Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลขึ้นสู่วงโคจรได้สำเร็จ

Posted By Plookpedia | 24 เม.ย. 60
12,897 Views

  Favorite

24 เมษายน พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990)
กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลขึ้นสู่วงโคจรได้สำเร็จ

กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล (Hubble space Telescope:HST)  เป็นกล้องโทรทรรศน์ในวงโคจรของโลก ตั้งชื่อขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ "เอ็ดวิน ฮับเบิล" (Edwin Hubble) นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกันผู้พิสูจน์ให้เห็นว่ามีกาแล็คซี่อีกมากมายเลยจากทางช้างเผือกออกไป กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลถูกปล่อยสู่วงโคจรนอกบรรยากาศของโลกขึ้นไปกับกระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรี (Discovery) เที่ยวบินที่ STS-31 ได้สำเร็จในวันนี้โดยองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ (NASA)

 

nasa.gov
กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล 
ขอขอบคุณภาพจาก  NASA

 

 

nasa.gov
 เอ็ดวิน ฮับเบิล
ขอขอบคุณภาพจาก NASA

 

 

การที่กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลลอยอยู่นอกชั้นบรรยากาศของโลก ทำให้ได้เปรียบกว่ากล้องโทรทรรศน์ที่อยู่บนพื้นโลก นั่นคือภาพที่ได้จะไม่ถูกรบกวนจากชั้นบรรยากาศ ไม่มีแสงพื้นหลังท้องฟ้า และสามารถสังเกตการณ์คลื่นอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) ได้โดยไม่ถูกรบกวนจากชั้นโอโซนบนโลก ตัวอย่างเช่น ภาพอวกาศห้วงลึกมากของฮับเบิลที่ถ่ายจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล คือภาพถ่ายวัตถุในช่วงคลื่นที่ตามองเห็น (Visible light) ที่อยู่ไกลที่สุดเท่าที่เคยมีมา หลังจากที่องค์การนาซ่า (NASA) เริ่มมีการส่งกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลขึ้นสู่อากาศ ภาพที่ส่งกลับมายังโลกทำให้นักดาราศาสตร์ได้เห็นถึงความอัศจรรย์ของอวกาศในห้วงลึกซึ่งไม่เคยได้พบเห็นมาก่อน

 

http://hubblesite.org/
กระสวยอวกาศดิสคัฟเวอรีนำกล้องฮับเบิลทะยานขึ้นสู่อวกาศ
ขอขอบคุณภาพจาก hubblesite.org

 

 

โดยการค้นพบของฮับเบิลมีส่วนสำคัญอย่างมากในการปฏิวัติการศึกษาและการวิจัยทางดาราศาสตร์ในยุคปัจจุบัน โดยได้แก้ไขปัญหาดาราศาสตร์ต่าง ๆ ที่เป็นที่สงสัยมายาวนาน พร้อมทั้งเผยให้เห็นปรากฏการณ์ใหม่ ๆ ที่จำเป็นต้องสร้างทฤษฎีใหม่ขึ้นมาอธิบาย อาทิเช่น นักดาราศาสตร์ได้ทำการวัดความเปลี่ยนของแสงจากดาวแปรแสงที่อยู่ตามกาแล็คซีต่าง ๆ ซึ่งการวัดความสว่างปรากฏของดาวเหล่านั้นได้  ทำให้นักดาราศาสตร์สามารถทราบระยะห่างของดาวแปรแสงกับโลกรวมถึงระยะห่างของกาแล็กซีที่ดาวแปรแสงนั้นได้อาศัยอยู่ด้วยได้เช่นเดียวกัน ยิ่งไปกว่านั้นนักดาราศาสตร์ได้คำนวณผลของอัตราการเคลื่อนที่ของกาแล็กซีได้จากการเลื่อนไปทางแดง (Redshift) จนสามารถทราบถึงอัตราของการขยายตัวของเอกภพ โดยที่เรารู้จักกันใน “ค่าคงที่ฮับเบิล” ข้อมูลของการขยายตัวของเอกภพ นักดาราศาสตร์ใช้เป็นสิ่งที่ใช่ในการสนับสนุนทฤษฏีการกำเนิดของเอกภพ ที่ใครหลายคนรู้จักกันในทฤษฏี “บิ๊กแบง (Big Bang)” เมื่อนักดาราศาสตร์ทราบถึงอัตราการขยายตัวของเอกภพ ทำให้ปัจจุบันเราสามารถคำนวณอายุของเอกภพที่กว้างใหญ่ไพศาลนี้ได้

 

ภาพถ่ายกาเเล็คซีต่าง ๆ จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล  ขอขอบคุณภาพจาก hubblesite.org
ภาพถ่ายกาเเล็คซีต่าง ๆ จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล
ขอขอบคุณภาพจาก hubblesite.org

 

 

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow