Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ด้วงงวงเจาะลำต้น (Pempherulus affinis Faust)

Posted By Plookpedia | 03 ธ.ค. 59
1,140 Views

  Favorite

ด้วงงวงเจาะลำต้น (Pempherulus affinis Faust) 

ชีวประวัติและรูปร่างลักษณะ

      ไข่ ด้วงงวงตัวเมียจะใช้ปากแทะเจาะรูเข้าไป แล้ววางไข่ภายในโคนต้นระดับผิวดิน ตัวหนึ่งวางไข่ เฉลี่ย ๕๐ ฟอง วางได้สูงสุด ๑๒๑ ฟอง ภายในระยะ เวลา ๖๐-๘๐ วัน ลักษณะของไข่อาจกลม รูปไข่ หรือ เป็นท่อนยาว แล้วแต่รูที่ด้วงเจาะ สีขาวขุ่น ปกติจะยาว ๐.๔ มิลลิเมตร กว้าง ๐.๒๙ มิลลิเมตร อาจวางไข่ ๗-๘ ฟองบนฝ้ายต้นหนึ่ง ระยะฟักตัวของไข่ ๗-๘ วัน 

      หนอน เจาะอุโมงค์บนเยื่อรอบเนื้อไม้จากทางบนลงล่างของลำต้น กัดกินเนื้อเยื่ออ่อน ระยะเป็นหนอน ๓๕-๕๗ วัน หนอนโตเต็มที่จะสร้างทางผ่านเนื้อไม้ ออกไปถึงผิวไม้ และเหลือไว้เพียงบางๆ แล้วหนอนจะทำอุโมงค์ สำหรับพักเข้าดักแด้ในเนื้อไม้

      ดักแด้ สีขาวในระยะแรก แล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ก่อนจะออกเป็นตัวเต็มวัย 

      ตัวเต็มวัย ออกจากต้นฝ้าย โดยเจาะผ่านเปลือกไม้ อาหารของตัวเต็มวัย คือ เปลือกไม้ มีชีวิตยาว ๒๕-๓๐ วัน ลำตัวยาวประมาณ ๔ มิลลิเมตร กว้าง ๐.๕ มิลลิเมตร 

ถิ่นที่อยู่อาศัย

พบด้วงงวงเจาะลำต้นระบาดประปราย ในแหล่งปลูกฝ้ายทางภาคเหนือ ของประเทศไทย เช่น สุโขทัย แพร่ เพชรบูรณ์ เลย

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow