Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ความเป็นอุดมคติกึ่งสมจริง

Posted By Plookpedia | 26 เม.ย. 60
1,639 Views

  Favorite

ความเป็นอุดมคติกึ่งสมจริง

 

      การเขียนภาพเล่าเรื่องนิทานในพุทธศาสนาโดยย้อนเวลาขึ้นไปถึงเรื่องสมัยพุทธกาลหรือก่อนหน้านั้นขึ้นไปนานจนนับไม่ได้  นับเป็นเรื่องอุดมคติทางศาสนาซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่กำหนดลักษณะของจิตรกรรมไทยโบราณให้เป็นรูปลักษณ์อย่างอุดมคติด้วยโดยสอดคล้องกับเรื่องเล่า เช่น นิทานพุทธประวัติ ชาดก หรือเรื่องเล่าเกี่ยวกับนรก สวรรค์ จักรวาล (ไตรภูมิ) แต่เรื่องราวเหล่านี้ก็อิงความสมจริงอยู่ด้วย  ทั้งนี้เพื่อการสื่อให้พุทธศาสนิกชนได้เกิดความรู้ ความเข้าใจเรื่องราว นับเป็นการสั่งสอนด้วยภาพจิตรกรรมไทยแบบประเพณีจึงมีลักษณะที่เรียกว่า อุดมคติกึ่งสมจริง ซึ่งแตกต่างจากภาพเหมือนจริงของชาวตะวันตก 

 

ภาพนิทานในพุทธศาสนา

 

      การจัดวางภาพในงานจิตรกรรมไทยแบบประเพณีที่เป็นไปเพื่อความเข้าใจของผู้ดูนั้นช่างเขียนโบราณของไทยมีวิธีการโดยเฉพาะ คือ เรียงภาพเหตุการณ์ก่อน - หลังตามเนื้อเรื่องและเพื่อไม่ให้ฉากเหตุการณ์เหล่านั้นสับสนปนกันก็คั่นแต่ละฉากแต่ละตอนด้วยภาพทิวทัศน์ เช่น ต้นไม้หรือบ้านเรือน ช่างเขียนสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายและสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นยังประดิษฐ์กรอบรูปสามเหลี่ยมที่ขอบหยักคล้ายฟันปลา เรียกตามภาษาช่างว่า "สินเทา" เพื่อแบ่งฉากเหตุการณ์หนึ่งให้แยกออกจากฉากอีกเหตุการณ์หนึ่ง  วิธีการนี้ยังได้ผลดีในการเน้นฉากเหตุการณ์ให้เด่นชัดนับเป็นงานออกแบบที่งดงามและแนบเนียนสอดคล้องกับลักษณะแสดงออกที่เป็นอุดมคติซึ่งแตกต่างจากจิตรกรรมเล่าเรื่องจริง อันเป็นแนวสัจนิยมที่เข้ามาแพร่หลายเป็นที่นิยมพร้อมกับวัฒนธรรมตะวันตกภาพเขียนเช่นนี้จะไม่มีลักษณะอุดมคติเข้าปะปน

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow