Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

"พระไตรปิฎก"

Posted By Plookpedia | 28 มิ.ย. 60
2,029 Views

  Favorite

ข้อความเบื้องต้น ความรู้เรื่อง "พระไตรปิฎก" 

 

พระไตรปิฎก คือ ตำรา หรือหนังสือ ซึ่งบันทึกคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนาไว้เป็นหลักฐาน 

คำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนา ในชั้นแรกแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน คือ คำสั่งที่เรียกว่า พระวินัย กับคำสอนที่เรียกว่า พระธรรม แต่ในภาษาพูดใช้คำว่า พระธรรมวินัย โดยนำพระธรรมมาเรียงไว้หน้าที่พระวินัย 

พระวินัยเป็นเรื่องของคำสั่ง หรือศีล หรือระเบียบข้อบังคับ ที่ห้ามทำความชั่ว หรือสิ่งที่ไม่เหมาะ
ไม่ควรต่าง ๆ 

พระธรรม เป็นเรื่องของคำสอน หรือธรรม ที่ให้ทำความดี และให้ชำระจิตใจให้สะอาด 

การสอนให้ละเว้นความชั่ว และให้ทำความดี มีสอนกันอยู่ทั่วไป ไม่เฉพาะแต่ในพระพุทธศาสนา แต่การสอนให้ชำระจิตให้สะอาด ทางพระพุทธศาสนากำหนดไว้เป็นอีกส่วนหนึ่งอย่างชัดเจน และถือเป็นเรื่องที่เน้นมาก ถัดมาจากข้อละเว้นความชั่ว และทำความดี 

ต่อมาในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานล่วงแล้วประมาณ ๒๓๔ หรือ ๒๓๕ ปี ในการสังคายนาครั้งที่ ๓ ได้มีการคิดกันในหมู่พระสงฆ์ ผู้รับผิดชอบต่อพระพุทธศาสนาว่า คำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนา น่าจะแยกเป็น ๓ ส่วน คือ

๑. พระวินัย ได้แก่ ระเบียบข้อบังคับหรือศีล 

๒. พระสูตร ได้แก่ คำสอนทั่ว ๆ ไปทั้งของพระพุทธเจ้าและพระ- พุทธสาวก และ

๓. พระอภิธรรม ได้แก่คำสอน ที่เน้นส่วนที่เป็นแก่นแห่งความจริงหรือสาระ สำคัญ

เมื่อมีการแบ่งคำสั่งสอนทางพระพุทธศาสนาออกเป็น ๓ ส่วนเช่นนี้ จึงได้มีการใช้คำว่า 
"พระไตรปิฎก" คือ ตำรา หรือคัมภีร์พระพุทธศาสนา ๓ ส่วน คือ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก 
และพระอภิธรรมปิฎก โดยกำหนดให้ระเบียบข้อบังคับ หรือศีลเป็นพระวินัยปิฎก คำสอนทั่ว ๆ ไปเป็นพระสุตตันตปิฎก และคำสอนที่ว่าด้วยสาระสำคัญ หรือแก่นความจริง เป็นพระอภิธรรมปิฎก

 

พุทธศาสนิกชนเวียนเทียนร่วมกับพระภิกษุสงฆ์ ในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
พระภิกษุสงฆ์ ผู้สืบทอดพระพุทธศาสนา

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow