Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

the subject : นักใช้ภาษา

Posted By Plook Magazine | 06 มิ.ย. 59
2,072 Views

  Favorite

เรื่องและภาพ: กัลยาณี แนวเล็ก ภาพประกอบ: พลอยขวัญ สุธารมณ์



นักใช้ภาษา

ภาษาคือเครื่องมือที่สำคัญที่สุดในการสื่อสารระหว่างกันของคนในสังคม นอกจากนี้ยังถือเป็นอาวุธหลักในการประกอบอาชีพที่หลากหลายกันไปตามแต่ละจุดประสงค์ของตนเองอีกด้วย บางอาชีพใช้เพื่อสื่อสาร เพื่อโน้มน้าว หรือแม้กระทั่งการสร้างสรรค์ผลงานที่ต้องใช้ความสามารถทางภาษาเป็นหลักเพื่อให้ผลงานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

 

copy writerประธาน อุดมทรัพย์วงศ์ - เดียว 
copy writer

ผลงานชิ้นเอก โฆษณาของททท.
 

ก๊อปปี้ไรท์เตอร์ เป็นหนึ่งในสาขาวิชาชีพหนึ่งของครีเอทีฟโฆษณา ซึ่งแบ่งการทำงานเป็นสองอย่างในรูปแบบโฆษณาทุก ๆ ตัว มันจะมีเรื่องของภาพ เรื่องของเสียง ภาพตำแหน่งที่ต้องทำคืออาร์ตไดเรกเตอร์ ทุกอย่างที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับข้อมูล หรือเป็นคอนเทนต์ตัวโฆษณาจะเป็นหน้าที่ของก๊อปปี้ไรท์เตอร์ คือคนรับผิดชอบในการเขียน ในการครีเอทว่าจะให้พระเอกพูดอะไร นางเอกเล่าเรื่องอะไร หรือจะเป็นเสียงเพลง เสียงดนตรี mood tone ศึกษาข้อมูลจุดขายของโจทย์ที่ลูกค้าปรีพมา จุดประสงค์ของเขาต้องการอะไร โปรโมชั่นเหรอ ฉะนั้นเราจะต้องเขียนยังไงให้รู้สึกโปรโมชั่น โจทย์ของมันคือสร้างความน่าเชื่อถือ เขียนยังไงให้ดูน่าเชื่อถือ โจทย์ของเขาต้องการจะโน้มน้าวต้องการประกาศให้สินค้าตัวนี้มันใหม่ ต้องการบอกสรรพคุณเราก็ต้องเขียนให้มันออกมา มันไม่ใช่การเขียนตามใจตัวเองสักเท่าไหร่ มันจะมีกรอบอะไรบางอย่าง ที่ถูกตามโจทย์

 

โดยการเลือกใช้ภาษามันถูกกำหนดมาตามโจทย์ อธิบายก่อนว่า ก๊อปปี้ไรท์เตอร์เป็นนักเขียน แต่ต่างจากนักเขียนทั่วไปคือนักเขียนสามารถเขียนได้เท่าที่ใจอยากเขียน ไม่ค่อยถูกกรอบ แต่ก๊อปปี้ไรท์เตอร์ข้อมูลมันถูกกำหนด เป็นพาณิชย์ศิลป์อย่างหนึ่ง มันก็เลยถูกกรอบ สมมติเขาบอกให้คุณขายวัยรุ่น เขาจะไม่บอกคุณขายแค่วัยรุ่น เขาบอกว่าวัยรุ่นที่คิดบวก มีความทะเยอทะยาน เราก็ต้องรู้จักใช้คำให้มันดู positive ให้มันมีความรู้สึกนั้นออกมาด้วยเช่นกัน ต้องการให้รู้สึกตระหนัก สมมติเป็นโจทย์รณรงค์ คุณก็ต้องเขียนให้เห็นถึงปัญหา การใช้คำที่ดูเหมือนปัญหาดูจริงจังดูซีเรียส แต่ถ้าสมมติเป็นโจทย์รณรงค์แต่คู่กับวัยรุ่น ต้องการความเป็นกันเอง ไม่เหมือนผู้ใหญ่สอนเด็ก ก็ต้องเขียนให้ดูเหมือนว่าวัยรุ่นคุยกับวัยรุ่น ซึ่งหมายถึงว่าเราต้องสวมหมวกหลายใบให้ได้ในตัวคนเดียว”

 

ทนายความ 


ปรีชา วนรัตน์- ตั้ม

ทนายความ

 

ถ้าเป็นความหมายแบบแคบทนายความก็เป็นเหมือนตัวแทนของลูกความในคดีเข้าไปดูแลเรื่องสิทธิและหน้าที่ต่าง ๆ ตามกฎหมาย แต่จริง ๆ แล้วทนายความไม่ได้มีหน้าที่แค่ตรงนั้นเรามีหน้าที่นอกศาลเหมือนกัน เช่น ลูกความมาหาเราต้องการให้เราเขียนสัญญาให้เราก็ดูแลการร่างสัญญาให้ได้หรือจะมาปรึกษาการทำนิติกรรมต่าง ๆ

 

การใช้ภาษาของทนายขึ้นอยู่กับบริบทของผู้พูดและผู้รับผู้สื่อสารด้วยมากกว่า มีระดับการใช้ภาษาที่แตกต่างกัน กรณีที่ลูกความมาปรึกษาเราก็จะมีภาษาที่คุยกับเขาอีกแบบหนึ่ง อย่างในการทำคดีภาษาก็สำคัญเหมือนกันนะ จะมีสองอย่างภาษาเขียนกับภาษาพูด ภาษาเขียนคือเราทำเขียนสำนวนต่าง ๆ ยื่นต่อศาล พวกคำฟ้อง คำให้การ คำร้องเหล่านี้ หลักการคือหนึ่งกระชับเข้าใจง่ายตรงประเด็นไม่ฟุ่มเฟือยเพื่อให้ศาลเข้าใจว่าเราต้องการจะบอกอะไร ส่วนที่สองนอกจากศาลจะเข้าใจในสิ่งที่เราบอกแล้ว เราต้องโน้มน้าวให้ท่านเห็นด้วยกับเรามันก็จะมีภาษาอ้างอิงหลักฐานต่าง ๆ เพื่อให้โน้มน้าวเห็นคล้อยกับเรา อันนี้คือในส่วนของภาษาเขียน ในส่วนของภาษาพูดก็เหมือนกันก็ต้องมีลักษณะที่พูดให้เขาเข้าใจไม่เยิ่นเย้อ นี่เป็นเรื่องสำคัญในการพูดให้ตรงประเด็นก็ทั้งการพูดการเขียนค่อนข้างสำคัญมากในอาชีพทนายนะถ้าเราใช้ได้สวยสั้นกระชับก็ได้เปรียบ”

 

ล่ามภาษาญี่ปุ่น ริญญาภัทร์ ภัทราธีดา – มุกกี้

ล่ามภาษาญี่ปุ่น

ผลงาน Anime Festival Asia 2015

 

ล่ามจะมีหน้าที่คล้าย ๆ เป็นทูตทางด้านภาษาคือคอยแปลให้ทั้งสองฝ่าย ได้ความเข้าใจที่ถูกต้อง สิ่งสำคัญก็คือความถูกต้องของภาษา แบ่งได้สองแบบใหญ่ ๆ คือล่ามพูดพร้อมกับล่ามพูดสลับ อย่างล่ามพูดพร้อมล่ามจะนั่งในตู้และพูดพร้อมไปเลยโดยที่ฝ่ายที่พูดอยู่จะไม่หยุดพูด เราก็จะพูดตามไปเลย หรือว่าอีกแบบหนึ่งก็คือล่ามแบบพูดสลับค่ะคนพูดพูดประโยคแรกจบก็ค่อยแปล มีอีกแบบหนึ่งคือถ้าแบ่งตามสถานที่และโอกาส เช่น ล่ามธุรกิจคือล่ามที่แปลในที่ประชุม เช่น การเซ็นต์สัญญาและมีล่ามศาลคือแปลในชั้นศาล ล่ามท่องเที่ยวล่ามศิลปิน หรือว่าล่ามงานอีเว้นท์ เช่น งานเปิดตัวสินค้าเปิดตัวผลิตภัณฑ์เป็นต้น

 

สิ่งสำคัญในการใช้ภาษาของล่าม อย่างแรกที่ทุกคนต้องมีคือเนื้อความที่แปลมาต้องแม่นยำและมีความถูกต้องอันนี้สำคัญที่สุด ถ้าคำไหนที่เราไม่รู้จริง ๆ เป็นศัพท์เทคนิคเราก็ต้องถามเขาตรง ๆ ว่าคำนี้คืออะไรเราไม่เข้าใจเราแปลทับศัพท์เลยได้ไหม ถ้าทำแบบนั้นมันจะดีกว่าการที่เราไม่รู้แล้วเราก็แปลไปเลย หรือขอเขาอธิบายเพิ่มเติมซึ่งลูกค้าเขาจะสบายใจกว่า เพราะเราเป็นล่ามเรามีหน้าที่แปลให้มันถูกต้องเราไม่ควรใส่อะไรที่มันเป็นความเห็นของเราลงไป

 

นักแปลการ์ตูนมังงะ 

Duck&Drake

นักแปลการ์ตูนมังงะ

ผลงานชิ้นเอกBleach เทพมรณะOne Punch Man

 

การ์ตูนเป็นเหมือนภาพวาดสมัยก่อนเขาจะเรียกว่าเป็นภาพวาดล้อ แต่ว่ามังงะมันจะต่างกันตรงที่เหมือนเอามาทำเป็นเนื้อเรื่อง มีการแบ่งช่องมีการดำเนินเรื่องไปเรื่อย ๆ ส่วนคอมมิคคล้าย ๆ มังงะครับ แต่มังงะอ่านแล้วตัวการ์ตูนนั้นมันมีการเคลื่อนไหวมากกว่าภาพคอมมิค

 

ในการแปลต้องมีการศึกษาตัวละครแต่ละตัวจะมีบุคลิกของมันเองถ้าเกิดเราไปใช้คำพูดที่ไม่ตรงกับบุคลิกของเขามันก็จะดูแปลก ๆ ไปเลย ทำให้อ่านไม่ลื่นและต้องอ่านจบหนึ่งรอบก่อน อ่านพอให้รู้ว่าเนื้อเรื่องมันเป็นโทนไหน ตัวละครพูดจากันยังไง แล้วจากนั้นค่อยเริ่มแปล ที่สำคัญต้องจำไว้เสมอว่าเราไม่ได้แปลเอกสาร ไม่ได้แปลพวกที่เป็นบทบรรยาย เพราะมังงะมันคือบทพูดทั้งนั้นสิ่งที่ต้องระวังคือไม่ให้บทพูดแข็งเกินไปไม่เป็นธรรมชาติเวลาพูด”


นักเขียนบทละครโทรทัศน์ณัฐิยา ศิรกรวิไล- นัท

นักเขียนบทละครโทรทัศน์

ผลงานชิ้นเอก วัยแสบสาแหรกขาด

 

 

ทุกสิ่งทุกอย่างที่เราเห็นในละครโทรทัศน์ มันคือสิ่งที่นักเขียนบทโทรทัศน์ต้องเขียน ภาพที่เห็นคำพูดเสียงที่เข้ามาอารมณ์ทุกอย่างคือสิ่งที่คนเขียนบทจะต้องเขียนลงไปให้ทีมงานเอาไปและทำตามที่เราเขียน ต่างจากนิยายคือเราอ่านแล้วเราคิดเราไม่ได้มอง เพราะฉะนั้นมันจะต้องมีการอธิบายสิ่งต่าง ๆ ออกมาและคนอ่านจะต้องตีความเอาเอง แต่ในการเขียนบทเราต้องเขียนให้ชัดและการเล่าเรื่องด้วยบทที่เป็นละครโทรทัศน์การดูกับการอ่านมันไม่เหมือนกันอยู่แล้ว และที่สำคัญคือการเขียนนิยายมันสื่อสารระหว่างคนเขียนและคนอ่าน แต่การเขียนบทมันเป็นการสื่อสารระหว่างคนเขียนและคนทำละคร เพราะฉะนั้นเราต้องเขียนให้คนทำเข้าใจมากที่สุดและเอาสิ่งที่เราเขียนไปทำออกมาให้เป็นภาพง่ายที่สุด คือเขาไม่ต้องอ่านไม่ต้องตีความให้มันเกิดความกำกวมหรืออะไรแบบนี้ค่ะ

 

ในส่วนของการใช้ภาษาสื่อสารกับคนดูพี่เป็นคนที่ให้ความสำคัญกับตัวละครนะ อย่างครูทรายพูดกับเด็กก็ต้องใช้ภาษาที่มันง่าย เด็กต้องเข้าใจง่ายอย่างโชกุนต้องเข้าใจ ก็ต้องมองว่ามันอยู่ที่คาแรกเตอร์ของตัวละคร และวาระโอกาสในฉากนั้น ๆ มากกว่า สิ่งสำคัญของบทคือ หนึ่ง ต้องมีประเด็น มันไม่ใช่พูดไปเรื่อยเปื่อย และการพูดอะไรออกมามันต้องสื่อสารประเด็นของฉากนั้นให้ได้ สอง ต้องไม่พูดซ้ำซาก จะไม่วนไปวนมา สาม ต้องมีคาแรกเตอร์ของตัวละคร และเราต้องเข้าใจคาแรกเตอร์ก่อน เด็กแบบนี้จะพูดออกมายังไง เพื่อนของเด็กคนนี้จะพูดออกมายังไง ถ้าเกิดคาแรกเตอร์มันแตกต่างชัดเจนมันก็มาพูดกันด้วยภาษาและสำเนียงของเขา สไตล์ของเขาพี่ว่ามันก็สนุกละ”

 

 

นิตยสาร plook

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Magazine
  • 3 Followers
  • Follow