Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ประเภทของระบบฐานข้อมูล

Posted By Plookpedia | 20 เม.ย. 60
3,596 Views

  Favorite

ประเภทของระบบฐานข้อมูล

      ในโลกของการแข่งขันในยุคปัจจุบันนี้การเข้าถึงข้อมูลอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพซึ่งจะนำไปสู่การตัดสินใจนั้นถือเป็นสิ่งจำเป็น ดังนั้นซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่เหมาะสมกับลักษณะของงานจะทำให้เกิดประโยชน์ได้สูงสุดส่วนนี้เป็นหน้าที่ของนักออกแบบซอฟต์แวร์ (Software Designer) ที่จะต้องศึกษาและเข้าใจความต้องการที่แท้จริงของกลุ่มผู้ใช้ให้ได้ ในอดีตนั้นการจัดการแฟ้มข้อมูลจะใช้มนุษย์ทำการจัดเรียงข้อมูลและประมวลผลซึ่งช้าและมักเกิดความผิดพลาดได้ง่ายจึงก่อให้เกิดการนำระบบการประมวลผลแฟ้มข้อมูล (File Processing) ด้วยระบบคอมพิวเตอร์มาใช้แทนซึ่งมีประสิทธิภาพดีกว่าการทำด้วยมนุษย์  แต่อย่างไรก็ตามความผิดพลาดและความซ้ำซ้อนของข้อมูลก็ยังคงเกิดขึ้นจึงส่งผลให้ระบบฐานข้อมูลถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาเหล่านี้และเพื่อแยกข้อมูลและโปรแกรมให้เป็นอิสระจากกัน (Data and Program Independence) ให้มากที่สุด

 

ระบบฐานข้อมูล
เว็บเพจ (Web Page) ต่าง ๆ ซึ่งบรรจุข้อมูลจำนวนมาก

 

      ระบบฐานข้อมูล (Database System : DBS) ประกอบด้วย ๒ ส่วนหลัก คือ ฐานข้อมูล (Data base : DB) และระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System : DBMS) โดยทั่วไปมักจะเรียกกันว่า ดีบีเอ็มเอส ฐานข้อมูล คือ กลุ่มของข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกันเป็นระยะยาวนานโดยเก็บไว้เป็นหมวดหมู่เพื่อความสะดวกในการสืบค้นข้อมูลและดูแลรักษา ส่วนระบบจัดการฐานข้อมูล คือ ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่บันทึกข้อมูลไว้ในคอมพิวเตอร์ สืบค้นข้อมูล เปลี่ยนแปลงข้อมูล และรักษาความปลอดภัยของฐานข้อมูล ในปัจจุบันนี้มีระบบจัดการฐานข้อมูลในท้องตลาดให้เลือกซื้อมากมาย เช่น แอ็กเซส (Access) ดีเบส (Dbase) และฟ็อกซ์โปร (Foxpro) สำหรับจัดการฐานข้อมูลขนาดย่อม ส่วนอินฟอร์มิกซ์ (Informix) อินเกรส (Ingress) อินเทอร์เบส (Interbase) โอราเคิล (Oracle) โปรเกรส (Progress) และไซเบส (Sybase) สำหรับจัดการฐานข้อมูลขนาดใหญ่

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow