Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

การป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูฝ้าย

Posted By Plookpedia | 03 ธ.ค. 59
1,334 Views

  Favorite

การป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูฝ้าย

      ฝ้ายเป็นพืชอ่อนแอต่อการทำลายของแมลง ตลอดฤดูกาลปลูกฝ้าย จะมีแมลงหลายชนิดทยอยกันเข้ากัดกิน ความเสียหายที่เกิดขึ้นรุนแรงมาก เป็นต้นว่า เพลี้ยจักจั่นเพียงชนิดเดียว ถ้าระบาดมากอาจทำให้ฝ้ายอ่อนตายหมดทั้งไร่ เพลี้ยอ่อนนำโรคใบหงิก ก่อให้ฝ้ายเกิดโรคจนไม่ได้ผลิตผล หนอนเจาะสมออเมริกัน กัดกินดอก และสมอจนไม่มีปุยฝ้ายให้เก็บ ดังนั้น การปลูกฝ้ายจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีมาตรการในการป้องกัน และกำจัด ไม่เช่นนั้นแล้ว จะไม่ได้ผลตอบสนอง ในการเพาะปลูกเลย
      การป้องกัน และกำจัดแมลงศัตรูฝ้าย ที่ถือปฏิบัติกันอยู่ตามแหล่งปลูกฝ้ายทั่วโลก คือ การใช้สารเคมี หรือยาฆ่าแมลง แต่ยังมีวิธีการอื่นๆ ที่สามารถนำมาปฏิบัติ เพื่อใช้ในการป้องกัน และกำจัด อย่างน้อยก็ช่วยลดปริมาณการระบาด หรือหลีกเลี่ยงการระบาดของแมลง ซึ่งจะเป็นการช่วยให้การพ่นยาฆ่าแมลงได้ผลดียิ่งขึ้น วิธีการต่างๆ เหล่านี้ได้แก่

 

สมอฝ้ายด้านซ้าย มีกลีบรองดอกเล็กเรียว เมื่อพ่นสารเคมีฆ่าแมลงสารเคมมีจะแทรกซึมเข้าไปได้ทั่วถึงกว่าสมอฝ้ายด้ายขวาที่มีกลีบรองดอกใหญ่
ทำให้การพ่นสารเคมีไม่มีประสิทธิภาพดีพอ

 

๑.วิธีการทางธรรมชาติ (natural control) 

เป็นวิธีการป้องกัน และกำจัดแมลงโดยมนุษย์ไม่จำเป็นจะต้องเกี่ยวข้องด้วย ย่อมเกิดขึ้น และเป็นไปเองโดยธรรมชาติอยู่แล้ว การป้องกัน และกำจัดวิธีนี้อาศัยสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่ในธรรมชาติ เช่น สภาพภูมิประเทศ ดินฟ้าอากาศ ระดับความสูงต่ำของพื้นที่ และศัตรูธรรมชาติ การที่จะปลูกฝ้ายแล้วปล่อยไว้ให้ขึ้นอยู่กับธรรมชาติในเมืองเรานั้น อาจปฏิบัติได้ในบางท้องที่ เช่น เป็นที่ใหม่จริงๆ ไม่เคยปลูกฝ้าย หรือพืชอื่นๆ มาก่อนเลย และอยู่ห่างจากท้องที่ทำการเพาะปลูก มีกำแพงธรรมชาติกั้น เช่น เป็นหุบเขา สภาพดินฟ้าอากาศมีอิทธิพลต่อการขยายพันธุ์ของแมลงมาก อากาศแห้ง แล้วมีความชื้นในอากาศต่ำกว่า ร้อยละ ๗๐ หนอนเจาะสมอ อเมริกันจะระบาดน้อย อีกประการหนึ่งได้เคยตรวจพบว่า ฝ้ายที่ไม่มีพ่นยาเลย ถูกหนอนม้วนใบเข้าทำลายใบฝ้าย จนต้นฝ้ายโปร่ง หนอนเจาะสมออเมริกันจะไม่เข้าทำลาย อาจะเนื่องด้วยไม่ชอบที่โปร่ง หรือเพราะแก่งแย่งอาหาร และที่อยู่กัน ความเสียหายที่เกิดจากหนอนม้วนใบน้อย จึงปรากฏว่า ได้ผลิตผลสูงเป็นที่น่าพอใจ ปรากฏการณ์ธรรมชาติเกิดขึ้นเช่นนี้ พบไม่บ่อยนัก จึงหวังผลในการป้องกันกำจัดจริงจังไม่ได้

๒.วิธีการทางชีวภาพ (biological control) 

เป็นวิธีการป้องกันกำจัดแมลงด้วยสิ่งที่มีชีวิต โดยมนุษย์มีส่วนช่วยให้สิ่งที่มีชีวิตที่จะใช้ป้องกัน และกำจัดแมลงนั้นได้ขยาย หรือเพิ่มจำนวนมากขึ้นกว่าปกติ สิ่งที่มีชีวิตดังกล่าวอาจเป็นเชื้อไวรัส บัคเตรี เชื้อรา แมลงตัวห้ำ และตัวเบียน การป้องกัน และกำจัดแมลงโดยวิธีนี้ ถ้าทำได้สำเร็จจะช่วยรักษาดุลธรรมชาติไว้ได้ด้วย


 

๓.วิธีการเขตกรรม (cultural control) 

เป็นการป้องกัน และกำจัดแมลงศัตรูฝ้าย โดยลดจำนวนให้น้อยลงด้วยการปฏิบัติการทางเกษตร ทั้งนี้ เพื่อทำให้สิ่งแวดล้อมไม่เหมาะกับแมลงศัตรูพืช เพื่อทำลายแมลง หรือลดการขยายพันธุ์ลง ทำให้แมลงมีน้อย และไม่ทำลายพืชผลจนถึงระดับความเสียหาย การป้องกันวิธีนี้อาจทำได้โดยปลูกพืชหมุนเวียน คือ ไม่ปลูกฝ้ายซ้ำในที่เดิมทุกปี การทำลายต้นตอฝ้ายหลังจากเก็บเกี่ยวการไถพรวนดิน ทำลายดักแด้ของหนอนเจาะสมออเมริกันในดิน การเลือกเวลาปลูก เพื่อหลีกเลี่ยงการระบาดของแมลง เช่น ถ้าจะหลีกเลี่ยงการระบาดของหนอนเจาะสมออเมริกัน ควรจะปลูกฝ้ายปลายฤดูฝน เพราะได้สำรวจพบว่า หนอนชนิดนี้ระบาดน้อยในฤดูแล้ง การปลูกฝ้ายถ้าเว้นระหว่างแถวถี่จนเกินไป จะเข้าปฏิบัติงานพ่นยายาก และพ่นยาไม่ทั่วถึง ทำให้การใช้ยาไม่ได้ผล จึงควรปลูกระยะห่างพอสมควร เพื่อให้การปฏิบัติงานพ่นยาสะดวก และไม่กระทบกระเทือนถึงผลิตผลการเลือกพันธุ์ฝ้ายที่มีความต้านทานต่อแมลง เป็นต้นว่า การเลือกพันธุ์ฝ้ายที่ใบมีขนหนาทึบ เช่น พันธุ์รีบาบีทีเค ๑๒ ซึ่งในระยะฝ้ายอายุเกิน ๔๕ วัน จะต้านทานต่อเพลี้ยจักจั่น ไม่ควรเลือกใช้พันธุ์ที่ใบเป็นมันลื่น ไม่มีขน เพราะจะอ่อนแอต่อการทำลายของเพลี้ย พันธุ์ฝ้ายที่ต้านทานต่อหนอนเจาะสมอยังไม่มี แต่ลักษณะประจำพันธุ์ช่วยลดการระบาดของหนอนเจาะสมอลงได้ พันธุ์ฝ้ายที่ใบใหญ่หนาทึบ เช่น ฝ้ายพันธุ์รีบาบี ๕๐ หนอนเจาะสมออเมริกันชอบ เพราะมีที่ซุกซ่อนมาก การใช้ยาป้องกัน และกำจัดทำได้ยาก ส่วนพันธุ์ที่ใบเล็ก และมีจำนวนน้อย ต้นโปร่งเป็นลักษณะดี พันธุ์ที่มีอายะสั้น สมอแตกเร็ว ก็ช่วยลดปริมาณการใช้ยาลงได้

 

ฝ้ายพันธุ์ L ๑๔๒-๙ M ๓๕๘-๑๑ เป็นพันธุ์ที่ต้านโรคใบหงิก

 

๔.วิธีกลและกายภาพ (mechanical and physical control) 

การป้องกัน และกำจัดแมลงโดยวิธีกล หมายถึง การใช้เครื่องมือที่มีผลต่อแมลงโดยตรง เช่น การใช้มือเก็บไข่หนอน ซึ่งกสิกรในไร่เล็กๆ สามารถทำได้ การป้องกันการกำจัดโดยทางกายภาพ หมายถึง การใช้ไฟฟ้า (ใช้แสงไฟเพื่อล่อตัวผีเสื้อมาทำลาย) คลื่นเสียง แสง และเอกซเรย์ เพื่อฆ่า หรือลดจำนวนแมลงลง โดยการล่อแมลงด้วยสิ่งต่างๆ ดังกล่าวให้มารวมกัน แล้วทำลายแมลงเหล่านั้น การป้องกัน และกำจัดหนอนเจาะสมอสีชมพู ด้วยการฉ่าหนอนที่ฟักตัวในเมล็ดพันธุ์ โดยผ่านเมล็ดพันธุ์เข้าไปในไอน้ำร้อนซึ่งเป็น การป้องกัน และกำจัดแมลงชนิดนี้วิธีหนึ่ง

๕.การป้องกันทางกฎหมาย (legal control) 

เป็นการป้องกันการนำแมลงศัตรูพืชจากแหล่งอื่น ซึ่งจะต้องดำเนินการโดยรัฐบาล โดยการตั้งด่านกักกันพืชตามชายแดนติดต่อระหว่างประเทศ หรือท่าอากาศยาน เพื่อทำลายพืช หรือส่วนต่างๆ ของพืชที่มีแมลงศัตรูฝ้าย ก่อนที่แมลงนั้นจะหนีเล็ดลอดไปขยายพันธุ์มากขึ้น

๖.การใช้สารเคมี (insecticide control) 

การป้องกัน และกำจัดโดยใช้สารเคมี เป็นการลด หรือป้องกันอันตรายจากแมลงศัตรูพืช โดยใช้สารเคมีเพื่อฆ่า ล่อ หรือไล่แมลงออกจากพืช จากการค้นคว้าปัจจุบันได้พบว่า มีสารเคมีหลายชนิดที่สามารถนำไปใช้ในการป้องกัน และกำจัดแมลงศัตรูฝ้าย


 

อย่างไรก็ตาม การใช้สารเคมี อาจต้องมีการเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา เพราะแมลงบางชนิด มีความสามารถในการสร้างภูมิต้านทานต่อสารเคมีที่ใช้บ่อยครั้งได้ ในการพิจารณาการใช้สารเคมีป้องกัน และกำจัดแมลงศัตรูฝ้ายในเมืองไทยได้แบ่งออกเป็น ๒ พวกใหญ่ๆ ตามลักษณะการทำลาย และความสะดวกในการปฏิบัติ คือ แมลงจำพวกปากดูด (sucking insects) และแมลงจำพวกกัดกินใบและหนอนเจาะสมอ (leaf eating caterpillar and bollworms)

 

ใบฝ้ายที่ถูกเพลี้ยไฟทำลาย

 

ลักษณะฝ้าย เมื่อถูกหนอนเจาะสมออเมริกันทำลาย

 

 


 

๑) แมลงจำพวกปากดูด คือ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยจักจั่น และเพลี้ยไฟ แมลงจำพวกนี้มักก่อให้เกิดอันตรายกับฝ้ายเล็ก อายุไม่เกิน ๒ เดือน ซึ่งในระยะที่มีฝนตกชุก การชะล้างสารเคมีมีมาก จึงแนะนำให้ใช้สารเคมีจำพวกดูดซึม (systemic insecticides) ฆ่าแมลง เพราะเป็นสารเคมีที่ผ่านเข้าไปทางรากหรือใบ เข้าไปอยู่ในส่วนต่างๆ ของต้นพืช มีฤทธิ์ที่จะฆ่าแมลงจำพวกดูดกินได้ ฤทธิ์สารเคมีจึงคงทนอยู่ได้นานตั้งแต่ ๒ สัปดาห์ ถึง ๒ เดือน

สารเคมีฆ่าแมลงจำพวกดูดซึมที่ผ่านการทดลอง และแนะนำกสิกรอยู่ในขณะนี้มีอยู่ ๓ ประเภท คือ ประเภทน้ำ (emulsifiable concentration) ประเภทคลุกเมล็ด (seed dressing) และประเภทเม็ด (granule) 

ก. สารเคมีประเภทน้ำ แนะนำให้ใช้ดังนี้ คือ

 

ชื่อยา อัตราการใช้ยา
๑. ไดเมโทเอต ๔๐% อีซี 
(Dimethoate 40% EC)
๑๐๐ ซีซี/น้ำ ๒๐ ลิตร
๒. เมตาซิสทอกซ์ อาร์ ๒๕% อีซี 
(Metasystox R 28% EC)
๘๐ ซีซี/น้ำ ๒๐ ลิตร
๓. โฟลิแมต ๘๐๐ เอสแอล ๘๐% เอสแอล 
(Folimat 800 SL 80% SL)
๒๕ ซีซี/น้ำ ๒๐ ลิตร
๔. โฟลิเมต ๕๐๐ เอสแอล ๕๐% เอสแอล 
(Folimat 500 SL 50% SL)
๔๐ ซีซี/น้ำ ๒๐ ลิตร
๕. คิลวัล ๔๐% อีซี 
(Kilval 40% EC)
๘๐ ซีซี/น้ำ ๒๐ ลิตร
๖. แอนทิโอ ๒๕ ๒๕% อีซี
(Anthio 25 25% EC)
๑๐๐ ซีซี/น้ำ ๒๐ ลิตร


สารเคมีทั้ง ๖ ชนิดนี้ พ่นจำนวน ๑-๓ ครั้ง ในระยะฝ้ายอายุ ๑ เดือน

ข. สารเคมีประเภทคลุกเมล็ด แนะนำให้ใช้

 

ชื่อยา อัตราการใช้ยา
  ๑. ฟรูมิน เอแอล ๕๐%
(Frumin AL 50%)
  ๒. ฟูราดาน ๗๕%
(Furadan 75%)
 ๕๐ กรัม/เมล็ดฝ้าย ๑ กิโลกรัม ก่อนที่จะนำเมล็ดฝ้ายไปปลูก


ค. สารเคมีประเภทเม็ด แนะนำให้ใช้

 

ชื่อยา อัตราการใช้ยา
  ๑. ไดซิสตอน ๑๐% จี 
(Disyston 10% G)
  ๒. เทมิค ๑๐% จี 
(Tem10% G)
  ๓. ฟรูมินเอแอล ๑๐% จี
(Frumin AL 10% G)
ใช้หยอดก้นหลุมพร้อมกับหยอดเมล็ดฝ้าย
๔๖๐-๑,๒๘๐ กรัม/ไร่ (๐.๒๕-๐.๕๐ กรัม / หลุม)
  ๔. ไทเมต ๑๐% จี 
(Thimet 10% G)
  ๕. ฟูราดาน ๓% จี 
(Furadan 3% G)
ใช้หยอดก้นหลุมพร้อมกับหยอดเมล็ดฝ้าย ๒,๕๐๐ กรัม/ไร่ (๑ กรัม/หลุม)

ยาในข้อ ข. และ ค. มีฤทธิ์คุ้มกันแมลงจำพวกปากดูดอย่างน้อย ๑ เดือน แต่ถ้าท้องที่ใดมีโรคใบหงิกระบาด จำเป็นจะต้องปราบเพลี้ยอ่อนซึ่งเป็นแมลงพาหะนำโรค ให้ได้ผลดีที่สุด จะต้องใช้ยาในข้อ ก. พ่นด้วย จนฝ้ายอายุถึง ๒ เดือน 

๒)แมลงจำพวกกัดกินใบและหนอนเจาะสมอ แมลงจำพวกกัดกินใบที่พบเห็นบ่อยๆ ในไร่ฝ้ายมีหนอนม้วนใบ หนอนคืบกินใบ และหนอนกระทู้กินใบ แมลงจำพวกนี้ฆ่าได้ง่าย เมื่อมีการพ่นยาป้องกันและกำจัดหนอนเจาะสมอแล้ว จะมีผลในการปราบแมลงจำพวกกัดกินใบด้วย สำหรับหนอนเจาะสมอที่สำคัญมีอยู่ ๒ ชนิด คือ หนอนเจาะสมออเมริกัน และหนอนเจาะสมอสะไปนี สารเคมีที่แนะนำให้กสิกรใช้ปราบหนอนเจาะ สมอ และหนอนกินใบทุกชนิด โดยเลือกใช้อย่างใดอย่างหนึ่งในการพ่นแต่ละครั้ง ดังนี้
๒.๑ สารประเภทไพรีทรอยด์สังเคราะห์ 
 
ชื่อสามัญ
ชื่อการค้า
อัตราการใช้
ต่อน้ำ ๒๐ ลิตร
ต่อพื้นที่ ๑ ไร่ต่อครั้ง
๑. เดลต้าเมทริน เดซิส ๓% EC
เดก้า ๓% EC
เดซิส ๒.๕% EC
เดซิส ๕% EC
๑๕ ซีซี
๑๕ ซีซี
๑๘ ซีซี
๑๐ ซีซี
๓๐–๖๐ ซีซี
๓๐–๖๐ ซีซี
๓๖–๗๒ ซีซี
๒๐–๔๐ ซีซี
๒. ไซฟลูทริน ไบทรอยด์ ๑๐% EC
ไบทรอยด์ ๕% EC
๑๐ ซีซี
๒๐ ซีซี
๒๐–๔๐ ซีซี
๔๐–๘๐ ซีซี
๓. เฟนวาเลอเรต ซูมิไซดิน ๒๐% EC
ซูมิ ๓๕ ๓๕% EC
๒๐ ซีซี
๑๒ ซีซี
๔๐–๘๐ ซีซี
๒๔–๔๘ ซีซี
๔. ไซฮาโลทริน แอล คาราเต้ ๕% EC ๑๖ ซีซี ๓๒–๖๔ ซีซี
๕. ไซฮาโลทริน เฮลิโอไซด์ ๑๐% EC ๑๖ ซีซี ๓๒–๖๔ ซีซี
 ๖. ไซเปอร์เมทรินไฮซีส เฟนอม ๒๐๐ อีซี ๒๐% EC ๑๕ ซีซี ๓๐–๖๐ ซีซี
๗. ฟลูไซตริเนต เพออฟ ๑๐% EC ๒๐ซีซี ๔๐–๘๐ ซีซี
๘. อัลฟาเมทริน คอนคอร์ด ๑๐% EC
เบสทอกซ์ ๑๐% EC
๘ ซีซี
๘ ซีซี
๑๖–๓๒ ซีซี
๑๖–๓๒ ซีซี
๙. ผลูวาลิเนต มาฟริค ๒๕% EC ๑๖ ซีซี ๓๒–๖๔ ซีซี
๑๐. ไซเปอร์เมทริน ริพคอร์ด ๒๐% EC
อาริโว ๒๐% EC
ซิมบุช ๒๕% EC
๑๐ ซีซี
๑๐ ซีซี
๘ ซีซี
๒๐–๔๐ ซีซี
๒๐–๔๐ ซีซี
๑๖–๓๒ ซีซี
๑๑. ไซเปอร์เมทริน นูเรลล์ ๒๕% EC
ไซเปอร์เซ็ค ๒๕% EC
เซอร์ปา ๒๕% EC
มาแต็ง ๒๕% EC
ริพคอร์ด ๒๕% EC
ซิมบุช ๑๐% EC
ริพคอร์ด ๑๕% EC
๘ ซีซี
๘ ซีซี
๘ ซีซี
๘ ซีซี
๘ ซีซี
๒๐ ซีซี
๑๓ ซีซี
๑๖–๓๒ ซีซี
๑๖–๓๒ ซีซี
๑๖–๓๒ ซีซี
๑๖–๓๒ ซีซี
๑๖–๓๒ ซีซี
๔๐–๘๐ ซีซี
๒๖–๕๒ ซีซี

สารไพรีทรอยด์นี้ ถ้าใช้เป็นประจำติดต่อกันจะทำให้แมลงดื้อยา จึงควรใช้สลับกับสารเคมี ในข้อ ๒.๓ ๒.๔ และ ๒.๕
๒.๒ สารประเภทยับยั้งการเจริญเติบโตของแมลง
 
ชื่อสามัญ ชื่อการค้า อัตราการใช้
ต่อน้ำ ๒๐ ลิตร ต่อพื้นที่ ๑ ไร่ต่อครั้ง
๑. คลอร์ฟลูอะซูรอน อาทาบรอน ๕๐% EC ๒๐ ซีซี ๔๐–๘๐ ซีซี

๒.๓ สารประเภทออร์แกนโนฟอสเฟต
 
ชื่อสามัญ ชื่อการค้า อัตราการใช้
ต่อน้ำ ๒๐ ลิตร ต่อพื้นที่ ๑ ไร่ต่อครั้ง
๑. ซัลโปรฟอส โบลสตาร์ ๗๒% EC
โคมาร์ ๗๒% EC
ไบสตาร์ ๖๔ ๖๔% EC
คูราครอน ๕๐% EC
๔๐ ซีซี
๔๐ ซีซี
๔๕ ซีซี
๘๐ ซีซี
๘๐–๑๖๐ ซีซี
๘๐–๑๖๐ ซีซี
๙๐–๑๘๐ ซีซี
๑๖๐–๓๒๐ ซีซี
๒. โปรเฟนโนฟอส ซีลีครอน ๕๐% EC ๘๐ ซีซี ๑๖๐–๓๒๐ ซีซี
๓. ไตรอะโซฟอส ฮอสตารีออน ๔๐% EC ๑๒๐ ซีซี ๒๔๐–๔๘๐ ซีซี

๒.๔ สารประเภทคาร์บาเมต
 
ชื่อสามัญ ชื่อการค้า อัตราการใช้
ต่อน้ำ ๒๐ ลิตร ต่อพื้นที่ ๑ ไร่ต่อครั้ง
  ๑. ไทโอไดคาร์บ   ลาร์วิน ๗๕% WP
  ลาร์วิน ๓๗% FL
๓๐ กรัม
๖๐ ซีซี
๖๐–๑๒๐ กรัม
๑๒๐–๒๔๐ ซีซี

๒.๕ สารผสม
ชื่อสามัญ ชื่อการค้า อัตราการใช้
ต่อน้ำ ๒๐ ลิตร ต่อพื้นที่ ๑ ไร่ต่อครั้ง
๑. เฟนนิโตรไทออก 
+ ไซยาโนเฟนฟอส
วาตาไทออน ๑๐ + ๒๐% EC ๒๐๐ ซีซี ๔๐๐–๘๐๐ ซีซี
๒. อีพีเอ็น 
+ เมทิลพาราไทออน
พาริแคต ๓๑.๖ + ๓๑.๖% EC
ดูบาน ๓๑.๖ + ๓๑.๖% EC
๑๒๐ ซีซี
๑๒๐ ซีซี
๒๔๐–๔๘๐ ซีซี
๒๔๐–๔๘๐ ซีซี
๓. อะเซพเฟต 
+ นาเลด
ออร์ทีน + ไดบรอม ๑๕% EC ๒๐๐ ซีซี ๔๐๐–๘๐๐ ซีซี
๔. เอนโดซัลฟน 
+ อะมิตราส 
ไมแทคอี ๒๘% + ๑๕% EC ๒๐๐ ซีซี ๔๐๐–๘๐๐ ซีซี

หมายเหตุ 
ในช่องอัตราการใช้/ไร่ อัตราแรกใช้กับฝ้ายอายุ ๑-๒ เดือน หลังจากนั้นใช้อัตราหลัง
เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow