Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

การพัฒนาแหล่งน้ำ

Posted By Plookpedia | 08 มี.ค. 60
23,937 Views

  Favorite

แหล่งน้ำ หมายถึง บริเวณที่รวมของน้ำ ซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แหล่งน้ำที่เรารู้จักกันทั่วไป ได้แก่ ลำธาร ลำห้วย หนอง บึง แม่น้ำ และลำคลอง

 

 

 

น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติเหล่านี้ มีต้นกำเนิดจากบริเวณต้นน้ำลำธาร อันเป็นเทือกเขา หรือเนินสูง และป่าไม้ โดยลำธารลำห้วย เป็นที่รวบรวมน้ำฝนที่ตกในบริเวณนั้น จากนั้นน้ำในลำธารลำห้วย ก็ไหลมารวมกันกลายเป็นแม่น้ำ และลำคลอง ส่วนหนองและบึง อาจเป็นที่รวมน้ำที่ไหลมาตามผิวดิน หรือเป็นแหล่งรับน้ำจากแม่น้ำลำคลองที่ล้นตลิ่งเข้าไป

 

เราใช้น้ำจากแหล่งน้ำทำประโยชน์หลายอย่าง ใช้เป็นน้ำดื่มน้ำใช้ ใช้ในการทำนา ทำไร่ ทำสวน ใช้ในการเลี้ยงสัตว์ และใช้ในการเลี้ยงปลา วันหนึ่งๆ ทุกคนต้องใช้น้ำเป็นจำนวนมาก 

 

 

ถ้าเรารู้จักใช้น้ำอย่างถูกต้อง ไม่ทำลายต้นน้ำลำธารอันเป็นบ่อเกิดของน้ำในแม่น้ำลำคลอง ไม่ทำให้ดินพังทลาย โดยไม่จำเป็น และทำการเกษตรอย่างถูกวิธี ก็จะช่วยให้มีน้ำอย่างพอเพียงในแหล่งน้ำธรรมชาติ
แต่เนื่องจากได้มีการบุกรุกทำลายป่าต้นน้ำลำธารมาก ในช่วงระยะห้าสิบปีที่ผ่านมา มีการทำการเกษตรไม่ถูกวิธี และดินก็พังทลายลงมาก เนื่องจากฝนและลมพายุ เป็นเหตุให้น้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติหลายแห่งเหือดแห้งไป โดยเฉพาะในฤดูแล้ง เกิดความจำเป็นต้อง "พัฒนาแหล่งน้ำ"เพื่อให้มีน้ำใช้อย่างเพียงพอตลอดปี

 

 

 

 

การสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำขวางกั้นลำธาร ลำห้วย หรือแม่น้ำไว้ ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ทำให้เกิดอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ขึ้นเหนือเขื่อน ซึ่งนอกจากจะทำให้มีน้ำใช้เพื่อการเกษตรอย่างเพียงพอแล้ว ยังเป็นการบรรเทาน้ำท่วมพื้นที่ลุ่ม ของฝั่งลำน้ำทางด้านท้ายเขื่อนได้ด้วย

 

 

นอกจากนั้น การขุดสระขนาดใหญ่ การทำคลองส่งน้ำ จากอ่างเก็บน้ำ หรือจากแหล่งน้ำเหนือฝาย เพื่อส่งเข้าไร่นา และการสูบน้ำจากแหล่งน้ำที่มีระดับต่ำ ส่งขึ้นคลองส่งน้ำ นำไปใช้ในการเพาะปลูกพืช ก็เป็นการพัฒนาแหล่งน้ำด้วยเช่นเดียวกัน
 

 

 

 

 

 

 

การอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร 

พื้นที่ต้นน้ำลำธาร หมายถึง บริเวณที่เป็นแหล่งกำเนิดของลำธาร ส่วนใหญ่ประกอบด้วยภูเขา หรือเนินสูง มีความลาดชันค่อนข้างมาก ปกคลุมด้วยป่าไม้ตามธรรมชาติ ต้นน้ำลำธารทำให้เกิดมีน้ำในแหล่งน้ำได้ก็เนื่องจาก 

๑. ป่าไม้ทำหน้าที่อนุรักษ์ดินและน้ำไว้ให้คงอยู่ 
๒. ดินทำหน้าที่เป็นอ่างเก็บน้ำตามธรรมชาติ 
๓. ลำธารเป็นแหล่งรวบรวมน้ำตามธรรมชาติที่ไหลมาบนผิวดิน และไหลซึมออกมาจากดิน

 

 

สภาพพื้นที่ต้นน้ำลำธารที่มีความสมบูรณ์

 

 

พื้นที่ต้นน้ำลำธาร อาจถูกทำลายได้ โดยฝีมือมนุษย์ และโดยธรรมชาติ มนุษย์ 

๑. ทำลายป่า เพื่อนำพื้นที่มาใช้ทำการเกษตร 
๒. เผาป่า 
๓. สร้างสิ่งก่อสร้างในพื้นที่ต้นน้ำลำธาร เช่น สร้างถนน สิ่งก่อสร้าง หมู่บ้าน ฯลฯ โดยขาดความระมัดระวัง 
๔. ใช้ที่ดินไม่เหมาะสม เช่น ทำการเกษตรไม่ถูกวิธี

 

การใช้น้ำในการเพาะปลูก

 

ธรรมชาติ 

๑. ฝนชะทำลายดินผิวหน้า 
๒. ลมและพายุกัดกร่อนทำลายผิวดิน 
๓. การพังทลายของดินตามข้างภูเขา

การอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร 

ทำได้โดย 

๑. อนุรักษ์ป่าไม้ 

(๑) กำหนดเขตไว้เป็นอุทยานแห่งชาติ เป็นการป้องกันการ บุกรุกทำลายป่า 

(๒) ปลูกป่า ปลูกพืชเศรษฐกิจ (ไม้ผล ในสวนป่า) 

(๓) ให้ความรู้ แก่ประชาชนในการช่วยกันรักษาป่าไม้

๒. อนุรักษ์ดินและน้ำ 

(๑) ปลูกพืชคลุมดิน เพื่อป้องกันการพังทลายของดิน 

(๒) ก่อสร้างคันดินและขั้นบันไดตามลาดเนินเขา 

(๓) สร้างฝายปิดกั้นทางน้ำในบริเวณ ต้นน้ำลำธาร

 

การใช้น้ำในการเพาะปลูก

 

 

การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร 

เกษตรกรต้องการน้ำ เพื่อการเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ประมง และอื่นๆ การพัฒนา แหล่งน้ำ เพื่อการเกษตรทำได้โดย 

๑. สร้างอ่างเก็บน้ำ โดยการสร้างเขื่อนปิดกั้นทางน้ำธรรมชาติ การสร้างเขื่อนนี้ จะสร้างไว้ระหว่างหุบเขา หรือเนินสูง

๒. สร้างสระเก็บน้ำ โดยการขุดดินให้เป็นสระ สำหรับเก็บขังน้ำไว้ 

๓. ขุดลอกหนองและบึงที่มีอยู่ตามธรรมชาติให้ลึกลงไป เพื่อให้เก็บกักน้ำได้มากขึ้น 

๔. สร้างฝายทดน้ำ เพื่อทดน้ำที่ไหลมาให้มีระดับสูง จนสามารถผันน้ำเข้าไปตามคลองหรือคูส่งน้ำได้ 

๕. สร้างคลองส่งน้ำ เพื่อนำน้ำจากอ่างเก็บน้ำ ฝาย และที่อื่นๆ ส่งไปให้พื้นที่เพาะปลูก

ในการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร มีสิ่งที่ต้องศึกษาข้อมูล เพื่อประกอบการพิจารณารวม ๓ เรื่อง คือ 

(๑) ความต้องการใช้น้ำ 
(๒) สภาพแหล่งน้ำที่จะพัฒนา และ 
(๓) สภาพภูมิประเทศ
๖. สูบน้ำจากแม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง และอ่างเก็บน้ำ ขึ้นไปยังคลองส่งน้ำให้กับพื้นที่เพาะปลูก

 

การใช้น้ำในการเพาะปลูก

 

 

ป่าไม้ช่วยอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร

 

 ความต้องการใช้น้ำ 

ได้แก่ ความต้องการใช้น้ำ เพื่อการเพาะปลูก การเลี้ยงสัตว์ การประมงน้ำจืด และเพื่อเป็นน้ำดื่มน้ำใช้

สภาพแหล่งน้ำและสภาพภูมิประเทศ 

ศึกษาว่าเป็นอย่างไร แล้วจึงพัฒนา สิ่งต่อไปนี้ 

๑. ลำธารลำห้วยขนาดใหญ่ที่มีน้ำไหลตลอดปี หรือมีน้ำไหลเฉพาะฤดูฝน และภูมิประเทศที่มีลูกเนินสองฝั่งลำน้ำอยู่ใกล้กัน พัฒนาโดยการสร้างอ่างเก็บน้ำ

 

 

ฝายทดน้ำขนาดใหญ่ ปิดกั้นลำน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น

 

 

๒. ร่องน้ำขนาดเล็ก พื้นที่ลาดเอียง ซึ่งมีน้ำไหลลงสู่ที่ต่ำ พื้นที่ราบ พื้นที่ลุ่ม ซึ่งมีน้ำท่วมเป็นครั้งคราว และพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินอยู่ตื้น พัฒนาโดยการสร้างสระเก็บน้ำ

๓. ลำน้ำลำห้วยที่มีน้ำไหลตลอดปี หรือเกือบตลอดปี และภูมิประเทศสองฝั่ง ลำน้ำค่อนข้างราบ ไม่เหมาะที่จะสร้างอ่างเก็บน้ำ พัฒนาโดยการสร้างฝายทดน้ำ

 

๔. อ่างเก็บน้ำ แหล่งน้ำด้านหน้าฝาย และเขื่อนระบายน้ำ และลำน้ำธรรมชาติที่มีระดับน้ำเสมอหรือใกล้กับตลิ่งทุกปี พัฒนาโดยการสร้างคลองส่งน้ำไปยังพื้นที่เพาะปลูก

 

สระเก็บน้ำปูพื้นด้วยแผ่นพลาสติก เพื่อป้องกันน้ำรั่วซึม

 

 

คลองส่งน้ำซึ่งอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง

 

 

๕. ลำน้ำและแหล่งน้ำซึ่งมีน้ำตลอดเวลา บริเวณโดยรอบเป็นพื้นที่ราบ หรือค่อนข้างราบไม่สามารถสร้างฝายทดน้ำได้ พัฒนาโดยการสูบน้ำส่งไปยังพื้นที่เพาะปลูก

การป้องกันและบรรเทาน้ำท่วม น้ำท่วมเกิดขึ้นได้จากสาเหตุดังต่อไปนี้ 

๑. ฝนตกหนัก 

๒. ลักษณะและส่วนประกอบของพื้นที่ลุ่มน้ำ พื้นที่บางแห่งน้ำท่วมหนักได้ง่าย เพราะสภาพภูมิประเทศ ชนิดของดิน สภาพพืชที่ขึ้นปกคลุมพื้นที่ และความเสื่อมโทรมของพื้นที่ลุ่มน้ำเป็นสาเหตุสำคัญ 

๓. น้ำทะเลหนุน 

๔. การเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับสภาวะแวดล้อม เช่น การขยายตัวของเขตชุมชน และการทำลายระบบระบายน้ำที่มีอยู่ตามธรรมชาติ 

๕. แผ่นดินทรุด

 

การบรรเทาน้ำท่วม โดยการสูบน้ำออกจากพื้นที่

 

 

วิธีการป้องกันและบรรเทาน้ำท่วม 

มีหลายวิธี ที่สำคัญทำได้โดย 

๑. สร้างคันกั้นน้ำเลียบลำน้ำ คันกั้นน้ำจะช่วยป้องกันน้ำจากภายนอกไม่ให้ เข้าไปท่วมพื้นที่ด้านใน
๒. สร้างทางผันน้ำ เพื่อช่วยระบายน้ำทิ้งไปยังลำน้ำสายอื่น หรือระบายออกสู่ทะเล 
๓. ปรับปรุงสภาพลำน้ำ เพื่อให้น้ำไหลไปตามลำน้ำได้สะดวก และรวดเร็ว ทำได้หลายวิธี เช่น ขุดลอกลำน้ำส่วนที่ตื้น กำจัดวัชพืช และรื้อทำลายสิ่งกีดขวางทางน้ำไหล ขุดทางน้ำใหม่ให้เป็นแนวตรง แทนลำน้ำส่วนที่เป็นแนวโค้ง 
๔. สร้างเขื่อนเก็บกักน้ำที่บริเวณต้นน้ำของลำน้ำสายใหม่ หรือตามแควสาขา 
๕. สร้างคันกั้นน้ำโอบล้อมพื้นที่ 
๖. อนุรักษ์พื้นที่ต้นน้ำลำธาร

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป

Content

1
การอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร
พื้นที่ต้นน้ำลำธารเป็นแหล่งผลิตน้ำให้แก่ลำธาร ส่วนใหญ่จะประกอบด้วยภูเขา หรือเนินสูง ที่มีความลาดชันค่อนข้างมาก สำหรับพื้นที่ต้นน้ำลำธาร ซึ่งปกคลุมด้วยสภาพป่าไม้ตามธรรมชาติ ที่มีความสมบูรณ์ ป่าไม้จะช่วยป้องกันน้ำฝนขณะฝนตก มิให้กัดเซ
8K Views
2
พื้นที่ลุ่มน้ำและพื้นที่ต้นน้ำลำธาร
พื้นที่ลุ่มน้ำ หมายถึง บริเวณพื้นที่ ซึ่งครอบคลุมลำน้ำธรรมชาติตอนใดตอนหนึ่ง เหนือจุดที่ได้กำหนดในลำน้ำนั้นๆ ทำหน้าที่เป็นแหล่งรวมน้ำ ทั้งที่ไหลมาบนผิวดิ นและที่ซึมออกจากดิน ให้ระบายลงสู่ลำน้ำ และไหลไปยังจุดที่กำหนด พื้
6K Views
3
ความสัมพันธ์ระหว่างป่าไม้ ดิน และน้ำในบริเวณต้นน้ำ
ในบริเวณพื้นที่ต้นน้ำลำธาร ป่าไม้ ดิน และน้ำ ถือเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่จำเป็นต้องมีความสมดุล และมีความสัมพันธ์ เกี่ยวข้องกันอย่างใกล้ชิด หากทรัพยากรดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่งถูกทำลายสูญเสียไป ความสมด
5K Views
4
ความเสื่อมโทรมของพื้นที่ต้นน้ำลำธาร
ส่วนใหญ่เกิดขึ้น เนื่องมาจากการที่ราษฎรบุกรุกเข้าแผ้วถางป่า เพื่อนำที่ดินมาใช้ทำการเกษตร หรือบุกเบิกพื้นที่ เพื่อการทำไร่เลื่อนลอย เป็นเหตุให้น้ำไหลบ่ากัดเซาะดินและอินทรียวัตถุในบริเวณพื้นที่ต้นน้ำ จนดินเสื่อมคุณภาพ แล
5K Views
5
วิธีการอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร
การอนุรักษ์ต้นน้ำลำธาร หมายถึง การใช้ การดูแลรักษา และปรับปรุง ฟื้นฟู ทรัพยากรธรรมชาติ ในบริเวณพื้นที่ต้นน้ำลำธาร ที่สำคัญได้แก่ ป่าไม้ ดิน และน้ำ ด้วยวิธีการที่เหมาะสม โดยให้มีการสูญเสียทรัพยากรธรรมชาติแต่น้อย แล้วได้รับประโยช
5K Views
6
การดำเนินงานสนองพระราชดำริ
ในการอนุรักษ์ต้นน้ำลำธารที่เสื่อมโทรม มีหลายหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ดำเนินงานสนองพระราชดำริ ด้วยวิธีการต่างๆ กัน ได้แก่ การอนุรักษ์ป่าไม้ การอนุรักษ์ดินและน้ำโดยทางพืช ร่วมกับการก่อสร้างคันดิน หรือสร้างขั้นบันได รวมทั้ง วิธีกา
4K Views
7
การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
เป็นการจัดหา และนำน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ในด้านการเกษตร ด้วยวิธีการที่เหมาะสม ที่สำคัญได้แก่ น้ำใช้ เพื่อการเพาะปลูก และการเลี้ยงสัตว์ คูส่งน้ำเข้าพื้นที่เพาะปลูกช่วยทำใ
5K Views
8
ประเภทของงานพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
งานพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อการเกษตร ที่นิยมก่อสร้างกันทั่วไปมีหลายประเภท ได้แก่ งานอ่างเก็บน้ำ งานสระเก็บน้ำ งานขุดลอกหนองและบึง งานฝายทดน้ำ งานคลองส่งน้ำ และงานสูบน้ำ โดยมีรายละเอียดงานแต่ละประเภท ดังนี้ พระบาทสมเด
7K Views
9
การเลือกประเภทงานพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
ในการเลือกประเภทงานพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ต้องมีการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการใช้น้ำ ศึกษาสภาพแหล่งน้ำธรรมชาติ และตรวจสอบภูมิประเทศในบริเวณที่จะก่อสร้างงานพัฒนาแหล่งน้ำ ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการก่อนเสมอ
5K Views
10
หลักการดำเนินงานโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
เนื่องจากโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ที่มีการดำเนินงาน ตามแผนพัฒนาหลัก และโครงการที่ก่อสร้างตามพระราชดำริ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ส่วนใหญ่เป็นโครงการประเภทเก็บกักน้ำ และประเภททดน้ำ โดยการสร้างเ
5K Views
11
การดำเนินงานสนองพระราชดำริ
โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ตามพระราชดำริ เป็นโครงการที่เริ่มทำการศึกษา และวางโครงการขึ้น ตามแนวพระราชดำริ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ต่อจากนั้นจึงพิจารณาดำเนินการก่อสร้างให้สอดคล้องเพิ่มเติม นอกเหนือจากแผนงานพัฒนาหลักข
4K Views
12
การป้องกันและบรรเทาน้ำท่วม
น้ำท่วมเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เนื่องจากฝนที่ตกในเขตพื้นที่ลุ่มน้ำมีปริมาณมาก และตกติดต่อกันเป็นเวลานาน จนเกิดน้ำไหลบ่าเหนือผิวดิน ลงสู่ร่องน้ำลำธาร และในแม่น้ำมากกว่าปกติ ซึ่งในขณะที่น้ำจำนวนมากไหลไปตามร่องน้ำ ลำธ
4K Views
13
สาเหตุที่ทำให้เกิดน้ำท่วม
ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับสภาพท้องที่ และความวิปริตผันแปรของธรรมชาติ แต่ในบางท้องที่ การกระทำของมนุษย์ ก็มีส่วนสำคัญ ในการทำให้ภาวะการเกิดอุทกภัยนั้น มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นด้วย ดังต่อไปนี้ ๑. น้ำท่วมเน
8K Views
14
วิธีการป้องกันและบรรเทาน้ำท่วม
วิธีการป้องกัน และบรรเทาน้ำท่วม มีอยู่หลายวิธี โดยแต่ละวิธี จะมีความเหมาะสมกับสภาพท้องที่ ความสามารถในการป้องกัน หรือบรรเทาน้ำท่วม การส่งผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อม และธรรมชาติ ตลอดจนค่าลงทุน และผลประโยชน์ที่แตกต่างกันไป ดังนั้น
72K Views
15
การเกิดน้ำท่วมในเขตกรุงเทพมหานคร และแนวพระราชดำริในการแก้ไข
กรุงเทพมหานครตั้งอยู่บนพื้นที่ราบลุ่มตอนปลายแม่น้ำเจ้าพระยา ไม่ไกลจากปากอ่าวไทยเท่าใดนัก ดังนั้น ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณกรุงเทพมหานคร จึงอยู่ในอิทธิพลของน้ำขึ้นน้ำลง อันเนื่องมาจาก
4K Views
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow