Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

เวลา

Posted By Plookpedia | 28 เม.ย. 60
26,507 Views

  Favorite

 

เวลา

 

ในตอนเช้าตรู่ฟ้าเริ่มสางเมื่ออยู่กลางแจ้งเราเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นจากทิศทางหนึ่งซึ่งเรียกกันว่าทิศตะวันออกเงาของเราทอดยาวพอเวลาสายดวงอาทิตย์เลื่อนขึ้นสูงเงาก็สั้นลงตอนเที่ยงวันเราเห็นดวงอาทิตย์อยู่สูงสุด และ เงาของเราก็สั้นที่สุดแล้วดวงอาทิตย์ก็เลื่อนต่ำลงไปอีกทิศทางหนึ่งซึ่งเรียกว่าทิศตะวันตกเมื่อดวงอาทิตย์ลับไปแล้วเงาก็หายไปท้องฟ้ามืดเราเรียกว่าเป็นเวลากลางคืน

 

1

 

บางคืนเราเห็นดวงดาวระยิบระยับทั่วท้องฟ้า

บางคืนเราเห็นควงจันทร์ทอแสงสว่างนวลตา

กลางคืนเปลี่ยนเป็นกลางวันอีกเราเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันออกไปตกทางทิศตะวันตกอย่างวันก่อนทั้งนี้เพราะโลกหมุนไปอย่างสม่ำเสมอ

ช่วงเวลาตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้น ตอนเช้าตรู่จนถึงเช้าตรู่อีกครั้งหนึ่ง เรียกว่า หนึ่งวัน แต่ช่วงกลางวัน และกลางคืนนานไม่เท่ากัน เราสังเกตได้ว่า ฤดูร้อน กลางวันนานกว่าฤดูหนาว

เรากำหนดเวลาจากดวงอาทิตย์ และ ดวงจันทร์ได้แต่เมื่อมีเมฆหมอกเรามองเห็นดวงอาทิตย์ไม่ชัดเจน 

เราจึงมีเครื่องมืออย่างหนึ่ง เรียกว่า นาฬิกาใช้บอกเวลาซึ่งแบ่งเวลาในหนึ่งวันออกเป็นช่วงเวลาเท่า ๆ กันทุกวันโดยเฉลี่ย

เมื่อเราดูดวงจันทร์ในคืนหนึ่งเราเห็นดวงจันทร์เสี้ยวนิดเดียวทางทิศตะวันตกคืนต่อ ๆ มาเราเห็นดวงจันทร์ใหญ่ขึ้นเป็นจันทร์ครึ่งดวง และ จันทร์เต็มดวง

 

เราเรียกกลางคืนที่เราเห็นดวงจันทร์เต็มดวงว่าคืนวันเพ็ญ

ดวงจันทร์เต็มดวงลอยเด่นอยู่สูงสุดกลางฟ้าในตอนเที่ยงคืนวันเพ็ญต่อจากนั้นเราจะเห็นดวงจันทร์เว้าลงทีละน้อยในแต่ละคืนจนเหลือเพียงเสี้ยวเดียว และ มืดมิดหมด

 

1

 

โลกหมุนไปเราก็จะเริ่มเห็นดวงจันทร์เสี้ยวนิดเดียวทางทิศตะวันตกอีกครั้งหนึ่ง

ช่วงเวลาที่เราเห็นดวงจันทร์ครั้งแรกจนเต็มดวงแล้วเว้าลงจนมืดหมดดวงนี้นับเวลานานเกือบ ๓๐ วัน หรือ ๑ เดือน

เมื่อเรานับช่วงเวลา ๑ เดือน นี้ได้ ๑๒ ครั้ง เราเรียกว่า ๑ ปี 

 

ในสมัยดึกดำบรรพ์มนุษย์ต้องติดตามการผ่านไปของวันหนึ่ง ๆ เพื่อให้ตนเองทราบว่าเมื่อใดเป็นเวลาล่าสัตว์หรือเมื่อใดเป็นเวลาหาที่พักอาศัยเมื่อชีวิตมีความซับซ้อนมากขึ้นก็ต้องรู้เวลาละเอียดขึ้นความรู้ที่เกี่ยวในเรื่องทิศทางและฤดูกาลเป็นเรื่องสำคัญผู้คนจะ ได้ไปทำธุรกิจได้ถูกต้องตามเวลาเขาไม่มีแผนที่หรือปฏิทินอย่างที่เรามีในปัจจุบันนี้เขาใช้เวลานานในการเรียนรู้ทิศทางและเวลาโดยอาศัยความชำนาญ

 

1
ดาว ๒ ดวง ในกลุ่มดาวไถใหญ่ ให้แนวชี้ไปยังดาวโพลาริสในกลุ่มดาวไถเล็ก

 

ขณะที่เขาท่องเที่ยวไปในภูมิประเทศใกล้เคียงเขาหาทิศทางโดยจดจำตำแหน่งแห่งหนของภูมิประเทศที่เขาคุ้นแต่เมื่อจำเป็นต้องหาที่ใหม่เพราะเกิดฝนแล้งหรือหาอาหารไม่ได้พอเขาได้อาศัยดวงอาทิตย์ดวงจันทร์ และดาวช่วยหาทิศทาง

 

1
ตอนเช้า ผู้ที่อยู่ห่างซีกโลกเหนือเห็นเงาของสิ่งต่างๆ ชี้ไปทางตะวันตกแล้วเงาค่อยๆ สั้นลง จนถึงเวลาดวงอาทิตย์อยู่สูงสุดในเวลาเที่ยงเงาจะสั้นที่สุด

 

ผู้ที่อยู่ใกล้ทะเลสังเกตเห็นดวงอาทิตย์ขึ้นจากฟ้าโผล่จากทะเล และ ลงลับหายไปหลังภูเขาเขาหาทางไปยังที่ ๆ เขามุ่งหมายโดยอาศัยดวงอาทิตย์ช่วยชี้ทิศทางไป และ กลับแต่ความรู้นี้ช่วยได้อย่างหยาบ ๆ เพราะดวงอาทิตย์ขึ้น และ ตกเปลี่ยนที่ตามฤดูกาล

 

1
เวลากลางคืน ในบริเวณที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตรโลก ตั้งแต่ประเทศไทยขึ้นไป จะสังเกตเห็นกลุ่มดาวไถเล็กเวียนไปรอบดาวโพลาริสใช้ประมาณเวลา 

 

ดาวในท้องฟ้าในเวลากลางคืนช่วยบอกทิศทางให้เขาได้ดีกว่าแต่ก็คงเป็นเวลานานมากกว่าที่มนุษย์ในยุคนั้นจะค้นพบวิธีใช้ดาวช่วยบอกทิศทางเมื่อเขากลับจากการล่าสัตว์แล้วเขาคงมานั่งอยู่ปากถ้ำที่อาศัยเฝ้าดูท้องฟ้าเห็นดาวเป็นกลุ่ม ๆ ซึ่งพอสังเกตจดจำได้เคลื่อนที่ไปบนท้องฟ้าทำนองเดียวกันกับที่เราเห็นดวงอาทิตย์เคลื่อนที่ในเวลากลางวันแต่เขาสังเกตเห็นมีกลุ่มดาวเปลี่ยนที่รอบจุดคงที่จุดหนึ่งทางด้านหนึ่งของท้องฟ้า (คือด้านเหนือของท้องฟ้า) ในกลุ่มนี้มีดาวสว่างดวงหนึ่งซึ่งเรารู้จักกันในเวลานี้ชื่อว่า โพลาริส ซึ่งดูเหมือนอยู่กับที่เดียวตลอดคืนต่อ ๆ มาก็เห็นอยู่อย่างคืนก่อนในซีกโลกเหนือเขาแลเห็นจดจำดาวดวงนี้ได้ง่ายเป็นที่หมายอย่างดีอยู่ในกลุ่มดาวที่สว่าง ๗ ดวง ซึ่งเรียงเป็นรูปคล้ายไถ และ มีกลุ่มดาวอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งมีรูปคล้ายไถที่ใหญ่กว่ากลุ่มที่กล่าวมาเคลื่อนที่ไปรอบ ๆ ดาวโพลาริส และ เขาใช้ดาวสองดวงในหมู่ดาวไถกลุ่มใหญ่ที่หัวไถช่วยเล็งแนวทางไปยังดาวโพลาริสเมื่อเดินทางไปทางดาวโพลาริสก็หมายถึงเขาได้เดินทางไปทางเหนือ

 

 

1
นาฬิกาทราย

 

ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และ ดาว ไม่เพียงแต่จะเป็นที่หมายทิศทางแต่ยังเป็นเครื่องบอกเวลาด้วยระหว่างเวลากลางวันตอนเช้าผู้ที่ห่างซีกโลกเหนือเห็นเงาของสิ่งต่าง ๆ ทอดไปทางตะวันตกแล้วเงาค่อยสั้นลงจนถึงดวงอาทิตย์อยู่สูงสุดในเวลาเที่ยงเงาจะสั้นที่สุดตอนบ่ายเห็นเงาทอดไปทางตะวันออกยาวขึ้น ๆ จนเย็นเมื่ออาศัยความยาวของเงาเขาสามารถประมาณเวลาของวันได้

 

เวลากลางคืนเขาสังเกตดวงจันทร์เมื่อเต็มดวงอยู่ในฟ้าสูงสุดตอนกึ่งเวลาของกลางคืน

ผู้ที่มีความสังเกตดีสามารถประมาณเวลาในเวลากลางคืนได้โดยติดตามกลุ่มดาวบางกลุ่มที่เคลื่อนที่ไปรอบดาวโพลาริส

ในการวัดคาบเวลาที่นานกว่าวันเขาอาศัยดวงจันทร์ดวงจันทร์เปลี่ยนหน้าที่สว่างเป็นเสี้ยวซีก และ เต็มดวงตั้งแต่มืดหมดดวงไปจนสว่างเต็มที่ และ ค่อย ๆ เว้าแหว่งลดลงเป็นเสี้ยวซีก และ กลับมืดไปอีกแล้วกลับมาให้เห็นเป็นเสี้ยวซีก และ เต็มอีกเขาวัดดูคาบเวลาระหว่างเวลาซึ่งสว่างเต็มที่ คือ ดวงจันทร์เต็มดวงมาถึงดวงจันทร์เต็มดวงอีกครั้งหนึ่งได้ประมาณ ๒๙ - ๓๐ วัน ๑๒ ครั้ง เป็นประมาณ ๓๖๐ วัน นับเป็นหนึ่งปีโดยประมาณ และ สามารถบอกเวลาฤดูกาลต่าง ๆ ภายในคาบเวลาหนึ่งปีได้นับได้ว่าเป็นการตั้งต้นรวบรวมคาบเวลาเป็นรูปปฏิทิน

 

มนุษย์ในยุคโบราณรู้จักความแตกต่างกันระหว่างกลางคืน และ กลางวัน และ บางทีก็เป็นการพอเพียงแล้วสำหรับเขาแต่เมื่อชีวิตประจำวันมีความซับซ้อนมากขึ้นการรู้เวลาอย่างแน่นอนเป็นเรื่องสำคัญมากขึ้นเรื่องที่เราบอกเวลาได้อย่างไรเป็นเรื่องของความเจริญก้าวหน้านั่นเอง

 

1
นาฬิกาเทียน

 

เมื่อเราทดลองทายเวลาเราจะเห็นว่าไม่ใช่ทำได้ง่าย ๆ เมื่อดวงอาทิตย์อยู่สูงในท้องฟ้าเราก็รู้แต่เพียงว่าเป็นเวลาใกล้เที่ยงวัน

ในสมัยก่อนที่จะมีนาฬิกาเชิงกลใช้การวัดเวลาได้อาศัยเงาต้นไม้หรือเสาใช้หมายตำแหน่งดวงอาทิตย์โดยทำที่หมายไว้บนพื้นดินซึ่งจะเห็นเงาทอดลงมาแบ่งเวลากลางวันออกเป็นชั่วโมง ๆ กันเรียกว่านาฬิกาแดดต่อมาได้มีการใช้ท่อนโลหะหมายเงาบนพื้น หินหรือโลหะ

 

1
นาฬิกาน้ำ

 

เวลากลางคืนไม่มีเงาดวงอาทิตย์ชาวอียิปต์โบราณใช้ภาชนะใส่น้ำมีรูเล็ก ๆ เจาะไว้ ให้น้ำไหลออก และ ทำขีดที่หมายไว้ที่ภาชนะนั้นเมื่อน้ำไหลออกไประดับน้ำค่อย ๆ ลดลงจากขีดที่หมายไว้เบื้องบนถึงขีดที่หมายไว้ต่ำลงมาเป็นลำดับเป็นวิธีบอกเวลาที่ผ่านไป

หน้าปัดนาฬิกาโดยมากมีเลขลำดับบอกชั่วโมงจาก ๑ ถึง ๑๒ และอ่านเวลาเป็นเช้า (ante meridian, A.M. หรือก่อนเที่ยง) หรือบ่าย (post meridian, P.M.หรือหลังเที่ยง) นาฬิกา บางเรือนมีเลข ๒ สำรับ สำรับหนึ่งจาก ๑ ถึง ๑๒ สำรับสองจาก ๑๓ ถึง ๒๔ เลข ๑๓ อยู่ใต้เลข ๑ เลข ๑๔ ถัดเลข ๒ ฯลฯ เลขเหนือ ๑๒ ขึ้นไปชี้บอกชั่วโมงบ่ายและค่ำ

 

1
นาฬิกาแดด

 

นอกจากน้ำเขาใช้ทรายให้ไหลเทลงจากภาชนะส่วนบนมาส่วนล่างกำหนดเวลาเป็นชั่วโมง ๆ ได้

การใช้เทียนไขเผาไหม้ลงไปหมายบอกเวลาก็มีใช้กันเป็นเวลานานนาฬิกาแบบใหม่เดินด้วยลูกตุ้มน้ำหนัก เชิงกล และ ไฟฟ้า

 

นาฬิกาลูกตุ้มน้ำหนัก 

นาฬิกาลูกตุ้มน้ำหนักตามปกติไม่มีสปริงน้ำหนักติดต่อด้วยเชือกพันรอบแกนรูปทรงกระบอกเมื่อน้ำหนักเลื่อนลงแกนนั้นก็หมุนแกนติดต่อกับระบบเกียร์เหมือนกับที่ใช้กับนาฬิกาสปริงเครื่องเชิงกลในการสับปล่อยบังคับด้วยลูกตุ้มแกว่งไปและกลับในอันตรภาคเวลาที่สม่ำเสมออัตราการแกว่งปรับโดยเลื่อนลูกตุ้มน้ำหนักขึ้นหรือลงอัตราการแกว่งจะกำหนดอัตราเร็วของนาฬิกา

 

นาฬิกาเชิงกล

พลังงานที่ใช้ในการเดินของนาฬิกาเชิงกล (mechanical clock) มาจากการเลื่อนลงของตุ้มน้ำหนักหรือจากการที่สปริงซึ่งขดไว้คลายออกนาฬิกาสปริงใช้กันมากเพราะมีรูปร่างกะทัดรัด และ วางบนพื้นที่ไม่ได้ระดับก็ได้นาฬิกาเชิงกลมีชนิดที่เดินแม่นยำมากแต่เดินค่อนข้างเสียงดังและต้องไขลานเป็นคาบ ๆ บางเรือนต้องไขทุกวันบางเรือนไขวันละ ๘ ครั้ง บางเรือนไขเพียงครั้งเดียวในปีหนึ่ง

 

1
นาฬิกาดาราศาสตร์เยอรมัน มีสัญญาณปลุก ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิแทน นิวยอร์ก

 

นาฬิกาสปริง 

สปริงใหญ่ซึ่งให้พลังงานไขขดไว้แน่นตามปกติไขด้วยมือมีบางชนิดที่ใช้ไขด้วยเครื่องยนต์ไฟฟ้า และ บางชนิดไขเพียงการเคลื่อนไหวของมือ เช่น นาฬิกาข้อมืออัตโนมัติเมื่อสปริงที่ไขขดเข้าไว้คลายออกก็หมุนท่อนแกนซึ่งโยงกับพวกเกียร์ที่ติดต่อกับเข็มนาฬิกาทำให้เข็มนาฬิกาเดิน
 

ในการบังคับอัตราเร็วการคลายตัวของสปริงที่ขดไว้ไม่ให้หมดทันทีทันใดแกนสปริงมีการโยงต่อผ่านเกียร์กับล้อเครื่องเชิงกลสับปล่อย (escapement mechanism) ที่มีฟันรอบ ซึ่งมีคานยึดเหนี่ยวให้อยู่นิ่งที่ปลายทั้งสองข้างของคานมีขอซึ่งสับลงที่ล้อเชิงกลนั้นคานติดต่อกับล้อสมดุล (balance wheel) ที่ติดต่อกับสปริงผมซึ่งขดเข้าและคลายออกในอัตราที่สม่ำเสมอกัน

 

1
นาฬิกาปฏิทินถาวรฝรั่งเศส ใช้บอกเวลาในการสังเกตดูดาวในเวลากลางคืน ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะเมโทรโพลิแทน นิวยอร์ก

 

สปริงผมทำให้ล้อสมดุลแกว่งไปและกลับด้วยอันตรภาคที่สม่ำเสมอ คานสับ แกว่งไปด้วยกับล้อสมดุล สับ และ ปล่อยล้อฟันเชิงกลเมื่อขอปล่อยล้อนั้นเป็นอิสระก็ทำให้สปริงใหญ่คลายขดออกเมื่อขอสับการคลายก็หยุด

 

1

 

นาฬิกาไฟฟ้าสำหรับบ้านเดินด้วยเครื่องยนต์ไฟฟ้าเล็ก ๆ ใช้กระแสไฟฟ้าสลับเพลาเครื่องยนต์ต่อเนื่องกับเข็มทางเกียร์สำรับหนึ่งเกียร์เหล่านี้จัดทำขึ้นให้เข็มชั่วโมงเดินครบรอบหนึ่งทุก ๑๒ ชั่วโมง เกียร์เข็มนาทีเดินรอบหนึ่งทุกชั่วโมง และ เข็มวินาทีเดินรอบหนึ่งทุกนาทีความเร็วของเครื่องยนต์มีการบังคับด้วยความถี่ของกระแสไฟฟ้า (คือจำนวนครั้ง ที่กระแสเปลี่ยนทิศทางในหนึ่งวินาที) ในประเทศไทยใช้ความถี่ ๕๐ รอบ ต่อ ๑ วินาที นาฬิกาไฟฟ้าแบบนี้จะหยุดเมื่อกำลังไฟฟ้าไม่มี

นาฬิกาไฟฟ้าอีกแบบหนึ่งไขลานด้วยเครื่องยนต์ไฟฟ้าแต่มีส่วนประกอบเชิง เครื่องกล ส่วนมากเป็นนาฬิการถยนต์ และ นาฬิกาหอคอย

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow