Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ภาพยนตร์เงียบ Sci-Fi เรื่องแรกของโลก A Trip to the Moon (1902)

Posted By ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บัญญพนต์ พูลสวัสดิ์ | 03 พ.ย. 61
5,752 Views

  Favorite

ในยุคที่จินตนาการเป็นแค่เรื่องเพ้อฝัน นักมายากลชาวฝรั่งเศส และนักดูหนัง Georges Méliès เจ้าของผลงาน และนักแสดง ภาพยนตร์สยองขวัญเรื่องแรกของโลกอย่าง “Le Manoir du Diable” หรือ “The Haunted Castle” ปี 1896 (อ่านได้ในบทความนี้ :เปิดกรุตำนานภาพยนตร์สยองขวัญในยุคหนังเงียบ Silent Film)

Georges Méliès

Georges Méliès, Lovedesigner.net

A Trip to the Moon (1902) ผลงานของนักสร้างภาพยนตร์ชาวฝรั่งเศส Georges Méliès กับการขึ้นหิ้งภาพยนตร์เงียบ (Silent film) ระดับตำนานที่ถูกยกย่องให้เป็น นักมายากลแห่งวงการภาพยนตร์ (หนังเงียบ Silent Film) ในยุคนั้นนักวิจารณ์หนังทั่วโลกต่างยกให้ หนังเงียบ A Trip to the Moon เรื่องนี้เป็นตำนานที่ควรค่าแก่การรับชมแบบ “ต้องดูให้ได้ก่อนตาย” (To Die For)

A Trip to the Moon

A Trip to the Moon

ความวิเศษของภาพยนตร์หนังเงียบ (Silent Film) ความยาว 14 นาทีเรื่องนี้ก็คือ ความเพ้อฟันที่ Georges Méliès ถ่ายทอดออกมาปรากฏในแผ่นฟิลม์ทั้ง บรรยากาศ การแสดง เนื้อหาของเรื่อง ชุดแต่งกาย ผ่านการอ้างอิงนิยายของ Jules Verne เรื่อง From the Earth to the Moon (1865), Around the Moon (1870) และนิยายของ H. G. Welles เรื่อง First Men in the Moon (1901) ที่ว่าด้วยเรื่องของการเดินทางไปยังอวกาศด้วยกระสวยอวกาศ โดยจุดมุ่งหมายคือการส่งเหล่านักวิทยาศาสตร์ผ่านกระสวยอวกาศนี้ไปยังดวงจันทร์

A Trip to The Moon

A Trip to The Moon

 

A Trip to the Moon ถูกถ่ายทอดตัวหนังทั้งเรื่องปรากฏ 14 นาที เกี่ยวกับคณะนักวิทยาศาสตร์ (กับการหยอดมุขตลกจิกกัดสังคมเหล่านักวิจัย นักวิชาการสายวิทยาศาสตร์หัวโบราณในสมัยนั้น) ว่าการเดินทางไปยังดวงจันทร์นั้นเป็นไปได้ และเชื่อว่ามีมนุษย์อีกประเภทอาศัยบนดวงจันทร์ การทบสอบกระสวยเป็นไปอย่างราบรื่น และสุดท้ายกระสวยและเหล่านักวิทยาศาสตร์ก็ได้ถูกยิงไปยังดวงจันทร์ (ฉากเทคนิคซ้อนภาพกระสวยทิ่มตาดวงจันทร์หน้าคนกลายเป็นสัญลักษณ์ยอดฮิตที่หลายคนคุ้นตาไปโดนปริยาย) เมื่ออยู่บนดวงจันทร์เหล่านักวิทยาศาสตร์ก็ได้พบกับผู้อาศัยบนดวงจันทร์ เกิดการต่อสู้ผจญภัย และสุดท้ายก็กลับมาโลกพร้อมสิ่งมีชีวิตบนดวงจันทร์ที่ติดสอยห้อยตาม แล้วก็จบแบบ Happy Ending

A Trip to The Moon

 

เห็นพลอตเรื่องแล้วหลายคนคงจะเกิดอาการขำตลก และคิดว่า “แหม... ทำไปได้” แต่หากลองทบทวนให้ดี ภาพยนตร์ A Trip to The Moon นั้นถูกถ่ายทำในปี 1902 ซึ่งในตอนนั้น คำว่า “อนาคต” (Future) นั้นเป็นเพียงนามธรรมที่หลายต่อหลายคนก็ยังนึกภาพไม่ออกว่ามันจะเป็นยังไง ดังนั้นภาพของอนาคตที่ปรากฏในหัว Georges Méliès ที่มีต่อเนื้อเรื่องการผจญภัยบนอวกาศก็ถือว่าเป็นอะไรที่ใหม่ และสุดทางที่ตัวเขาได้สร้างขึ้นแก่ผู้รับชม อย่าลืมว่า การเดินทางไปยังดวงจันทร์ที่เกิดขึ้นจริงของยาว Apollo 11 และ Neil Armstrong ไปเหยียบดวงจันทร์นั้นเกิดขึ้นในวันที่ 20 กรกฏาคม ปี 1969 ซึ่งก็เป็นข้อเท็จจริงที่ไล่หลังภาพยนตร์ผจญภัยบนดวงจันทร์ A Trip to the Moon นี้ 67 ปีกว่าๆ ซึ่งนั่นก็ถือว่าวิศัยทัศน์ของ Georges Méliès ก็สมควรได้รับฉายา พ่อมดและนักมายากลแห่งโลกภาพยนตร์ ที่หลายคนสถาปนาให้แบบ 100% และหากสังเกตุดีๆ จะเห็นว่าความล้ำในการออกแบบเครื่องแต่งกายในสมัยนั้นช่างดูเข้าท่า ประกอบกับการถ่ายทำที่เล่นเทคนิคง่ายๆเข้าว่าฉากทุกฉากใช้การซ้อนตำแหน่งให้ดูเหมือนมีมิติ แล้วดึงอารมณ์คนดูให้คล้อยตามว่าสถานการณ์ที่ปรากฏอยู่นั้นเป็นไปได้จริง

A Trip to The Moon

 

สิ่งหนึ่งที่ต้องชม Georges Méliès มากที่สุดคือ เทคนิคแสนง่ายและชาญฉลาดนั้น เค้าไม่ได้สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อโอ้อวดถึงความมหัศจรรย์ของหนังให้ดูตื่นเต้นแปลกตาแต่อย่างไร แก่นแท้ที่ Georges Méliès ถ่ายทอดกับการเป็นการเล่าเรื่องแบบตรงไปตรงมาเพียงแค่ใช้เทคนิคเหล่านั้นมานำเสนอให้การเล่าเรื่องมีอรรถรสแก่ผู้ชม ซึ่งถ้ามองกลับมายังยุคนี้ Special Effect ทั้งหลายถูกประเดประดังเพื่อสร้างความเท่ความหวือหวาแต่ไร้ซึ่งแก่นของการนำเสนอหลักคือการเล่าเรื่องก็ไม่แปลกที่เด็กสมัยนี้คงเสพได้แค่ CG เท่านั้นจนไม่ได้เข้าใจประเด็นของหนังที่ทำเสนอออกมาเลยแม้แต่น้อย

ชมภาพยนตร์กัน:

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ บัญญพนต์ พูลสวัสดิ์
  • 0 Followers
  • Follow