Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ปฏิกิริยาเรืองแสงในสิ่งมีชีวิต

Posted By Plookpedia | 01 ก.ค. 60
1,800 Views

  Favorite

ปฏิกิริยาเรืองแสงในสิ่งมีชีวิต

ในบรรดาสิ่งมีชีวิตที่เรืองแสงชนิดต่างๆ ดังกล่าวข้างต้น สิ่งที่มีผู้พยายามศึกษา ปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์เป็นชนิดแรกคือ หอยสองกาบ โฟลาส แดคติลุส (Pholas dactylus) ผู้ทดลองนำมาสกัดในน้ำเย็น สารละลายที่ได้จากการสกัดจะเรืองแสงอยู่ชั่วครู่ แล้วก็หยุด แต่สารละลายที่ได้จากการสกัดด้วยน้ำร้อนจะไม่เรืองแสง แต่เมื่อตั้งทิ้งไว้ให้เย็น และนำไปผสมกับสารละลายแรก ที่ดับแล้ว จะกลับมีการเรืองแสงขึ้นมาใหม่

เห็ดเรืองแสง (ภาพถ่ายตอนกลางวัน)

 

ผู้ทำการวิจัยเรื่องนี้ คือ ดูบัวส์ (Dubois) ได้สรุปผลของเขาว่าในสารละลายที่สกัด ด้วยน้ำร้อนนั้น ความร้อนได้ทำลายสารชนิดหนึ่งไป (ก) ส่วนสารอีกชนิดหนึ่ง (ข) ไม่ ถูกทำลายโดยความร้อน ดังนั้น ในสารละลายที่สกัดด้วยน้ำเย็น ซึ่งมีการผลิตแสง เป็นผลจากปฏิกิริยาระหว่าง (ก) และ (ข) ซึ่ง (ข) จะค่อยๆ หมดไป เมื่อนำสารละลายที่สกัดด้วยน้ำร้อน มาผสมด้วยภายหลัง (ก) ซึ่งยังคงอยู่โดยไม่หมดไปขณะทำปฏิกิริยา ก็จะเข้าทำปฏิกิริยากับ (ข) ที่เติมมาใหม่ เกิดการผลิตแสงได้ใหม่

ดูบัวส์เรียก (ข) ว่า ลูซิเฟอริน (luciferin) และ (ก) ว่า ลูซิเฟอรัส (luciferous) ตามชื่อเทพบุตรแห่งแสง คือ ลูซิเฟอร์ (Lucifer) ลูซิเฟอริน คือ สารที่ทำหน้าที่เป็นวัตถุ ดิบ ส่วนลูซิเฟอรัสเป็นสารเอนไซม์ (enzyme) ซึ่งถูกทำลายง่ายด้วยความร้อน สารเอ็นไซม์นี้ทำปฏิกิริยากับวัตถุดิบ (ลูซิเฟอริน) ทำให้เกิดแสง

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow