Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

การนำพีซีต่อผ่านสายโทรศัพท์ด้วยโพรโทคอล SLIP หรือ PPP

Posted By Plookpedia | 24 เม.ย. 60
926 Views

  Favorite

การนำพีซีต่อผ่านสายโทรศัพท์ด้วยโพรโทคอล SLIP หรือ PPP

      เมื่อนำพีซีเชื่อมต่อในระยะไกลเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นเครือข่าย TCP/IP การเชื่อมโยงระหว่างพีซีกับเครือข่ายสามารถใช้โพรโทคอล SLIP หรือ PPP   SLIPเป็นโพรโทคอลสำหรับเชื่อมผ่านสายสื่อสารอนุกรม SLIP ย่อมาจาก Serial Link IP เป็นโพรโทคอลเชื่อมโยงข้อมูลและดาต้าแกรมของ TCP/IP ผ่านสายสื่อสารอนุกรมซึ่งการออกแบบในช่วงแรกเน้นผ่านพอร์ตสื่อสาร RS232 ผ่านโมเด็ม ข้อมูลที่ผ่านช่องสื่อสารแบบ SLIP จึงเป็นการรับส่งเป็นแพ็กเก็ตซึ่งสามารถเชื่อมโยงการทำงานหลาย ๆ งานพร้อมกันได้ อย่างไรก็ดีในระยะหลังมีผู้พยายามที่จะนำแพ็กเก็ตโพรโทคอลอื่นมาใส่ไว้เพื่อให้ทำงานภายใต้โพรโทคอล SLIP เช่น โพรโทคอลของเครือข่ายบางประเภททำให้มีปัญหาอยู่บ้างในเรื่องของการตรวจสอบข้อผิดพลาดในการรับการส่ง จึงมีผู้พัฒนาโพรโทคอลเพื่อใช้ในการเชื่อมโยงเครือข่าย TCP/IP ระยะไกลใหม่และให้ชื่อว่า PPP (Point to Point Protocol) โพรโทคอล PPP เน้นการเชื่อมโยงเครือข่ายระยะไกล ๒ เครือข่ายซึ่งได้ให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนโพรโทคอล SLIP ไว้เพื่อให้ใช้ร่วมกับโพรโทคอลอื่นได้ 

 

อินเทอร์เน็ต


      ในการเชื่อมโยงพีซีเข้ากับเครือข่าย TCP/IP แบบโพรโทคอล SLIP หรือโพรโทคอล PPP มีข้อดีคือทำให้ทางฝ่ายพีซีเป็นเสมือนเครือข่าย TCP/IP ๑ เครือข่าย  ดังนั้นตัวพีซีจะต้องมีการกำหนดแอดเดรสของ IP ไว้ด้วย ทางฝ่ายพีซีจึงทำหน้าที่เหมือนเครื่องหลักเครื่องหนึ่งถ้าหากโปรแกรมระบบปฏิบัติงานเป็นแบบมัลติยูสเซอร์ก็จะทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ได้หลายคนพร้อมกันหรือทำงานอินเทอร์เน็ตหลายงานได้ในเวลาเดียวกัน ซอฟต์แวร์ TCP/IP สำหรับวินโดวส์ที่มีผู้ผลิตหลายบริษัทจึงสนับสนุนโพรโทคอลนี้เพราะจะทำให้ผู้ที่อยู่บนวินโดวส์เปิดใช้งานได้หลายงานในเวลาเดียวกัน แต่ละงานเชื่อมโยงเข้าไปยังอินเทอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์ต่าง ๆ กันได้ เช่น ใช้โปรแกรมอีเมล์เชื่อมกับอีเมล์เซิร์ฟเวอร์ ใช้โปรแกรมบราวเซอร์เชื่อมกับ www เซิร์ฟเวอร์ ใช้โปรแกรมยูสเซอร์เชื่อมกับเครื่องไฟฟ้า บริการข่าวยูสเน็ต ฯลฯ การเชื่อมโยงเหล่านี้สามารถกระทำได้พร้อมกันในเวลาเดียวกัน

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow