Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

อียิปต์เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบกษัตริย์เป็นประชาธิปไตย

Posted By Plookpedia | 18 มิ.ย. 60
6,487 Views

  Favorite

18 มิถุนายน พ.ศ. 2496 (ค.ศ. 1953)
อียิปต์เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบกษัตริย์เป็นประชาธิปไตย

ประเทศอียิปต์ยกเลิกการปกครองระบอบกษัตริย์ และประกาศตนเป็นประเทศที่ปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ โดยมี “นายพลมูฮัมหมัด นาญีฟ” (Mohamed Naguib) ก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่ประธานาธิบดีคนแรกของประเทศ และเป็นผู้รักษาการตำแหน่งนายกรัฐมนตรี พร้อมกับเปลี่ยนชื่อประเทศเป็น “สาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ (Arab Republic of Egypt)” 

 

ด
ภาพ : Wikipedia 

 

 

รูปแบบการปกครองในอียิปต์

• แต่เดิมอียิปต์ปกครองด้วยระบอบฟาโรห์ (Pharoahs) ในค.ศ. 1171 สุลต่านแห่งแบกแดดได้สถาปนา “อลาหุดดีน” ซึ่งเป็นนายทหารที่มีความสามารถในกองทัพ ให้เป็นสุลต่านปกครองอียิปต์และได้ตั้งราชวงศ์ “อัยยูบดีย์” (Ayubi) ขึ้น ต่อมาในค.ศ. 1882 อังกฤษก็ได้เข้ายึดครองอียิปต์

 

• หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ได้เกิดขบวนการกลุ่มรักชาติเพื่อเรียกร้องเอกราชของอียิปต์ อังกฤษจึงได้ให้เอกราชแก่อียิปต์ และสถาปนาเป็นราชอาณาจักรอียิปต์ อันปกครองโดยราชวงศ์ “มูฮัมหมัดอาลี” ที่สืบเชื้อสายจากสุลต่านแห่งอียิปต์เมื่อค.ศ. 1914

 

• ต่อมามีการทำรัฐประหารเป็นระบอบสาธารณรัฐในปี ค.ศ. 1952 โดยคณะนายทหาร Free officers ที่ทำการยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลกษัตริย์ “ฟารุด” แห่งราชวงศ์ “มูฮัมหมัดอาลี” จึงทำให้การปกครองระบอบกษัตริย์สิ้นสุดลง “นายพลมูฮัมหมัด นาญีฟ” ผู้นำกองทัพ ได้ก้าวขึ้นมาดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี และมีการจัดตั้งสภาคณะปฏิวัติขึ้น ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกของ Free officers

 

ในปี ค.ศ. 1953 สภาคณะปฏิวัติได้ออกกฎหมายปฏิรูปการปกครองหลายประการที่สำคัญ มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศ โดยประกาศล้มเลิกระบอบการปกครองแบบราชาธิปไตย และสถาปนาระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐขึ้นในวันนี้ โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข

 

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow