Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

KEEP CALM & SAVE MONEY ชวนกันเก็บ...เงินสิบให้เป็นเงินหมื่น

Posted By Plook Magazine | 01 ก.ย. 58
933 Views

  Favorite

เรื่อง: นฤมล อารีสินพิทักษ์ ภาพประกอบ: พลอยขวัญ สุทธารมณ์

มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท….” สุภาษิตสอนใจของกวีเอกสุนทรภู่ ผ่านมากว่าร้อยปีแล้วก็ยังไม่เอาท์ เพราะมีใช้แล้วก็ควรมีเก็บด้วย เริ่มเก็บก่อนก็รวยก่อน

ผู้ใหญ่เขาวางแผนการออมเพื่ออนาคตแบบมองกันยาวๆ ซื้อบ้าน ซื้อรถ หรือเอาไว้ใช้ตอนแก่ บ้างก็เอาไปลงทุนให้งอกเงย แต่วัยเรียนอย่างเรายังหาเงินเองไม่ได้ จะมีเก็บได้ก็ต้องจัดการกับค่าขนมให้อยู่หมัด ประหยัดแบบชิลๆ กินข้าวบ้าน ลดโควต้าขนม ไม่อ้วนแถมเงินเหลือเพียบ

ความดีงามของการมีเงินเก็บ คือได้ซื้อของหรือไปเที่ยว โดยไม่ต้องกวนเงินในกระเป๋าพ่อแม่ นอกจากความภูมิใจแล้วก็ยังได้นิสัยดีๆ รู้จักวางแผนการใช้จ่าย โตขึ้นจะเก็บเงินก้อนใหญ่ก็ไม่ใช่เรื่องยากละ ฉวยโอกาสที่ยังไม่มีภาระค่าผ่อนบ้าน ค่าผ่อนรถ หรือต้องเลี้ยงดูครอบครัว หยอดกระปุกทุกวัน เรียบจบมหาวิทยาลัยความฝันที่อยากมีเงินหลักแสนก็เป็นจริงได้ไม่ยากเลย


คลิกดูภาพขนาดใหญ่


ค่าขนม
ใช้อย่างไรให้เหลือเก็บ
- “ขนมและน้ำหวาน” คือสารเร่งน้ำหนักและตัวดูดเงิน ต้อง ลด ละ เลิก!!!
- กินข้าวเช้าที่บ้านประหยัดได้วันละตั้ง 30 บาท
- วันหยุดต้องใช้ชีวิตแบบ อิ่มจังตังค์อยู่ครบ” อยู่ติดบ้านและเกาะพ่อ-แม่เข้าไว้
-
ได้เงินมาแล้วหยอดกระปุกเก็บไว้เลยตั้งแต่ต้นสัปดาห์ พกเงินน้อย ๆ เข้าไว้เป็นเรื่องดี
- www.จัดการเงินเป็น.com/reduce โปรแกรมช่วยคำนวน การประหยัดค่าใช้จ่ายแบบง่าย ๆ ประหยัดแบบเห็น ๆ และทำได้จริง

ค่าขนมวันละ

200 บาท

       
 

ใช้ปกติ

 

ใช้ประหยัด

ใช้ประหยัดกว่า

 

ข้าวเช้า

30

 

30

กินที่บ้าน

 

ค่ารถไป-กลับ

40

 

40

40

 

ข้าวกลางวัน

30

 

30

30

 

ชาเขียวไข่มุก

30

 

ไม่กิน

ไม่กิน

 

ข้าวเย็น

40

 

40

40

 

ขนม

30

 

20

20

 

ใช้ไป

200

 

160

130

 

เงินเหลือ/วัน

0

 

40

70

 

เงินเก็บ 1 ปี

0

 

9600

16800

 
           


เปลี่ยนวันหยุดเป็นเงินเก็บ…หางานพิเศษทำ
ถ้าหักค่ารถ ค่ากินแล้วยังมีเหลือเงินเข้าบัญชีกว่าครึ่งของค่าแรง
- เฝ้าบูธงานอีเวนต์ / วันละ 600 - 800 บาท
- คีย์ข้อมูล / วันละ 400 บาท
- บาริสต้าร้านกาแฟ / เดือนละ 8,000 บาท
- ห่อของขวัญในห้างช่วงปีใหม่ / วันละ 300 - 400 บาท
- พนักงาน catering / วันละ 300 - 500 บาท
- รับทำแบบสอบถาม / วันละ 500 - 700 บาท
- สอนพิเศษน้อง ๆ เด็กประถม / ชั่วโมงละ 300 บาท
- ผู้ช่วยไกด์ / วันละ 800 – 1,000 บาท

 

Tips อดทนอดกลั้น เก็บเงินให้อยู่หมัด
- ใช้กระเป๋าที่มีช่องเยอะๆ ซุกเงินไว้หลายๆ ช่อง เก็บไว้ลึกๆ ยิ่งหยิบยากเท่าไรก็ใช้จ่ายยากขึ้นเท่านั้น
- เปิดบัญชีฝากประจำ ไม่มี ATM เน้นเอาเงินเข้า ครบปีถึงจะถอนได้ ดอกเบี้ยไม่เยอะ แต่เงินปลอดภัยไม่รั่วไหลกลางทาง
- แยกแยะให้ได้ว่า “จำเป็นหรือแค่ “น่ารัก” และอย่าหมั่นทำปากกาหาย เพราะเมื่อไรที่ต้องซื้อของจำเป็นจะแพงขึ้นเพราะเรามักพ่ายแพ้ต่อความน่ารัก จ่ายทีละสิบห้ายี่สิบบาท รวมๆ แล้วก็หลักร้อยเชียวนะ
- อยากได้อะไรให้เลือกนานๆ สร้างข้อแม้เยอะๆ อย่าซื้อในครั้งแรกที่เห็น กลับบ้านไปนอนคิดสัก 1 คืน แล้วความอยากจะลดลงไปเอง

วันละ 40 บาท เก็บ 5 ปี = 48,000 บาท
เริ่มเก็บตอน ม.4 ก่อนจบปี 4 มีเงินครึ่งแสน

วันละ 70 บาท เก็บ 6 ปี = 100,800 บาท
เริ่มเก็บตอน ม.4 จบปี 4 มีเงินหลักแสน

คีย์เวิร์ดสำคัญของโปรเจ็คต์เงินออม คือ "วินัย" และ "ใจ" ทำคนเดียวอาจเหลวไหลและใจแตกได้ทุกเวลา ลองรวมตัวกันสร้างชาเลนจ์ดี ๆ อาจช่วยให้ทำสำเร็จแบบสนุกขึ้น เช่น ตั้งอีเวนต์ 3 เดือนหยอดกระปุกสำหรับทริปส่งท้ายตอนจบ ม.6 หรือเริ่มภารกิจลดพุงโดยเอาเงินที่ได้จากการบอกลาขาไข่มุก เก็บไว้ซื้อรองเท้าวิ่งเพื่อไปวิ่งลดพุงรอบสนามบอลด้วยกันเป็นหมู่คณะ เป็นต้น

ถ้าใจแตก อย่าเพิ่งถอดใจ เริ่มใหม่ได้เสมอ นึกถึงกีตาร์ นึกถึงกล้อง นึกถึงเกาหลีไว้...สู้ ๆ   

ที่มา นิตยสาร plook ปีที่ 5 ฉบับที่ 57 กันยายน 2558 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Magazine
  • 3 Followers
  • Follow