Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ผักบุ้ง สมุนไพรใกล้ตัวบำรุงสายตา

Posted By Plook Panya | 23 ก.ย. 58
6,942 Views

  Favorite

ผักบุ้งเป็นผักที่มีคนนิยมนำมารับประทานเป็นอันดับต้น ๆ จึงถือได้ว่าเป็นผักยอดนิยม เนื่องจากมีความกรอบ รสชาติที่อร่อย รับประทานง่าย โดยนิยมนำมาจิ้มรับประทานร่วมกับน้ำพริก หรือจะนำมารับประทานเป็นเครื่องเคียงในอาหารต่าง ๆ เช่น แกงเผ็ด ส้มตำ หรือว่าจะเป็นผัดไทย แต่ที่เรามักจะนำไปประกอบอาหาร ก็คือเมนูผักผักบุ้งไฟแดงที่แสนอร่อยของหลาย ๆ คน หรือแกงคั่วใส่ผักบุ้ง แกงส้มผักบุ้งก็ดีไม่แพ้กัน



ชื่อโดยทั่วไป : ผักบุ้ง  Woolly Morning-Glory ( Morning-Glory เป็นดอกไม้ของต่างประเทศ รูปร่างเหมือนดอกผักบุ้ง)
ชื่ออื่นๆของผักบุ้ง : ผักทอดยอด (ตามที่อ.ภาษาไทยสอนแต่ทำไมไม่ค่อยมีคนใช้คำนี้เช่น แม่ค้าเอาผักทอดยอดกำนึง ) ผักบุ้งแดง  ผักบุ้งไทย  ผักบุ้งนา
ชื่อทางวิทยาศาสตร์ : Ipomoea aquatica Forsk., I.reptans (Linn.) Poir
วงศ์ของพืช : CONVOLVULACEAE

ลักษณะทั่วไป 
ผักบุ้งเป็นพืชน้ำ และเป็นพืชล้มลุก ลำต้นเลือยทอดไปตามน้ำหรือดิน ทีชื้นแฉะ
ต้น : มีเนื้ออ่อนลำต้นจะกลวงและมีปล้อง เป็นสีเขียว หรืออาจเป็นสีน้ำตาลแดง 
ใบ : มีสีเขียวเข้ม เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมแหลมคล้ายหอก เป็นไม้ใบเดี่ยวออกสลับทิศทางกันตามข้อต้น ใบยาว 4-8 เซนติเมตร 
ดอก : ลักษณะ ของดอกเป็นรูประฆัง มีสีขาว หรือม่วงอ่อน ด้านโคนดอกสีจะเข้มกว่าด้านนอก ดอกบานเต็มที่ประมาณ 3-5 เซนติเมตร ออกดอกตลอดปีในช่วงฤดูร้อนจะออกมากหน่อย 

 

 

ไม้เถาล้มลุก ไม้น้ำหรือขึ้นตามที่ชื้นแฉะ เกลี้ยง มีรากตามข้อ ใบรูปไข่ รูปขอบขนาน หรือรูปใบหอก ยาว 3.5-17 ซม. ปลายใบแหลมหรือแหลมยาว โคนใบตัด รูปหัวใจ หรือเป็นเงี่ยงลูกศร ก้านใบยาว 3-14 ซม. ช่อดอกมี 1-5 ดอก ก้านช่อยาว 1.5-9 ซม. โคนช่อมีขนสั้นนุ่ม ใบประดับเป็นแผ่นเกล็ดขนาดประมาณ 1-2 มม. ก้านดอกยาว 1.5-5 ซม. กลีบเลี้ยงเกลี้ยง กลีบคู่นอกรูปไข่แกมรูปขอบขนาน ยาว 7-8 มม. ขอบมักเป็นสีขาว ปลายมน เป็นติ่งแหลม 3 กลีบในรูปไข่ ยาวประมาณ 8 มม. กลีบดอกรูปแตร ยาว 3.5-5 ซม. เกลี้ยง สีขาว ชมพู หรืออมม่วง กลางกลีบมักมีสีเข้ม เกสรเพศผู้และเพศเมียไม่ยื่นพ้นปากหลอดกลีบดอก รังไข่รูปกรวย เกลี้ยง แคปซูลรูปไข่เกือบกลม เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1 ซม. แห้งแล้วแตกยาก เมล็ดมีขนสั้นหนานุ่ม ผักบุ้งมีเขตการกระจายพันธุ์กว้างในเขตร้อนทั้งในอเมริกาใต้ แอฟริกา เอเชีย และออสเตรเลีย ขึ้นตามที่โล่ง ทุ่งนา หนองน้ำ จนถึงระดับความสูงประมาณ 400 เมตร

 

การขยายพันธุ์
เพาะเมล็ด ลำต้นแก่มีรากติด

ประโยชน์ของผักบุ้ง
รสและประโยชน์ต่อสุขภาพ : รสจืดเย็นช่วยขับพิษถอนพิษเบื่อเมาผักบุ้งขาว 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 22 กิโลแคลอรี่ประกอบด้วยเส้นใย 101 กรัม แคลเซียม 3 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม เหล็ก 3 มิลลิกรัม วิตามินเอ 11447IU , วิตามินบีหนึ่ง 0.06 มิลลิกรัม , วิตามินบีสอง 0.17 มิลลิกรัม , ไนอาซิน 1.3 มิลลิกรัม และวิตามินซี 14 มิลลิกรัม

ประโยชน์ทางอาหาร : ผักบุ้งเป็นพืชออกยอดตลอดปี และมีมากในช่วงฤดูฝน การปรุงอาหารคนไทยทุกภาครับประทานผักบุ้งมีการปลูก และการจำหน่ายในท้องตลาด อย่างแพร่หลายในทุกฤดูกาล ผักบุ้งเป็นผักที่ปรุงเป็นอาหารได้หลายชนิดนับตั้งแต่รับประทานยอดอ่อนเป็น ผักสดหรืออาจนึ่ง ลวก และราดกะทิแกล้มกับน้ำพริกรับประทานเป็นผักสดกับส้มตำลบก้อยยำ และนำยอดอ่อน และใบอ่อนไปปรุงเป็นอาหาร เช่น ผัดจืดใส่หมูปลาไก่ หรือผัดกับน้ำพริก และหมู นอกจากนี้ยังนำไปทำแกง เช่น แกงส้มแกงคั่ว นอกจากนี้ผักบุ้งสามารถนำไปดองและนำไปปรุงเป็นข้าวผัดคลุกน้ำพริกผักบุ้งดอง หรือนำไปเป็นผักแกล้มน้ำพริกเป็นต้น

 

สรรพคุณของผักบุ้ง
สรรพคุณทางยา : ผักบุ้งรสเย็นสรรพคุณถอนพิษเบื่อเมา รากผักบุ้งรสจืดเฝื่อนสรรพคุณถอนพิษผิดสำแดง ผักบุ้งขาวหรือผักบุ้งจีนช่วยให้เจริญอาหาร เป็นยาถอนพิษ บำรุงธาตุ สรรพคุณของผักบุ้งโดยเฉพาะผักบุ้งแดงคนที่ชอบเป็นตาต้อ ตาแดง หรือคันนัยน์ตาบ่อย ๆ ตลอดจนมีอาการตาฟ่าฟาง จำพวกคนสายตาสั้นจะทำให้สายตาที่แจ่มใส บำรุงสายตา ทำให้ไม่เป็นโรคกระเพาะ ฯ
 

ดอก ใช้เป็นยาแก้กลากเกลื้อน ต้นสด ใช้ดับพิษ รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก ลดอาการแพ้ อักเสบ ปวด บวม บำรุงสายตา บำรุงเลือด บำรุงกระดูกและฟัน ช่วยรักษาโรคเบาหวาน เป็นยาดับร้อน แก้ปัสสาวะเหลือง
ทั้งต้น ใช้แก้ปวดหัว อ่อนเพลีย แก้กลาก เกลื้อน แก้เบาหวาน แก้ตาอักเสบ บำรุงสายตา แก้เหงือกบวม แก้ฟกช้ำ ถอนพิษ

ใบ ใช้ถอนพิษแมลงสัตว์กัดต่อย นำใบสดตำ คั้นเอาน้ำมาดื่ม จะทำให้อาเจียน ถอนพิษยาเบื่อเมา แก้พิษของฝิ่นและสารหนู มีวิตามินเอสูง เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ

ราก ใช้แก้ไอเรื้อรัง และแก้โรคหืด ถอนพิษผิดสำแดง ใช้แก้สตรีมีตกขาวมาก เบาขัด เหงื่อออกมาก ลดอาการบวม 
 

ในผักบุ้งขาว 100 กรัม ให้พลังงานต่อร่างกาย 22 กิโลแคลอรี่ และยังประกอบด้วยเส้นใย 101 กรัม , แคลเซียม 3 มิลลิกรัม , ฟอสฟอรัส 22 มิลลิกรัม , เหล็ก 3 มิลลิกรัม , วิตามินเอ 11,447 IU , วิตามินบีหนึ่ง 0.06 มิลลิกรัม , วิตามินบีสอง 0.17 มิลลิกรัม , ไนอาซิน 1.3 มิลลิกรัม , วิตามินซี 14 มิลลิกรัม และมีสารต้านฮีสตามีน
ผักบุ้งไทยจะมีสรรพคุณทางยามากกว่าผักบุ้งชนิดอื่น ผักบุ้งจีนจะมีแคลเซี่ยม และเบต้า – แคโรทีน มากกว่าผักบุ้งชนิดอื่น

 

ภาพ : Shutterstock
ภาพ : Shutterstock


ประโยชน์ของผักบุ้ง 45 ข้อ

1. ประโยชน์ของผักบุ้งข้อแรกคือมีส่วนช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส มีน้ำมีนวล

2. มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการชะลอวัยความแก่ชรา และชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย

3. มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดหรือลดอัตราการเกิดของโรคมะเร็งได้

4. ช่วยบำรุงสายตา รักษาอาการตาต้อ ตาฝ้าฟาง ตาแดง สายตาสั้น อาการคันนัยน์ตาบ่อย ๆ

5. ช่วยบำรุงธาตุ

6. สรรพคุณของผักบุ้งต้นสดของผักบุ้งใช้เป็นยาดับร้อน แก้อาการร้อนใน

7. ต้นสดของผักบุ้งช่วยในการบำรุงโลหิต

8. ช่วยเสริมสร้างศักยภาพในด้านความจำ และการเรียนรู้ให้ดีขึ้น

9. ยอดผักบุ้งช่วยแก้โรคประสาท

10. ช่วยแก้อาการเหงื่อออกมาก (รากผังบุ้ง)

11. มีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน

12. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ อ่อนเพลีย

13. ต้นสดของผักบุ้งไทยต้นขาวช่วยบำรุงกระดูก และฟัน

14. ช่วยแก้อาการเหงือกบวม

15. ช่วยรักษาแผลร้อนในในปาก ด้วยการนำผักบุ้งสดมาผสมเกลืออมไว้ในปากประมาณ 2 นาที วันละ 2 ครั้ง

16. ฟันเป็นรูปวด ให้ใช้รากสด 120 กรัม ผสมกับน้ำส้มสายชู คั้นเอาน้ำมาบ้วนปาก

17. ใช้แก้อาการไอเรื้อรัง (รากของผังบุ้ง)

18. แก้เลือดกำเดาไหลออกมากผิดปกติ ด้วยการใช้ต้นสดมาตำผสมน้ำตาลทรายแล้วนำมาชงน้ำร้อนดื่ม

19. ใช้แก้โรคหืด (รากของผังบุ้ง)

20. ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระเพาะอาหาร

21. ช่วยป้องกันการเกิดโรคแผลในกระเพาะอาหารจากผลของยาแอสไพริน

22. ช่วยป้องกันโรคท้องผูก

23. ยอดผักบุ้งมีส่วนช่วยแก้อาการเสื่อมสมรรถภาพ

24. ช่วยทำความสะอาดของเสียที่ตกค้างในลำไส้

25. ผักบุ้งจีนมีฤทธิ์ช่วยในการขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะเหลือง

26. ช่วยแก้อาการปัสสาวะเป็นเลือด ถ่ายออกมาเป็นเลือด ด้วยการใช้ลำต้นคั้นนำน้ำมาผสมกับน้ำผึ้งดื่ม

27. ช่วยแก้หนองใน ด้วยการใช้ลำต้นคั้นนำน้ำมาผสมกับน้ำผึ้งดื่ม

28. ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร ด้วยการใช้ต้นสด 1 กิโล /น้ำ 1 ลิตร นำมาต้มให้เละเอากากทิ้งแล้วใส่นำตาลทรายขาว 120 กรัม แล้วเคี่ยวจนข้นหนืด ทานครั้งละ 90 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น

29. ช่วยแก้อาการตกขาวมากของสตรี (รากของผังบุ้ง)

30. ผักบุ้งรสเย็นมีสรรพคุณช่วยถอนพิษเบื่อเมา

31. รากผักบุ้งรสจืดเฝื่อนมีสรรพคุณช่วยถอนพิษสำแดง

32. ผักบุ้งขาวหรือผักบุ้งจีนช่วยให้เจริญอาหาร

33. ช่วยต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย

34. ช่วยแก้อาการฟกช้ำ (ผังบุ้งไทยต้นขาว)

35. ดอกของผักบุ้งไทยต้นขาวใช้เป็นยาแก้กลากเกลื้อน

36. ใช้ถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย (ผังบุ้งไทยต้นขาว)

37. แก้แผลมีหนองช้ำ ด้วยการใช้ต้นสดต้มน้ำให้เดือดนาน ๆ ทิ้งไว้พออุ่นแล้วเอาน้ำล้างแผลวันละครั้ง

38. ช่วยแก้พิษตะขาบกัด ด้วยการใช้ต้นสดเติมเกลือนำมาตำแล้วพอกบริเวณที่ถูกกัด

39. ต้นสดของผักบุ้งไทยต้นขาวใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก

40. ต้นสดของผักบุ้งไทยต้นขาวช่วยลดการอักเสบ อาการปวดบวม

41. ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย

42. ใช้บำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติด หรือผู้ที่ได้รับสารพิษต่าง ๆ เช่น เกษตรกร

43. นำมาใช้ในการประกอบอาหารอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะสุก ผัก แกง ดอง ได้หมด เช่น ผัดผักบุ้งไฟแดง ส้มตำ แกงส้ม แกงเทโพ ยําผักบุ้งกรอบ 

44. ผักบุ้งนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ได้เหมือนกัน เช่น หมู เป็ด ไก่ ปลา เป็นต้น (มีหลายคนเข้าใจผิดว่ากระต่ายชอบกินผักบุ้ง แต่ความจริงแล้วไม่ใช่เลย เพราะอาจจะทำให้ท้องเสียได้ เพราะผักบุ้งมียาง ยกเว้นกระต่ายโตถ้าจะให้กินไม่ควรให้บ่อยและให้ทีละนิด)

45. ผักบุ้ง ประโยชน์ข้อสุดท้ายนิยมนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ผักบุ้งแคปซูล ผงผักบุ้ง เป็นต้น

ขอบคุณภาพปก : Shutterstock

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Panya
  • 7 Followers
  • Follow