Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ราชบัณฑิตยฯ ขอเชิญดาวน์โหลด Mobile Application พจนานุกรม และรวมคำมักเขียน-อ่านผิด

Posted By Plook Panya | 22 ก.ย. 58
8,662 Views

  Favorite

 

ราชบัณฑิตยฯ โมไบล์ แอปพลิเคชันพจนานุกรม


ภาพ : เฟซบุ๊ก "ราชบัณฑิตยสภา"
 

เมื่อวันที่ (21 ก.ย.58 ) สำนักงานราชบัณฑิตยสภา ร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) เปิดตั ว “ราชบัณฑิตยฯ โมไบล์”  แอปพลิเคชันพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 และ “แอปพลิเคชันอ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร” ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่ช่วยให้คนไทยใช้ภาษาไทยได้ง่ายแค่ปลายนิ้ว
 

น.ส.กนกวลี ชูชัยยะ เลขาธิการราชบัณฑิตยสภา เปิดเผยว่า สำนักงานราชบัณฑิตยสภาเห็นว่าปัจจุบันมีความจำเป็นที่จะต้องให้คนรุ่นใหม่ใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องซึ่งสำนักงานฯ ได้รับผิดชอบในส่วนของพจนานุกรมที่มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีออกมากำหนดให้หน่วยงานราชการต้องใช้ภาษาไทยให้ถูกต้องตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554
 

สำนักงานราชบัณฑิตยสภาจึงร่วมมือกับเนคเทค นำพจนานุกรมฉบับดังกล่าว รวมถึงหนังสืออ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ที่มีผู้นำไปใช้ประโยชน์ในการอ้างอิงเป็นจำนวนมากมาให้บริการบนโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟนเพื่อให้เข้าถึงผู้ใช้งานได้สะดวกมากขึ้นและไม่ไดัจำกัดการใช้แค่กลุ่มนักเรียนนักศึกษาแต่เป็นทุกคนที่ใช้ภาษาไทย ซึ่งคาดว่าทั้งสองแอปพลิเคชั่นจะช่วยให้คนรุ่นใหม่ใช้ภาษาไทยได้ถูกต้องและเหมาะสมมากขึ้นทั้งนี้อนาคตจะมีการพัฒนาแอปพลิเคชั่นเกี่ยวกับคำทับศัพท์ออกมาอีกด้วย
 

ด้าน ดร.ศรัณย์ สัมฤทธิ์เดชขจร ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) กล่าวถึงการพัฒนา “ราชบัณฑิตยฯ โมไบล์” ว่า เป็นการนำองค์ความรู้ด้านการวิจัยภาษาที่เนคเทคทำมากว่า 20 ปีโดยใช้ชื่อว่าเล็กซิตรอนมาต่อยอดเป็นสองแอปพลิเคชั่นใหม่
 

โดยแอปพลิเคชันพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ที่ได้ประมวลคำที่มีใช้ในภาษาไทยกว่า 43,000 คำมีการแสดงผลการใช้งานมี 2 รูปแบบ คือ รูปแบบหมวดอักษร และ รูปแบบการค้นคำ ผู้ใช้สามารถค้นคำได้ทั้งจากตัวอักษรตั้งต้นและจากส่วนหนึ่งของคำ ทั้งยังค้นคำจากประวัติการใช้งานของผู้ใช้เองได้ด้วย



ภาพ : เฟซบุ๊ก "ราชบัณฑิตยสภา"
 

ส่วนแอปพลิเคชันอ่านอย่างไรและเขียนอย่างไร ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ผู้ใช้สามารถเลือกใช้งานได้ 2 หมวด คือ “หมวดอ่านอย่างไร” เพื่อทราบคำอ่านที่ถูกต้องและ “หมวดเขียนอย่างไร” โดยพิมพ์คำที่ต้องการทราบคำอ่านหรือการสะกดคำลงไป แม้ว่าผู้ใช้สะกดคำผิด แอปพลิเคชันนี้ก็แนะนำการสะกดคำที่ถูกต้องให้ นอกจากนี้ ผู้ใช้ยังค้นคำจากประวัติการใช้งานของผู้ใช้เองได้เช่นเดียวกัน
 

ที่มาภาพ : เฟซบุ๊ก "ราชบัณฑิตยสภา" 

 

 

แอปพลิเคชันทั้ง 2 โปรแกรมนี้ ผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดได้แล้ววันนี้ ทั้งระบบปฏิบัติการไอโอเอส เวอร์ชั่น7 ไอโอเอส เวอร์ชั่น8แอนดรอยด์ และวินโดว์ส โม บาย โดยพิมพ์คำว่า The Royal Society หรือ ราชบัณฑิตยสถาน ดาวน์โหลดฟรีทั้งจากแอพสโตร์ กูเกิลเพลย์สโตร์ และวินโดวส์ โฟน.

 

ที่มาภาพ : เฟซบุ๊ก "ราชบัณฑิตยสภา" 

 

 

หมายเหตุ 

แอปพลิเคชันพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 บนสมาร์ตโฟนพร้อมให้ดาวน์โหลดในวันจันทร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2558 ทั้งระบบ iOS, Android และ Windows

แอปพลิเคชันนี้จะเป็นแอปพลิเคชันแบบออฟไลน์ คือ ไม่จำเป็นต้องต่ออินเทอร์เน็ตก็สามารถค้นหาคำศัพท์และความหมายได้ โดยใช้พื้นที่จัดเก็บในโทรศัพท์ประมาณ 130 เมกะไบต์ 

 

 

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Panya
  • 7 Followers
  • Follow