Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

การจัดชั้นใบยา

Posted By Plookpedia | 22 มิ.ย. 60
1,235 Views

  Favorite

การจัดชั้นใบยา

 

        ใบยาที่บ่มเสร็จเรียบร้อยแล้ว (เวอร์ยิเนีย และเบอร์เลย์) จะต้องนำมาคัดเป็นใบ ๆ เพื่อกำหนดชั้นมาตรฐานให้ถูกต้อง สำหรับการซื้อขาย แล้วรวมมัดใบยาชั้นเดียวกันเข้าด้วยกันเป็นกำ ๆ
และมัดหัวกำ ด้วยใบยาอีกทีหนึ่ง นำใบยาชั้นเดียวกันมาอัดรวมเป็นห่อ โดยใช้เครื่องอัดใบยา
ซึ่งทำขึ้นโดยเฉพาะ ใบยาแต่ละห่อหนักประมาณ ๖๐-๗๐ กิโลกรัม แล้วห่อหุ้มด้วยกระสอบป่าน

สำหรับใบยาเตอร์กิช ได้คัดและแยกใบยาเป็นพวกๆ ตามขนาดและคุณภาพ ตั้งแต่หลังจากเก็บใบยาสดแล้ว และนำมาร้อยด้วยเชือกแยกเป็นพวก ๆ หลังจากนั้นจึงนำใบยาที่แห้งและกองหมักได้ที่แล้ว มาอัดเป็นห่อ ๆ ได้เลย ห่อหนึ่ง ๆ หนักประมาณ ๑๕-๒๐ กิโลกรัม 
 

ใบยาเวอร์ยิเนีย 
        การจัดชั้นใบยาได้อาศัยหลักมาตรฐานการจัดชั้นใบยาเวอร์ยิเนียอเมริกัน ซึ่งประกอบด้วย หมู่ คุณภาพ และสี ดังนี้ 

หมู่ การจัดใบยาสูบให้อยู่ในหมู่ใดนั้น ขึ้นอยู่กับลักษณะบางประการ ที่มีส่วนสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับตำแหน่งของใบบนลำต้น 

คุณภาพ การจัดใบยาสูบให้อยู่ในระดับคุณภาพใดนั้น ขึ้นอยู่กับระดับสูงต่ำขององค์ประกอบ
หลายอย่าง เช่น ขนาดของใบยากว้างยาว ตำหนิ และส่วนเสีย เป็นต้น 

สี สีเป็นองค์ประกอบที่จะระบุคุณค่าของใบยา ใบยาแต่ละสีจะมีกลิ่นและรสแตกต่าง 

 

การคัดแยกใบยาเวอร์ยิเนียที่บ่มเรียบร้อยแล้ว
การมัดยาเป็นกำๆ โดยมัดใบยาชั้นเดียวกันเข้าด้วยกัน

ใบยาเบอร์เลย์

         การจัดชั้นใบยาได้อาศัยหลักมาตรฐานการจัดชั้นใบยาเบอร์เลย์อเมริกา เช่นเดียวกัน
ซึ่งประกอบด้วย หมู่ คุณภาพและสี

 

ไร่ยาสูบเบอร์เลย์
การตากแดดยาเส้นที่หั่นแล้ว

 

 

ใบยาเตอร์กิช 
        การจัดชั้นใบยาได้อาศัยหลักแนวทางเดียวกับการจัดชั้นใบยาเวอร์ยิเนีย และเบอร์เลย์ของไทย แต่ใช้เพียงอักษร ๑ ตัว และตัวเลข ๑ ตัว โดยที่ตำแหน่งของใบบนลำต้น เป็นตัวกำหนดขนาดของ
ใบยาไปด้วย เช่น ใบยายอด จะมีขนาดของใบกว้างเกิน ๗ เซนติเมตร และยาวเกิน ๑๑ เซนติเมตรไม่ได้ ใบยาล่างจะมีขนาดของใบกว้างเกิน ๑๓ เซนติเมตร และยาวเกิน ๑๗ เซนติเมตรไม่ได้ ทั้งนี้เนื่องจากคุณภาพของใบยาเตอร์กิช จะดีที่สุดจากใบยายอดลงมาถึงใบยาล่าง ตามลำดับ ใบยาขนาดเล็กคือ ใบยายอด จะมีคุณภาพดีกว่าใบยาขนาดใหญ่คือ ใบยาล่าง 

 

ยาพื้นเมือง
        การจัดชั้นคุณภาพยาเส้นพื้นเมือง ยังไม่มีการกำหนดหลักเกณฑ์ที่แน่นอน อาจจะเป็นเพราะยังมีปริมาณการผลิตที่ไม่มากพอ (ในปีหนึ่ง ๆ ยาเส้นพื้นเมืองที่ผลิตในจังหวัดกาญจนบุรี และสุพรรณบุรี มีประมาณหนึ่งล้านกิโลกรัม) หรือยังไม่มีหน่วยงานใดที่ส่งเสริมการเพาะปลูก และรับผิดชอบโดยตรง

 

ใบยาพื้นเมืองส่วนยอด


การซื้อขายยาเส้นพื้นเมืองจึงเป็นการตกลง ตามความพอใจระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย ซึ่งผู้ซื้อ จะมีความชำนาญในการดูคุณภาพยาเส้นพอสมควร

ขณะนี้ยาเส้นคุณภาพอย่างดี ราคากิโลกรัม ละ ๙๐-๑๒๐ บาท

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow