Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

10 วลีติดปากที่ควรลด ละ เลิก เวลาประชุม

Posted By Glimmergirl | 23 ธ.ค. 59
6,308 Views

  Favorite

การสื่อการที่ผิดพลาดอาจตัวเป็นทำลายความน่าเชื่อถือและสั่นคลอนอำนาจทางการสื่อสารที่คุณมีได้ หากอยากได้รับความน่าเชื่อถือจากคนอื่นควรหันมาใส่ใจกลั่นกรองคำพูดให้ดีก่อนจะสื่อสารออกมา

 

จากการศึกษาค้นคว้าต่างๆทำให้มีหลักฐานเชื่อว่าภาษาพูดแรกเกิดขึ้นในโลกเมื่อประมาณ 7,000 ปีมาแล้วโดยชนเผ่ามายัน และได้รับการพัฒนามาเรื่อย ๆ ทำให้ในศตวรรษที่ 70 มีคำศัพท์ใหม่ ๆ เกิดขึ้น เช่น "แบบว่า" หรือ "เอาจริงดิ"

 

ภาพ : Pixabay

 

เมื่อคุณต้องเป็นผู้นำการประชุมต่าง ๆ หรือนำเสนอขายงานให้กับลูกค้ารายใหญ่ หรือกล่าวคำปราศัยต่อหน้าพูดฟังจำนวนมาก คำพูดที่ไม่ได้กลั่นกรองมาอย่างดีอาจเป็นตัวบ่อนทำลายความน่าเชื่อถือที่คุณมี และทำให้ผู้ฟังตีความคำพูดของคุณเพี้ยนไปจากความต้องการที่แท้จริง หากอยากให้การสื่อสารของคุณสื่อออกไปได้อย่างตรงตัวและมีเสน่ห์ดึงดูดต่อคู่สนทนาควรลองหันมาลด ละ เลิก วลีติดปากต่อไปนี้

 

1. "งงจัง" หรือ "ไม่เข้าใจเลย"

แทนที่จะปัดความผิดไปให้คนอื่น และเพื่อรักษาสัมพันธภาพที่ดีระหว่างเพื่อนร่วมงานไว้ ควรเลี่ยงมาใช้ประโยคที่ว่า "คุณเข้าใจว่ายังไง อธิบายให้ฟังหน่อยได้ไหม"

2. "เข้าใจที่พูดไหม" หรือ "คิดว่าที่ทำนั่นเข้าท่าแล้วเหรอ"

พูดขอร้องผู้อื่นโดยการให้เหตุผลที่ชัดเจน ตัดคำพูดที่เป็นประโยคคำสั่งทิ้งไป

 

ภาพ : Pixabay

 

3. "ฉันก็แบบว่า.." หรือ "เขาก็แบบว่า..."

คำว่า "ก็แบบว่า..." ทำให้ความหมายในคำพูดของคุณคลุมเครือ ไม่น่าเชื่อถือ

4. เอ่อ, เอิ่ม, อืม, รู้ไหม

ระมัดระวังการพูดคำเสริมประโยคเหล่านี้ และควรฝึกการเว้นระยะในการพูดให้ถูกต้อง เพื่อไม่ให้ผู้รับสารเกิดการสับสนในการรับฟังข้อมูลจากคุณ

5. "ฉันยุ่งมากเลย" หรือ "เขียนอีเมล์ให้แล้วแต่ลืมส่งให้ล่ะ"

คำแก้ตัวฟังแล้วน่าเบื่อหน่ายไม่สบอารมณ์ ลองเปลี่ยนมาพูดว่า "ขอโทษจริง ๆ ที่ทำให้ต้องลำบากนะ เดี๋ยวพรุ่งนี้จะรีบส่งอีเมล์ไปให้ด่วนที่สุดเลย"

6."คิดนอกกรอบหน่อยสิ"

เลิกพูดได้แล้ว คำพูดเกร่อ ๆ ซ้ำซากที่หนีไม่พ้น ฟังแล้วน่าเบื่อจริง ๆ

 

ภาพ : Pixabay

 

7. "ทำอย่างนี้ตลอดเลยนะ"

คำพูดกว้าง ๆ คลุมเครือ ขาดความเข้าใจที่ลึกซึ้งพอ เป็นสิ่งปิดกั้นบทสนทนาที่มีคุณภาพ คุณควรพูดด้วยความรู้สึกที่ตรงไปตรงมา หลีกเลี่ยงการตำหนิที่กำกวม

 

ภาพ : Pixabay

 

8. "ฉันว่าถ้าเธอทำอย่างนี้น่าจะดีกว่ารึเปล่า"

คำแนะนำที่ขาดความชัดเจน ไม่แน่ใจ หรือกริยาท่าทางที่ลังเล ส่งผลให้ความน่าเชื่อถือในตัวคุณลดลงอย่างน่าใจหาย ดังนั้นควรให้คำแนะนำที่เชื่อถือได้ และพิสูจน์ให้เห็นจริงต่อผู้อื่น

9. "ไม่อยากจะพูดแบบนี้หรอกนะ แต่..." หรือ "เขาก็เป็นคนดีนะ แต่..."

พยายามเลิกแฝงความรู้สึกดี ๆ ลงในคำวิพากษ์วิจารณ์คนอื่น หรือเลิกพูดสิ่งที่หาคุณค่าสาระอะไรไม่ได้ไปเลยดีที่สุด

10. "จริงดิ"

ฟังแล้วเหมือนเป็นคำพูดตัดพ้อของพวกขี้แพ้ พยายามเปลี่ยนคำพูดติดปากให้เป็นคำแนะนำดี ๆ ที่น่่าสนใจแทนจะดีกว่า

 
Pixabay

 

เมื่ออยากได้ความมีเสน่ห์น่าดึงดูดในการสนทนา และได้รับความน่าเชื่อถือจากผู้อื่น ควรจริงจัง ใส่ใจกับการใช้คำจำพวก "เอ่อ. อ่า. แบบว่า, รู้ไหม" ในการสื่อสารให้มากขึ้น ปรับคำพูดแง่ร้ายเชิงลบ หรือคำพูดที่ทำให้ผู้ฟังรู้สึกไม่พอใจ ด้วยคำพูดแง่บวกเชิงสร้างสรรค์และคำชมเชยที่จริงใจ มั่นคงน่าเชื่อถือ เพราะทุกวันคือโอกาสที่ควรค่ากับการสร้างแรงบันบาลใจที่ยิ่งใหญ่ ดังนั้นจริงใจกับคนอื่นเข้าไว้นะคะ

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Glimmergirl
  • 5 Followers
  • Follow