Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) โปรด ฯ ให้สร้างเสาชิงช้าขึ้น

Posted By Plookpedia | 08 เม.ย. 60
17,902 Views

  Favorite

08 เมษายน พ.ศ.2327 (ค.ศ. 1784)
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างเสาชิงช้าขึ้น

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) โปรดเกล้า ฯ ให้พระครูสิทธิชัย (กระต่าย) สร้างเสาชิงช้าขึ้นตรงหน้าเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ในพระนคร เพื่อใช้ในพิธีโล้ชิงช้า อันเป็นส่วนหนึ่งของพิธีตรียัมปวายเพื่อต้อนรับพระอิศวร หนึ่งในเทพตรีมูรติของของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ซึ่งจะเสด็จลงมาสู่โลกในวันขึ้น 7 ค่ำเดือนยี่ อันเป็นคติที่เกี่ยวเนื่องกับการสร้างบ้านเมืองให้มั่นคงแข็งแรง ทำให้ประเทศชาติมั่นคง

 

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) เมื่อมีการสร้างโรงเก็บน้ำมันก๊าดขึ้นบริเวณนั้น จึงต้องย้ายเสาชิงช้ามาสร้างใหม่ ณ ที่ตั้งปัจจุบัน บริเวณหน้าวัดสุทัศน์เทพวราราม

 

http://www.phoppra.com/%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B2%20%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%84%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B8%87
เสาชิงช้าตันแรก จาก, http://www.phoppra.com/เสาชิงช้า%20สูงสง่าคู่เมืองกรุง

 

 

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%B2
พิธีโล้ชิงช้าหน้าวัดสุทัศน์ จาก, https://th.wikipedia.org/wiki/เสาชิงช้า



ความหมายของพิธีโล้ชิงช้า

เป็นการจัดแสดงตำนานเทพเจ้าสร้างโลก โดยเสาทั้งสองข้างของชิงช้านั้นเป็นสัญลักษณ์แทนภูเขาลูกใหญ่ โดยผู้โล้ชิงช้าเป็นตัวแทนของพญานาคที่มายื้อยุดทดสอบกำลังความแข็งแรงของโลก และพระยายืนชิงช้าเป็นตัวแทนของพระอิศวรที่เสด็จลงมายังโลก  โดยในตำนานพระอิศวรจะทรงยืนขาเดียวในลักษณะไขว่ห้าง หากพญานาคไกวตัวแล้วเท้าของพระอิศวรไม่ตกลงมา แสดงว่าโลกที่ทรงสร้างนั้นมั่นคง แข็งแรง โดยในพิธีจะ ให้พระยานั่งไขว่ห้างแทนการยืน

 

http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=34&chap=1&page=t34-1-infodetail04.html
ขบวนแห่และพิธีโล้ชิงช้าในสมัยโบราณ
จาก, http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=34&chap=1&page=t34-1-infodetail04.html

 

 

สถาปัตยกรรมเสาชิงช้า

เสาชิงช้าทำด้วยไม้สักทาสีแดงชาดสูงประมาณ 21 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางฐานกลมประมาณ 10.5 เมตร ฐานกลมก่อเป็นฐานปัทม์ทำด้วยหินล้างสีขาว พื้นบนปูกระเบื้องดินเผาสีแดง มีบันได 2 ขั้น ทั้ง 2 ด้าน และติดสายล่อฟ้าจากลวดลายกระจังด้านบนลงดิน กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2492
 

https://board.postjung.com/893677.html
บันไดข้างของเสาชิงช้า จาก, https://board.postjung.com/893677.html

 

 

https://th.wikipedia.org/wiki/เสาชิงช้า
เสาชิงช้า จาก, https://th.wikipedia.org/wiki/เสาชิงช้า

 

 

http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=34&chap=1&page=t34-1-infodetail04.html
กระจังประดับหัวเสาชิงช้า จาก, http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=34&chap=1&page=t34-1-infodetail04.html

 

 

พิธีโล้ชิงช้ามีมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เดิมจัดในเดือนอ้าย (ธันวาคม) ครั้นเมื่อถึงสมัยรัตนโกสินทร์จึงได้เปลี่ยนมาทำในเดือนยี่ (มกราคม) ต่อมาได้ยกเลิกไปในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 7) โดยในปี พ.ศ. 2477 นับเป็นปีสุดท้ายที่มีการโล้ชิงช้า

 

วีดีทัศน์ แสดงภาพการโล้ชิงช้าในสมัยรัชกาลที่ 7 จาก, Youtube

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow