อรุณธรรม กับ พระไพศาล วิสาโล ตอน เรียนสัจจะจากธรรมชาติ

โพสต์เมื่อ : ๑๕ กันยายน

อรุณธรรม กับ พระอาจารย์ ไพศาล วิสาโล ตอน "เรียนสัจจะจากธรรมชาติ" 


คำว่า "ธรรมะ" เป็นคำที่ชาวพุทธคุ้นเคยกันดี ซึ่งแค่ศึกษา ไม่พอ ต้องปฎิบัติด้วย 

ธรรมะ มีถึง 84000 พระธรรมขันธ์ แต่หากสรุปย่อ ๆ เหลือแค่สองคำ คือ 
1) คำสอนเกี่ยวกับความดี หรือ จริยธรรม 
2) คำสอนเกี่ยวกับความจริง หรือ สัจธรรม

 

จริยธรรม

คือสิ่งที่ควรทำ และยิ่งหากปรารถนาความสุขความเจริญ แคล้วคาดจากอันตรายและอุปสรรคมากมาย ยิ่งต้องทำความดี

 

ความดีที่ควรทำ เช่น ให้ทาน เพื่อแบ่งปัน รักษาศีล ทางกายวาจาใจให้งดงามไม่เบียดเบียน  โดยเฉพาะศีลข้อ 5 จะลดมากมาย เช่น โรคภัย อันตราย อุบัติเหตุ อุปสรรคต่าง ๆ เพราะการขาดสติ

 

ทำดีอย่างเดียวไม่พอ

แต่การแต่ความดีไม่เพียงพอ ต้องเปิดใจให้เห็นสัจธรรม ความจริงแห่งชีวิต

จึงจะช่วยให้จิตใจพ้นความทุกข์ได้อย่างถาวร

 

เพราะแม้จะทำความดีมากมาย แต่กำแพงแห่งความดี ไม่สามารถสกัดกั้นความทุกข์ ให้หลุดพ้นจากจิตใจไปได้

 

แม้ทำดีแค่ไหน แต่ก็หนีไม่พ้นความผันผวนปรวนแปรของชีวิต เช่น ความแก่ ความเสื่อม ความป่วย ความพลัดพราก ฯลฯ ซึ่งเป็นความจริงแห่งชีวิตที่เกิดกับทุกคนแม้ แต่พระอรหันต์ หรือ พระพุทธเจ้า

 

หากได้เห็นความจริงแห่งชีวิตนี้ ก็จะทำให้ใจไม่ทุกข์ อาจจะทุกข์กาย แต่ใจไม่ทุกข์ เพราะรู้ว่าเป็นธรรมดาของชีวิต แม้จะต้องใกล้เผชิญความตาย ก็จะไม่ตีโพยตีพาย ว่า ทำไมต้องเป็นเรา เพราะเห็นสัจธรรมแห่งชีวิต

 

สัจธรรม นั่นคือ ทำความดียังไม่พอ ต้องเข้าใจสัจธรรม

 

วิธีการเข้าใจสัจธรรมของชีวิต

1)    สังเกตจากสิ่งรอบตัว เช่นชีวิตของผู้คน เช่น คนเคยรวยแต่กลับล้มละลาย คนเคยเป็นนักกีฬากลับป่วย ฯลฯ

ช่วยทำให้เกิดความเข้าใจในสัจธรรมได้ ไม่จำเป็นต้องจากการอ่านหนังสือธรรมะ หรือ พระไตรปิฏกเท่านั้น เพราะสิ่งรอบตัวเรา คือสัจธรรมที่เปิดเผยให้เห็นอยู่ตลอดเวลา อย่างเป็นธรรมชาติ

ธรรมชาติสะท้อนสัจธรรมอย่างซื่อตรง เป็นไปตามกฏของธรรมชาติ นั่นคือ ธรรมชาติและสัจธรรมเป็นสิ่งเดียวกัน

 

ธรรมชาติก็สะท้อนให้เห็นถึงการเกิดขึ้น ตั้งอยู่และดับไป เช่น พระอาทิตย์ขึ้น โลกก็สว่าง แต่ท้ายสุด พระอาทิตย์ก็ตก
 

เช่นกันความเป็นไปของชีวิตเราก็เช่นกัน มีขึ้นก็มีลง มีเกิดก็มีตาย เป็นมรณสติแบบหนึ่งที่ช่วยให้ไม่ประมาทกับชีวิตและความตาย ตอนนี้ เราก็ไม่รู้ว่า ชีวิตเราเหมือนพระอาทิตย์ยามขึ้น หรือยามอัศดง หรือยามเย็น หรือยามตก

 

พระอรหันต์หลายท่านบรรลุธรรม จากการพิจารณาธรรมชาติ เช่น ท่านหนึ่งพิจารณาดอกบัว ที่สวยและค่อย ๆ เหี่ยวเฉา ก่อนจะน้อมเข้าตนเอง ว่าตนเองก็เช่นกัน ทำให้สติ สมาธิของท่านนิ่งตั้งมั่น จนปัญญาบังเกิด และเข้าถึงสัจธรรม ของ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

 

แม้แต่ใบไม้ร่วง ก็กำลังบอกให้รู้ว่า ชีวิตเราก็เช่นกัน สักวันก็ต้องล่วงลับไป ดังใบไม้ ที่ปลิดจากขั้ว

 

เราสามารถเห็นสัจธรรมได้หลายแง่หลายมุม เช่น ความดีที่ควรปฎิบัติ จากตัวอย่างของ ต้นไม้ที่เป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ 

ต้นไม้ ก็เป็นทั้งผู้รับดูดน้ำและปุ๋ยจากดิน แม้จะเป็นผู้รับ แต่ก็เป็นผู้ให้ ในการคายน้ำ คืนกลับเป็นฝนชุ่มฉ่ำและยังสละกิ่งใบ ให้เป็นปุ๋ยคืนกลับตามธรรมชาติ

 

หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เคยกล่าวไว้ว่า ธรรมะ มีอยู่ทุกหย่อมหญ้า สำหรับผู้มีปัญญา เมื่อมีพระราชาคณะ สงสัยว่า หลวงปู่มั่นที่เรียนทางบาลีน้อยแต่กลับรู้ธรรมลึกซึ้ง และสอนธรรมได้อย่างไม่ผิดเพี้ยน

 

ธรรมะต่อเนื่องเป็นลูกโซ่ เช่นกระแสน้ำ ที่สะท้อนสัจธรรมความเป็นไปของธรรมชาติ ที่มีความไหลเนื่อง ดังนักปราชญ์ชาวกรีก ว่า ไม่มีใครเคยเหยียบลงไปในน้ำ สายเดิมได้เป็นครั้งที่ 2 “ เพราะ สายน้ำไหลเปลี่ยนตลอดเวลา

 

เช่นกัน จิตของเราก็เป็นดั่งสายน้ำ ที่เกิดดับแต่ละขณะ เป็นคนละดวง อย่างรวดเร็ว จนดูเหมือนเป็นกระแสสาย

 

แม้แต่โลกของเราก็มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่แท้จริงแล้วมีการเคลื่อนไหวเกิดดับตลอดเวลา เพียงแต่สังเกตไม่เห็น ดังเข็มชั่วโมงของนาฬิกา ที่ขยับที่ละนิด ๆ แต่กลับมองเหมือนไม่ขยับ

 

หน้าตาเราก็เช่นกัน มีการเปลี่ยนแปลง เห็นได้จากการถ่ายภาพเปรียบเทียบในอดีตและปัจจุบัน นั่นคือ ธรรมชาติสอนให้เห็นถึงความไม่คงที่ อนิจจังไม่เห็นตัวตนที่เที่ยงแท้ หรือ อนัตตานั่นเอง

 

2)  ธรรมชาติที่สำคัญที่สุดที่ควรรู้ คือ การพิจารณาการเกิดดับของกายและใจของเรา นั่นคือการเจริญวิปัสสนา มองเห็นการเกิดดับของกายใจที่มีขึ้นตลอดเวลา

 

เช่น การเห็นทุกข์ของกายที่ปรากฎ จากการนั่ง จะพบว่า ต้องมีการขยับตัวเมื่อนั่งได้สักพัก หรือการพลิกตัวในขณะนอน เพราะเมื่อยแต่ไม่รู้ตัว จะรู้ว่า ทุกข์ แสดงออกมาทุกอิริยาบถ เพียงแต่เราไม่เคยเห็น

 

เมื่อเห็นทุกขัง ที่เกิดกับกายเรา ก็จะเห็นว่ามีเวทนาแทรกขึ้น และสักพักขยับเปลี่ยนท่าก็หายไป ก็เห็นถึง อนิจจัง ความไม่เที่ยง ไม่ถาวร

 

อยากจะนอนแต่นอนไม่หลับ ฟุ้งซ่าน อยากจะให้หลับก็ทำไม่ได้ สิ่งนี้ก็แสดงถึงสัจธรรมของ อนัตตาไม่ใช่ตัวเรา บังคับไม่ได้

 

หากเราหมั่นเห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ของกายและใจเรา สม่ำเสมอ ก็จะสามารถเข้าถึงสัจจะ แห่งธรรมชาติได้ไม่ยาก

 

สาธุค่ะ 

 

©ทรูปลูกปัญญา