Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

“เบนจามิน แฟรงคลิน” ใช้ว่าวเพื่อทดลองประจุไฟฟ้าในอากาศ

Posted By Plookpedia | 10 มิ.ย. 60
15,974 Views

  Favorite

10 มิถุนายน พ.ศ. 2295 (ค.ศ. 1752)
“เบนจามิน แฟรงคลิน” ใช้ว่าวเพื่อทดลองประจุไฟฟ้าในอากาศ

“เบนจามิน แฟรงคลิน” (Benjamin Franklin) นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันผู้สนใจเรื่องปรากฎการณ์ทางธรรมชาติของฟ้าแลบ ฟ้าผ่าและฟ้าร้อง เขาได้สันนิษฐานว่าปรากฏการณ์เหล่านี้น่าจะเกิดจากประจุไฟฟ้าบนท้องฟ้า จึงทำการทดลองครั้งสำคัญขึ้นในวันนี้ โดยนำว่าวขึ้นสู่ท้องฟ้าในขณะที่มีฝนตกฟ้าคะนอง 

 

• ว่าวนั้นทำด้วยผ้าแพรแทนกระดาษ และมีเหล็กแหลมติดอยู่ที่ตัวว่าว ตรงปลายสายป่านผูกลูกกุญแจเอาไว้ และผูกริบบิ้นไว้กับสายป่านอีกทีหนึ่ง เมื่อฝนตกทำให้สายป่านนั้นเปียก ได้ปรากฏว่ามีประจุไฟฟ้าไหลลงมาทางเชือกเข้าสู่ลูกกุญแจ ตัวเขาไม่ได้รับอันตรายจากกระแสไฟฟ้า เนื่องจากได้จับริบบิ้นซึ่งเป็นฉนวนไฟฟ้าไว้
 

x
ขอบคุณภาพจาก : cpwv.org

 

• เขาลองใช้เศษหญ้าแห้งจ่อเข้ากับลูกกุญแจ ปรากฏว่าเกิดประจุไฟฟ้าไหลเข้าสู่มือเขา เมื่อเขานำลูกกุญแจวางลงพื้นดินก็เกิดประกายไฟฟ้าขึ้นอีก และเมื่อนำขวดแก้วไลเดน (อุปกรณ์เก็บสะสมประจุไฟฟ้า) มาต่อเข้ากับกุญแจ ปรากฏว่าประจุไฟฟ้าได้ไหลลงมาในขวด 

 

• ผลการทดลองในครั้งนั้นทำให้เขาสามารถสรุปได้ว่าการเกิดฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฟ้าผ่านั้น เกิดจากประจุไฟฟ้าบนท้องฟ้า อันเกิดจากการเสียดสีกันระหว่างก้อนเมฆกับอากาศ จนทำให้เกิดไฟฟ้าสถิตนั่นเอง

 

 

กำเนิดสายล่อฟ้า

การค้นพบในวันนี้ส่งผลให้ “เบนจามิน แฟรงคลิน” สามารถประดิษฐ์สายล่อฟ้าได้สำเร็จในเวลาต่อมา โดยสายล่อฟ้านั้นมีลักษณะเป็นโลหะปลายแหลมผูกติดไว้บนยอดอาคารสูง ส่วนปลายโลหะเชื่อมต่อกับสายไฟยาวลงไปในแนวดิ่ง ปลายของสายไฟจะถูกฝังลึกลงในหลุมดิน ที่มีแผ่นโลหะขนาดใหญ่ปูเอาไว้สำหรับให้กระแสไฟฟ้าไหลลงมาและกระจายออกไปบนแผ่นโลหะ 

สายล่อฟ้าสามารถป้องกันความเสียหายของบ้านเรือน และอาคารสูงที่มักจะถูกฟ้าผ่าลงบนหลังคา อีกทั้งยังป้องกันไม่ให้ผู้คนที่เดินไปมาตามท้องถนนถูกฟ้าผ่าจนถึงแก่ชีวิตได้อีกด้วย

 

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow