Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ไข้หวัดใหญ่ ... ภัยร้ายใกล้ตัว

Posted By Plook Parenting | 06 มิ.ย. 60
3,741 Views

  Favorite

โรคไข้หวัดใหญ่ คือ โรคที่ติดต่อกันได้ผ่านทางน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะ เมื่อมีการไอ จาม เชื้อไวรัสจะแพร่กระจายในอากาศ และเข้าสู่ร่างกายผ่านการสูดหายใจเข้าไป หรือในบางครั้งการจับสิ่งของที่ปนเปื้อนน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วยก็สามารถทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้เช่นกัน

 

ภาพ : Shutterstock

 

อาการของไข้หวัดใหญ่

อาการของไข้หวัดใหญ่ไม่แตกต่างจากไข้หวัดธรรมดามากนัก เพียงแต่ระดับอาการจะมากกว่า อาจสังเกตได้ดังนี้

     • มีไข้สูง อาจมีอาการหนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย

     • เจ็บคอ ไอแห้ง ๆ รวมกับอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล

     • มีอาการอื่น ๆ เสริม เช่น คลื่นไส้อาเจียน ตาแดง หรือในเด็กเล็กบางคนอาจปวดท้อง ถ่ายเหลว ติดเชื้อในหลอดลมและกล่องเสียงเป็นต้น

 

สาเหตุที่ทำให้เด็กเป็นโรคไข้หวัดใหญ่

     • ตากฝนหรืออาบน้ำในช่วงเวลาที่ไม่เหมาะสม

     • การสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะของผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ เช่น ของเล่น ของใช้ การกินขนมร่วมกับเด็กคนอื่น ๆ

     • คลุกคลีกับผู้ป่วยที่เป็นไข้หวัดใหญ่ เช่น ที่โรงเรียน

     • เป็นผลเรื้อรังต่อเนื่องมากจากไข้หวัดธรรมดา

     • สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ร้อนหรือหนาวเกินไป ทำให้สภาพร่างกายปรับตัวไม่ทัน

 

แนวทางป้องกันและวิธีการรักษา

เนื่องจากโรคไข้หวัดใหญ่เป็นโรคที่ติดต่อกันได้ง่าย แพร่กระจายได้รวดเร็ว และคุณพ่อคุณแม่เองอาจควบคุมไม่ได้ แต่สิ่งที่ทำได้คือการหาวิธีป้องกันซึ่งทำได้ดังนี้

     1. พาเด็กไปฉีดวัคซีนป้องกันเมื่อเด็กอายุ 6 เดือนขึ้นไป

     2. ไม่ควรพาเด็กไปตากฝน หลีกเลี่ยงการพาเด็กไปเจอกับอากาศหนาวร้อนเปลี่ยนแปลงกระทันหัน เช่น กิจกรรมบางอย่างที่ต้องออกแดดจัดแล้วกลับมาเข้าห้องแอร์เย็น ๆ

     3. อย่าให้เด็กเข้าใกล้ผู้ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่หรือไข้หวัดคนอื่นๆ

     4. สอนให้เด็กรักษาคามสะอาด ให้รู้จักล้างมือเป็นประจำ หลีกเลี่ยงการใช้มือหยิบจับอาหาร

 

หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นว่าอาการของลูกไม่ดีขึ้นเกิน 5 วัน ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายและวินิจฉัยต่อไป ในบางกรณีที่มีอาการรุนแรงอาจต้องรับยาต้านเชื้อไวรัส

แต่ปกติแล้วแพทย์จะจัดยาลดไข้ พร้อมแนะนำวิธีการดูแลให้ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดโดยวิธีการดูแลทั่วไปสามารถทำได้ดังนี้

     • รับประทานยาลดไข้ทุก 6 ชั่วโมง

     • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำมาก ๆ

     • พักผ่อนให้เพียงพอ

 

ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นควรพาเด็กกลับไปพบแพทย์อีกครั้ง เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการติดเชื้อแทรกซ้อนใด ๆ

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Parenting
  • 8 Followers
  • Follow