิวของสมอง แต่แยกห่างจากเยื่ออะแร็คนอยด์จึงเป็นช่องว่างขึ้น เรียกว่า ช่องใต้อะแร็คนอยด์ (subarachnoid space) ซึ่งจะมีน้ำอยู่ เรียกว่า น้ำหล่อสมอง และไขสันหลัง (cerebro-spinal fluid)

 

ด้านข้างของสมองส่วนหน้า (ซีรีบรัม)


ไขสันหลัง

      อยู่ภายในช่องสันหลัง มีขนาดเล็กกว่านิ้วมือยาวประมาณ ๔๕ เซนติเมตร ทารกในครรภ์ ไขสันหลังยาวไปถึงก้นกบ แต่ในการเจริญเติบโตต่อมา กระดูกสันหลังเจริญเร็วกว่า และมากกว่าไขสันหลัง ไขสันหลังจึงเลื่อยขึ้นบนกระทั่งไปอยู่ที่ระดับกระดูกสันหลังส่วนเอวอันที่ ๓ ในเด็กเกิดใหม่ และไปอยู่ที่ระดับส่วนบนของกระดูกสันหลังส่วนเอวอันที่ ๒ ในผู้ใหญ่ ปลายล่างของไขสันหลังมีนเส้นเป็นเงา แข็งแรง ต่อลงไปติดที่ด้านหลัง ของกระดูกก้นกบ  ไขสันหลังมีเส้นประสาทสันหลังออกไป ๓๑ คู่ผ่านรูระหว่างกระสันหลัง  ไขสันหลังมีเยื่อหุ้ม ๓ ชิ้น เช่นเดียวกับสมอง แต่ชั้นนอกสุดไม่ติดกับกระดูกสันหลัง ชั้นกลาง แยกจากชั้นใน และมีน้ำหล่อไขสันหลังบรรจุอยู่

 

ไขสันหลัง และรากประสาทไขสันหลัง

 

ระบบประสาทนอก

ประสาทสมอง

มี ๑๒ คู่ เลี้ยงบริเวณศีรษะและคอเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นคู่ที่ ๑๐ ไปเลี้ยงอวัยวะภายในช่องอก และช่องท้อง 

      คู่ที่ ๑ ประสาทโอลแพคตอรี (olfactory nerve) เป็นประสาทรับความรู้สึกจากเยื่อเมือกของจมูก มีหน้าที่รับกลิ่น 

      คู่ที่ ๒ ประสาทออพติก (optic nerve)เป็นประสาทรับความรู้สึกจากเรตินา (retina) ของตา มีหน้าที่รับความรู้สึกเกี่ยวกับแสงสีและภาพ

      คู่ที่ ๓ ประสาทออคคูโลมอเติร์(occulomotor nerve) เป็นป ระสาทยนต์ เลี้ยงกล้ามเนื้อที่เคลื่อนไหวลูกตา และกล้ามเนื้อดึงหนังตาบนขึ้น (ลืมตา) มีหน้าที่ทำให้ลูกตาเคลื่อนไหวอย่างสัมพันธ์กัน นอกจากนั้นประสาทสมองคู่ที่ ๓ ยังนำประสาทพวกพาราซิมพาเธติค ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับการมองเห็นชัด และควบคุมขนาดของรูม่านตาให้เหมาะสมกับแสงสว่างอีกด้วย 

      คู่ที่ ๔ ประสาททรอเคลียร์ (trochlear nerve) เป็นประสาทยนต์ เลี้ยงกล้ามเนื้อเคลื่อนไหวลูกตา ๑ มัด

      คู่ที่ ๕ ประสาทไทรเจมินัล (trigeminal verve) เป้นประสาทที่มีทั้งประสาทยนต์ และประสาทรับความรู้สึก ส่วนที่เป็นประสาทยนต์จะไปเลี้ยงกล้ามเนื้อที่เคลื่อนไหวกระดูกขากรรไกรล่างเกี่ยวกับการเคี้ยว กล้ามเนื้อที่เคลื่อนไหวเพดานอ่อน และกล้ามเนื้อที่ทำให้เยื่อหูตึงขึ้น เพื่อการฟังชัด ส่วนที่เป็นประสาทรับความรู้สึก จะรับความรู้สึกจากผิวหนังของหน้าหนังศีรษะ ส่วนครึ่งหน้า เยื่อบุของปาก เหงือก และลิ้น

      คู่ที่ ๖ ประสาทแอบดูเซนต์ (abducent nerve) เป็นประสาทยนต์ เลี้ยงกล้ามเนื้อเคลื่อนไหวลูกตาอีกมัดหนึ่ง 

      คู่ที่ ๗ ประสาทแฟเซียล (facial nerve) เป็นประสาทยนต์เลี้ยง กล้ามเนื้อของใบหน้า เพื่อบ่งบอกถึงอารมณ์ต่างๆ นอกจากนี้ยังนำประสาทพาราซิมาพาเธติค ไปเลี้ยงต่อมของช่องจมูก เพดาน ต่อมน้ำตา และต่อมน้ำลายใต้คาง และใต้ลิ้นและยังรับรส จากลิ้นส่วนหน้า ๒/๓ 

      คู่ที่ ๘ ประสาทเวสติบูโล-โคเคลียร์ (vestibulo-coclear nerve) เป็นประสาทรับความรู้สึกเกี่ยวกับการได้ยิน และการทรงตัว 

      คู่ที่ ๙ ประสาทกลอสโซ-ฟารีงเจียล (glosso-pharyngeal nerve) มีทั้งประสาทยนต์ และประสาทรับความรู้สึก ประสาทยนต์ไปควบคุมกล้ามเนื้อของคอหอย ประสาทรับความรู้สึกรับความรู้สึกจากคอหอยส่วนหลังของลิ้น ช่องหูส่วนกลาง นอกจากนี้ยังนำประสาทพาราซิมพาเธติดไปเลี้ยงต่อมน้ำลายพาโรติด และยังรับรสจากส่วนหลังของลิ้นด้วย

      คู่ที่ ๑๐ ประสาทเวกัส (vagus nerve) ส่วนใหญ่เป็นประสาทพาราซิมพาเธติค มีประสาทยนต์เลี้ยงกล้ามเนื้อเรียบของหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้ จนถึงส่วนทอดขวางของลำไส้ใหญ่ ตับอ่อน หัวใจ ปอด รวมทั้ง ต่อมต่างๆ ของทางเดินลำไส้ใหญ่ด้วย และมีประสาทรับความรู้สึก รับความรู้สึกจากอวัยวะต่างๆ เหล่านี้ด้วย

      คู่ที่ ๑๑ ประสาทแอคเซสเซอรี (accessory nerve) มีประสาทยนต์ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อที่เคลื่อนไหวและไหล่ กล้ามเนื้อยกเพดานอ่อน กล้ามเนื้อเกี่ยวกับการกลืน กล้ามเนื้อควบคุมการหายใจ และการเปล่งเสียง 

      คู่ที่ ๑๒ ประสาทไฮโปกลอสซัล (hypoglossal nerve) ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อของลิ้น ทำให้เกิดการเคลื่อนไหว 

       ประสาทไขสันหลัง มี ๓๑ คู่ แบ่งเป็น ประสาทสมอง ส่วนคอ ๘ คู่ ส่วนนอก ๑๒ คู่ ส่วนเอว ๕ คู่ ส่วนก้น๕ คู่ และส่วนก้นกบ ๑ คู่ แต่ละเส้นประกอบด้วยประสาทยนต์ และประสาทรับความรู้สึกไปสู่กล้ามเนื้อ และผิวหนังส่วนคอ แขน ส่วนอก ส่วนเอว ส่วนก้น และขาตามลำดับ

 

ด้านล่างของสมอง แสดงสมองส่วนต่าง ๆ และประสาทสมอง ๑๒ คู่


ประสาทระบบอัตโนมัติ 

      ประสาทซิมพาเธติค มีเซลล์กำเนิดอยู่ในไขสันหลังระดับส่วนอกทั้งหมด และส่วนเอวช่วงบน และเส้นใยประสาทฝากไปกับประสาทไขสันหลัง  ประสาทพาราซิมพาเธติค มีเซลล์กำเนิดอยู่ในไขสมอง แล้วส่งเส้นใยประสาทฝากไปกับเส้นประสาทสมองคู่ที่ ๓ คู่ที่ ๗ คู่ที่ ๙ และคู่ที่ ๑๐ ดัง กล่าวมาแล้ว นอกจากนี้ยังมีเซลล์กำเนิดอยู่ในไขสันหลังส่วนล่างด้วย  ทั้งประสาทซิมพาเธติคและพาราซิมพาเธติค กระจายไปเลี้ยงอวัยวะเดียวกันเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นต่อมเหงื่อ ต่อมไขมัน และหลอดเลือด ผิวหนังของแขนและขา มีแต่ซิมพาเธติคอย่างเดียว เช่น ซิมพาเธติคไปเลี้ยงหัวใจ ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น แต่พาราเธติคทำให้หัวใจเต้นช้าลง ซิมพาเธติคทำให้ลำไส้มีการเคลื่อนไหวช้าลง แต่พาราซิมพาเธติคทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวเร็วขึ้น ซิมพาเธติคทำให้รูม่านตากว้างขึ้น แต่พาราซิมพาเธติคทำให้รูม่านตาเล็กลง

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow