Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ลักษณะทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมของวัดญวน

Posted By Plookpedia | 25 มิ.ย. 60
1,322 Views

  Favorite

ลักษณะทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมของวัดญวน

      วัดญวนในประเทศไทยโดยทั่วไปมีลักษณะการผสมผสานศิลปกรรมระหว่างจีน ญวน และไทย แต่ค่อนข้างเด่นไปทางสถาปัตยกรรมแบบจีน  มียันต์ลักษณะทรงกลมแบบจีนประดับบนผนังด้านนอกของตัวอุโบสถ  ส่วนตัวอุโบสถของวัดญวนส่วนใหญ่ได้มีการบูรณะขึ้นใหม่แต่ก็ยังมีส่วนที่คงของเดิมไว้บ้าง เช่น เสาและพื้นอุโบสถ ลักษณะศิลปะบนเสาบางวัด เช่น วัดอุภัยราชบำรุงที่ตลาดน้อย มีการวาดลวดลายมังกรขึ้นมาใหม่  ส่วนรูปทรงของพระพุทธรูปและองค์พระต่าง ๆ คล้ายคลึงกับลักษณะของพระจีนมาก องค์พระที่ถือเป็นสัญลักษณ์เด่นของวัดญวนมีชื่อว่า "ท้าวมหาชมพู"

 

ลักษณะทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมของวัดญวน
ลักษณะทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมของวัดญวน

 

      สถาปัตยกรรมของวัดญวนแตกต่างจากวัดไทยเนื่องจากวัดไทยนั้นมักสร้างอาคารมีช่อฟ้า ใบระกา และหางหงส์ ส่วนวัดญวนไม่มีศิลปกรรมดังกล่าว  วัดญวนส่วนใหญ่ เช่น วัดถาวรวราราม จังหวัดกาญจนบุรี วัดสมณานัมบริหาร วัดอุภัยราชบำรุง และวัดกุศลสมาคร ในกรุงเทพฯ มีการสร้างเจดีย์ประดับกระเบื้องสีสำหรับบรรจุอัฐิของบรรพบุรุษซึ่งรวมถึงเจดีย์ที่บรรจุอัฐิของพระยาโชฎึกราชเศรษฐีที่วัดกุศลสมาครด้วย  นอกจากนั้นบางวัดยังมีหอกลองและหอระฆังแต่มักใช้เฉพาะช่วงเข้าพรรษาและงานวัดเป็นบางโอกาสเท่านั้น

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow