Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

วัวไทย

Posted By Plookpedia | 04 ธ.ค. 59
2,305 Views

  Favorite

วัวไทย

      วัวไทย หมายถึง วัวที่มีพื้นเพกำเนิดในประเทศ ไทย มีเลี้ยงกันกระจายทั่วไปในภาคต่าง ๆ ของประเทศ ไทย ตารางที่ ๔ แสดงจำนวนวัวที่เลี้ยงกันในภาคต่าง ๆ จะเห็นได้ว่า โดยทั่วไปวัวเพศเมียมีมากกว่าเพศผู้เพียง เล็กน้อยเท่านั้น เพราะวัวใช้งานโดยทั่วไปเป็นวัวตัวผู้ ซึ่งได้รับการตอนแล้ว 

 

ตารางที่ ๔ จำนวนวัวในภาคต่าง ๆ ของประเทศไทย พ.ศ. ๒๕๒๑

ภาค รวม 
(พัน)
เพศผู้ 
(พัน)
เพศเมีย 
(พัน)
เมีย/ผู้ 
(พัน)
  เหนือ
  ตะวันออกเฉียงเหนือ
  กลาง
  ใต้
๙๘๙.๑
๑,๖๙๖.๘
๗๑๑.๔
๗๔๓.๘
๕๔๖.๐
๗๓๒.๘
๓๔๒.๔
๒๗๖.๓
๔๔๓.๑
๙๖๔.๐
๓๖๙.๐
๔๖๗.๕
๐.๘๑
๑.๓๒
๑.๐๘
๑.๖๙
รวม ๔,๑๔๑.๑ ๑๘๙๗.๕ ๒๒๔๓.๖ ๑.๑๘
 

สำนักงานสถิติแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี

 

      วัวไทยเป็นวัวขนาดเล็กเมื่อเทียบกับวัวพันธุ์อื่น ตัวผู้โตเต็มที่มีน้ำหนักโดยเฉลี่ย ๓๐๐-๓๕๐ กิโลกรัม ตัวเมียโตเต็มที่มีน้ำหนักเฉลี่ย ๒๐๐-๒๕๐ กิโลกรัม วัวไทยมีกระดูกเล็บบอบบาง ในหน้ายาวหน้าผากแคบ ตาขนาดปานกลาง ขนตามใบหน้าสั้นเกรียน จมูกแคบ ใบหูเล็กกะทัดรัด ปลายหูเรียวแหลม โดยทั่วไปมีเขาสั้นถึงยาวปานกลาง ตั้งแต่ ๑๕-๔๕ เซนติเมตร ตัวเมียมักมีเขาสั้น หรือไม่มีเขา เขามีลักษณะตั้งขึ้นโง้งงุ้มเข้าหากัน และยื่นไปข้างหน้าเล็กน้อย ลำคอบอบบาง ใต้คอมีเหนียงคอเป็นแถบลงไปถึงอก ส่วนต่อระหว่างคอและไหล่มองเห็นได้ชัด เหนือไหล่ของวัวตัวผู้มีก้อนเนื้อ เรียกว่า โหนกหรือหนอก สันหลังลาดขึ้นจากโหนกไปสู่บั้นเอว แล้วลาดลงตามบั้นท้ายไปสู่โคนหาง ขายาว รูปร่างค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับวัวเนื้อพันธุ์ยุโรป พื้นท้องจากส่วนหน้าคอดกิ่วไปสู่ส่วนหลัง วัวตัวเมียมีเต้านมเล็กเป็นรูปฝาชี ให้นมน้อย

      วัวไทยมีขนสั้นเกรียนทั่วตัว ขนมีสีต่างๆ ตั้งแต่สีดำ สีน้ำตาล สีน้ำตาลอ่อน สีฟาง สีเทาไปจนถึงสีลาย สีที่พบเห็นบ่อยๆ คือ สีน้ำตาลอ่อน และสีดำ ขนใต้ท้อง และซอกขามักมีสีจางกว่าส่วนอื่นๆ ของร่างกาย

 

วัวไทยตัวผู้ตอนแล้ว

 

      โดยทั่วไป วัวไทยมีนิสัยขี้ตื่น ปราดเปรียวกว่าวัวพันธุ์อื่น แต่ถ้าเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิด อาจเชื่องมากเหมือนกัน แม่วัวไทยเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิด อาจเชื่องมากเหมือนกัน แม่วัวไทยเลี้ยงลูกดีแต่ให้นมน้อย เวลาคลอดใหม่ๆ มักหวงลูกมาก และอาจมีนิสัยดุร้ายกับสุนัขหรือคนที่ไม่รู้จัก  ลูกวัวไทยแรกเกิดมีน้ำหนักประมาณ ๑๔-๑๕ กิโลกรัม ลูกวัวตัวผู้โตกว่าลูกวัวตัวเมีย รายละเอียด เกี่ยวกับน้ำหนักและขนาดลูกวัวไทย ได้แสดงไว้ใน ตารางที่ ๕

 

ตารางที่ ๕ น้ำหนักและขนาดของลูกวัวไทยแรกเกิด

ลักษณะแรกเกิด เฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
  น้ำหนัก (กก.)
  ความยาวลำตัว (ซม.)
  ความยาวรอบอก (ซม.)
  ความสูง (ซม.)
๑๔.๘
๒๘.๐
๖๐.๐
๖๒.๐
๑.๓
๙.๙
๔.๒
๓.๓

 วิทยานิพนธ์ปริญญาตรี โดย ประมวล ทับธง พ.ศ. ๒๕๐๗ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

      โดยทั่วไป ลูกวัวจะดูดนมแม่จนถึงอายุ ๘ เดือน จึงจะถูกแยกฝูง เพราะแม่ให้นมน้อย หรือหยุดให้นม และลูกวัวเริ่มรู้จักหาหญ้ากินเอง หากปล่อยลูกวัวไว้กับแม่ ลูกวัวตัวที่มีขนาดใหญ่โต อาจผสมพันธุ์กับแม่ของตัวเอง ทำให้ได้ลูกขนาดเล็ก และอ่อนแอ หรืออาจผสมกับลูกวัวสาว อายุยังไม่เต็มวัย อาจเกิดผลเสียได้เช่นกัน

 

วัวไทยสีดำ

 

ลูกวัวที่ถูกแยกจากแม่เมื่ออายุประมาณ ๘ เดือน เรียกว่า ลูกวัวหย่านม น้ำหนักของลูกวัวหย่านมเฉลี่ย ประมาณ ๑๑๒ กิโลกรัม ขนาดโดยละเอียดแสดงไว้ ในตารางที่ ๖

 

ตารางที่ ๖ น้ำหนักและขนาดของลูกวัวไทยเมื่อหย่านม

ลักษณะอย่านม เฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
  น้ำหนัก (กก.)
  ความยาวลำตัว (ซม.)
  ความยาวรอบอก (ซม.)
  ความสูง (ซม.)
๑๑๒.๒
    ๕๖.๒
๑๑๗.๐
  ๙๑.๑
๑๙.๔
  ๗.๑
๑๑.๓
   ๒.๔

 

หลังหย่านมแล้ว ลูกวัวไทยหาหญ้ากินเองในทุ่ง ลูกวัวหลังหย่านมจนถึงอายุ ๑-๒ ปี จะเติบโตประมาณวันละ ๒๐๐-๓๐๐ กรัม ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความสมบูรณ์ของทุ่งหญ้า วัวไทยจะโตเต็มที่เมื่ออายุ ๔-๕ ปี ในตารางที่ ๗ แสดงน้ำหนักและขนาดของแม่วัวไทย

 

ตารางที่ ๗ น้ำหนักและขนาดแม่วัวไทย

ลักษณะ เฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สูงสุด ต่ำสุด
  น้ำหนัก (กก.)
  ความยาว (ซม.)
  รอบอก (ซม.)
  ความสูง (ซม.)
๒๒๖.๗
๘๘.๒
๑๔๕.๕
๑๐๙.๓
๒๔.๙
๓.๘
๑๐.๘
๕.๐
๓๐๖.๖
   ๙๒.๕
๑๕๗.๕
๑๒๒.๕
๑๘๓.๐
   ๗๗.๕
๑๓๕.๐
   ๙๕.๐
 

 

      วัวไทยมีอุณหภูมิปกติของร่างกาย ๑๐๒-๑๐๒.๕ องศาฟาห์เรนไฮต์ (ประมาณ ๓๘.๙ องศาเซลเซียส) หายใจนาทีละประมาณ ๒๕-๓๐ ครั้งในอาการปกติ เลือดวัวไทยมีปริมาณ เฮโมโกลบิน ๑๐-๑๑ มิลลิกรัม/ซีซี และปริมาณเฮมาโทคริต ประมาณ ๔๐-๔๓ เปอร์เซ็นต์

      วัวไทยตัวผู้ใช้ผสมพันธุ์ได้ดีเมื่ออายุ ๓-๓ ๑/๒ ปี ส่วนตัวเมียใช้ผสมพันธุ์เมื่ออายุ ๒ ๑/๒ - ๓ ปี ทั้งนี้อาจผสมพันธุ์ได้เร็วขึ้น หากได้รับการเลี้ยงดูและอาหารดี วัวตัวผู้หนึ่งตัว ใช้คุมฝูงผสมพันธุ์กับตัวเมียได้ ๓๐-๔๐ ตัว ต่อฤดูกาลผสมพันธุ์ อาจใช้ตัวผู้ผสมกับตัวเมีย จำนวนมากกว่านั้น แต่ต้องบำรุงรักษาตัวผู้พ่อพันธุ์อย่างดี หรือใช้การผสมพันธุ์วิธีพิเศษ

 

ฝูงวัวไทยหากินตามธรรมชาติ

 

      วัวตัวเมียจะตกไข่ ๒๑ วัน / ๑ ครั้ง เมื่อตกไข่ แม่วัวจะมีอาการเป็นสัด และยอมให้พ่อวัวขึ้นทับ เพื่อผสมพันธุ์ แม่วัวตั้งท้องนานโดยเฉลี่ย ๒๘๓ วัน ถ้าให้อาหารคุณภาพดี และเลี้ยงดูใกล้ชิด แม่วัวอาจให้ลูกปีละตัวได้ แต่โดยทั่วไป วัวในหมู่บ้านจะให้ลูก ๒ ตัว/ ๓ ปี โดยให้ลูกเพียงคราวละตัว นาน ๆ จึงจะพบว่า แม่วัวมีลูกแฝด 

      วัวไทยที่ฆ่าแล้วจะมีน้ำหนักซากประมาณ ๔๕- ๕๐ เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักก่อนฆ่า ตารางที่ ๘ แสดง รายละเอียดของน้ำหนักอวัยวะภายในของวัวไทยที่มีน้ำหนักประมาณ ๑๕๐-๒๐๐ กิโลกรัมเมื่อก่อนฆ่า 

 

ตารางที่ ๘ น้ำหนักอวัยวะภายในคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของ น้ำหนักตัววัวไทย

ลักษณะ เปอร์เซ็นต์
    ตับ
    ม้าม
    ไต
    หัวใจ
    ปอด
    กระเพาะ
    ลำไส้
๒.๒
๐.๖
๐.๔
๐.๗
๑.๒
๖.๓
๔.๔
รวม ๑๕.๘
เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow