Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

เทคนิคจำเรื่องยากให้ติดสมอง

Posted By Plook Magazine | 19 พ.ค. 60
11,007 Views

  Favorite

 

เทคนิคจำเรื่องยากให้ติดสมอง


 

ภาพ : Shutterstock

 

น้อง ๆ หลายคนชอบมาบ่นกับพี่นอตว่า เนื้อหาที่ต้องเรียน ต้องจำเยอะเหลือเกิน ความจำหนูยิ่งน้อย ๆ อยู่ จะจำอย่างไรหมด ? วันนี้พี่นอตเลยมีตัวอย่างดี ๆ ของการจำเรื่องยาก ๆ ให้ติดสมองมาฝากกันครับ

 

 

ภาพ : Shutterstock


สร้างเรื่องราวให้จำง่าย

เช่น คำตายในภาษาไทย ต้องถูกสะกดด้วย แม่กก กบ กด ครูสอนภาษาไทยของพี่นอตสอนวิธีจำง่าย ๆ ไว้ว่า 

          “ใครเป็น กะบด (กบฎ) มันต้องตาย” สร้างเรื่องราวใส่ไปนิดเดียว จำนานมาถึงวันนี้เลยครับ หรือว่าในวิชาเคมี เชื่อว่าน้องหลาย ๆ คนคงลำบากใจกับการท่องจำตารางธาตุ  ครูของพี่นอตก็ได้ใช้วิธีสร้างเรื่องราวให้จำง่าย เช่น ธาตุหมู่ 8A  He  ฮีเลียม, Ne  นีออน, Ar อาร์กอน, Kr คลิปตอน, Xe ซีนอน, Rn เรดอน เราก็จำเป็นเรื่องราวว่า “ฮี นอน อ้า ขา เอ๊กซ์-เรย์” ห้ามคิดเป็นภาพนะครับเดี๋ยวไม่สุภาพ น้อง ๆ เอง ก็สามารถใช้เทคนิคการสร้างเรื่องราวให้จำง่ายขึ้น สร้างเรื่องราวของตัวเองกับธาตุหมู่อื่น หรือเนื้อหาวิชาอื่น ๆ ก็จะช่วยทำให้การเรียนเครียดน้อยลงได้นะครับ 

 

ภาพ : Shutterstock


สายย่อ

ตื๊ด ตะ ดะ ตื้ด ตื้ดด คนละย่อแล้ว ! เทคนิคนี้คือเราจะเลือกจำเฉพาะจุดสำคัญของมัน เช่น ในวิชาพระพุทธศาสนา มีวันสำคัญต่าง ๆ คือ วันมาฆบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3, วันวิสาขบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6, วันอาสาฬหบูชา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ก็จำง่าย ๆ เป็น “มา สาม, วิ หก, อา แปด” หรือ โครงสร้างของโลก ที่ชอบถามเป็นข้อสอบ O-NET วิทย์ ม.ต้นบ่อย ๆ คือ 

         แกนโลกชั้นใน-นอก (inner-outer core) เป็นของแข็งและของเหลว ย่อเป็น ค แข็ง-คออ่อน ชั้นต่อไปคือ ชั้นเนื้อโลก (Mantle) เป็นของเหลว ย่อเป็น แมนอ่อน และชั้นนอกสุด เปลือกโลก (Crust)  มี 2 ชั้นย่อย คือ ไซอัลและไซม่า เป็นของแข็งทั้งคู่  ย่อเป็น อา ม่า แข็ง ครัช


 

เปลี่ยนคำให้จำง่าย

ศัพท์วิทยาศาสตร์ หลาย ๆ คำก็มาจากภาษาที่เราไม่คุ้นปากเอาซะเลย บางคำท่องเหนื่อยแทบตาย เข้าห้องสอบตื่นเต้น ดันลืมไปซะอย่างนั้น พี่นอตเลยจะยกตัวอย่างเกี่ยวกับการเปลี่ยนคำให้เราจำง่ายขึ้นมาให้ดูกัน เช่น คำว่า Echinodermata (ออกเสียงว่า เอ็ค-ไค-นอร์-เดอร์-มา-ต้า)  คือชื่อไฟลัมน์ ที่ใช้ในการจำแนกสัตว์จำพวกปลาดาว แค่ชื่อไฟลัมน์ก็ปวดหัว ยังไม่ทันได้จำว่ามีสัตว์ไหนอยู่ในไฟลัมน์นี้อีก ความจำหนูก็เต็มแล้ว คุณครูของพี่นอตสอนว่าลองจำ  Echinodermata  >>> “เอ๊ะใครหนอเดินมาตาม” โอ้โห้ว พี่นอตนี่จำติดหัวมาถึงบัดนี้เลยครับ 

            เท่านั้นยังไม่พอ พี่นอตและเพื่อน ๆ ยังได้เอาไอเดียนี้ไปต่อยอดจำศัพท์วิทย์แปลก ๆ ได้อีกเยอะเลยครับ เช่น คำว่า Parenchyma (ออกเสียงว่า พา-เล็น-ไค-ม่า) ซึ่งเป็นเนื้อเยื่อถาวรของพืช ก็เปลี่ยนคำให้จำง่ายเป็น Parenchyma >>> พา-เล่น-ไข่-หมา ซะชีวิตก็ง่ายขึ้นเยอะ (แต่น้อง ๆ ห้ามพากันไปเล่นจริง ๆ นะครับ เค้ามี พรบ.คุ้มครองอยู่นะ)


 

ภาพ : Shutterstock

 

 

"อย่าลืมทำให้เรื่องเรียนเป็นเรื่องสนุกกันนะครับน้อง ๆ เพราะการเรียนไม่จำเป็นต้องเครียดนะครับทุกคน"

 

 

เรื่อง : พี่นอต อ.โสมนัส จันทรสอาด

        

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • Plook Magazine
  • 3 Followers
  • Follow