Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชัน

Posted By Plookpedia | 23 มิ.ย. 60
5,018 Views

  Favorite

ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชัน

      แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ ดังนี้

ก. ปฏิกิริยาแอดดิชันพอลิเมอไรเซชัน หรือการเกิดพอลิเมอร์ด้วยการเติม (Addition Polymerization) 

เป็นปฏิกิริยาที่เติมอนุมูลอิสระ๑ (Free radical) หรือไอออน๒ (ion) เข้าไปในโมเลกุล ปฏิกิริยานี้จะเกิดขึ้นและดำเนินต่อเนื่องกันเป็นลูกโซ่ (Chain reaction) แบ่งขั้นตอนของปฏิกิริยาได้ ดังนี้ 

    • ขั้นเริ่มต้นเส้นสาย (Chain initiation) 
    • ขั้นขยายเส้นสาย (Chain propaga-tion) 
    • ขั้นปรับปรุงเส้นสาย (Chain modifi- cation) 
    • ขั้นยุติปฏิกิริยา (Chaintermination) 

ปฏิกิริยาแบบนี้แบ่งออกตามลักษณะของตัวเริ่มต้นได้ ๓ แบบ คือ 
๑. การเกิดพอลิเมอไรเซชันด้วยการเติมอนุมูลอิสระ (Radical Polymerization) 
      ปฏิกิริยาเริ่มต้นด้วยอนุมูลอิสระและเกิดปฏิกิริยาต่อเนื่องไปจนกระทั่งถึงขั้นยุติปฏิกิริยา การใช้อนุมูลอิสระเป็นตัวเริ่มปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันนี้เป็นที่นิยมใช้อย่างกว้างขวาง เช่น การผลิตพีวีซี พอลิสไตรีน พอลิเอทิลีน ยางสไตรีนบิวทาไดอีน (SBR) พอลิเมทิลเมทาคริเลต (Perspex) 

 

พอลิเอทิลีน

 

๒. การเกิดพอลิเมอไรเซชันด้วยการเติมแคตไอออน (Cationic Polymerization) 
      เนื่องจากมอนอเมอร์บางตัวมีโอกาสที่จะรับโปรตอน (H+) ได้ง่าย เมื่อรับเข้าไปแล้วก็จะทำให้ตัวมันกลายเป็นแคตไอออนไปซึ่งจะสามารถทำปฏิกิริยาต่อไปเกิดเป็นโมเลกุลยักษ์ขึ้นได้  ปฏิกิริยานี้มีความไวมากแม้ว่าจะมีสารที่เป็นตัวกำเนิดโปรตอนเพียงเล็กน้อยก็ตามแต่เนื่องจากกระบวนการนี้จะต้องทำปฏิกิริยาที่อุณหภูมิต่ำเพื่อที่จะให้ได้โมเลกุลใหญ่มาก ๆ ปฏิกิริยานี้จึงไม่เป็นที่นิยมนัก เนื่องจากการทำที่อุณหภูมิต่ำมักสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายสูงทั้งนี้ยกเว้นการผลิตยางบิวทิล 
๓. การเกิดพอลิเมอไรเซชันด้วยการเติมแอนไอออน (Anionic Polymerization) 
      สารประเภทแอนไอออนหรือคาร์แบนไอออน (Carbanions) สามารถทำปฏิกิริยากับโมเลกุลที่มีพันธะคู่ได้โดยง่าย  เมื่อเกิดการรวมตัวขึ้นก็จะทำให้โมเลกุลที่เกิดขึ้นใหม่เป็นแอนไอออนไปด้วยแล้วดำเนินปฏิกิริยาต่อ ๆ ไป เกิดเป็นโมเลกุลใหญ่ขึ้น ๆ ส่วนใหญ่มักใช้โลหะเอไมด์ (Metal amides) โลหะแอลคอกไซด์ (Metal alkoxides) หรือโลหะอิสระ (Free metals) บางชนิดเป็นตัวเริ่มปฏิกิริยานี้ 

ข. ปฏิกิริยาคอนเดนเซชันพอลิเมอไรเซชัน (Condensation Polymerization) 

      ปฏิกิริยานี้จะเกิดขึ้นได้ต้องขึ้นอยู่กับส่วนประกอบที่ใช้ตัวกลางของปฏิกิริยาและธรรมชาติของมอนอเมอร์เป็นปฏิกิริยารวมตัวของมอนอเมอร์และสูญเสียโมเลกุลของน้ำออกจากส่วนต่อของโมเลกุลมอนอเมอร์ ๒ โมเลกุล เช่น ปฏิกิริยาของเฮกซะเมทิลีนไดอะมีน (Hexamethylenediamine) และกรดอะดิพิก (Adipic acid) ผลิตภัณฑ์ที่ได้คือ ไนลอน ๖,๖ (Nylon 6,6)

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow