Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

เพลี้ยจักจั่น (Family Jassidae Order Homoptera)

Posted By Plookpedia | 03 ธ.ค. 59
2,043 Views

  Favorite

เพลี้ยจักจั่น (Family Jassidae Order Homoptera) 

ถิ่นแพร่ระบาดเอเชีย 

ลักษณะของแมลง 

ไข่ มีขนาด ๐.๗-๐.๙ x ๐.๑๕-๐.๒ มิลลิเมตร งอโค้ง สีเขียวฝังลึก อยู่ในกึ่งกลางของใบ (midrib) หรือ เส้นใบ (vien) ทั้งสองด้านของใบ หรือวางไข่ในลำต้น และต้นอ่อน

 

ความเสียหายที่ต้นฝ้ายอ่อนได้รับจากเพลี้ยจักจั่น


      ตัวอ่อน รูปเหมือนกบ ตัวแบน สีเขียวอมเหลืองจาง ยาวประมาณ ๐.๕ มิลลิเมตร ในระยะแรกจะยาวถึง ๒ มิลลิเมตร ในระยะที่ ๕ และระยะสุดท้าย ตัวอ่อนเคลื่อนไหวเร็ว เดินเหมือนปู คือ เดินเอาข้างไปอาศัยดูดกินอยู่เฉพาะด้านล่างของใบ ในตอนกลางวัน ชอบอยู่ตามซอกของเส้นใบฝ้าย 

      ตัวแก่ ตัวเล็ก รูปยาวรี ยาวประมาณ ๒.๕ มิลลิเมตร ตัวสีเขียวจางค่อนข้างใส ปีกโปร่งใส ลักษณะเด่นสำหรับเพลี้ยจักจั่นชนิดนี้ คือ มีจุดสีดำอยู่ตรงกึ่งกลางปีกข้างละจุด เป็นแมลงที่ปราดเปรียว เดินด้วยข้างเช่น เดียวกับตัวอ่อน แต่กระโดด และบินเร็วมาก เมื่อถูกรบกวน 

ชีพจักร 

ระยะไข่ ๖-๑๐ วัน 
ตัวอ่อน ๒๑-๒๘ วัน 
ตัวแก่อาจมีชีวิตอยู่ถึง ๖๐ วัน 
ในปีหนึ่งขยายพันธุ์ได้ ๑๑ ชั่วอายุ 
ตัวเมียวางไข่ได้ถึง ๓๐ ฟอง 

พืชอาศัย 

มะเขือ กระเจี๊ยบ 

การทำลายและความเสียหาย 

      ทั้งตัวอ่อน และตัวแก่ของเพลี้ยจักจั่นดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบฝ้าย และปล่อยสารมีพิษเข้าไปในใบ ทำให้ขอบใบฝ้ายเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล จนกระทั่งเป็นแดง และงอลง ใบฝ้ายเหี่ยว และร่วง ถ้าเพลี้ยระบาดมากๆ จะทำให้กล้าฝ้ายตายได้ ความเสียหายรุนแรงอยู่ในระยะฝ้ายเพิ่งงอก จนอายุประมาณ ๔๐ วัน ฝ้ายพันธุ์ที่มีขนน้อย เช่น ฝ้ายอเมริกันต่างๆ เพลี้ยนี้จะทำความเสียหายตลอดฤดู

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow