อภินิหารจากการตื่นรู้ - พระอาจารย์อมโรภิกขุ

โพสต์เมื่อ : ๑๒ มิถุนายน

ธรรมบรรยาย โดย พระอาจารย์อมโร ภิกขุ เจ้าอาวาสวัดอมราวดี ประเทศอังกฤษ Amaravati Buddhist Monastery
 
เนื้อหาสรุป :

พระพุทธเจ้าเทศน์ว่า อภินิหารมี 2 รูปแบบ คือ

1)   อภินิหารทั่วไป เช่น เหาะเหินเดินอากาศ ดูนรกสวรรค์ อ่านใจผู้คน

2)   อภินิหารจากการสอน การเข้าใจในคำสอนของพระพุทธองค์

 

ครั้งหนึ่งพระอานนท์ได้เล่าให้เหล่าคณะสงฆ์ฟัง ถึงอภินิหารของพระโพธิสัตว์เจ้าชายสิทธัตถะยามประสูติ ที่มีแหล่าเทวดามาโอบอุ้ม พระมารดาทรงยืนและไม่ทรงเจ็บปวดใด ๆ เมื่อประสูติพระโพธิสัตว์ทรงเดินได้ 7 ก้าวและมีดอกบัวผุดมารองรับฝ่าพระบาท และตรัสว่า “เราจะเกิดมาชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย”
 

เมื่อพระพุทธองค์ทรงมา ทราบว่ากำลังฟังเรื่องอภินิหารกันอยู่ จึงตรัสถามว่า “อยากได้ยินคุณลักษณะอันประเสริฐของพระพุทธองค์อีกไหม” เหล่าพระสงฆ์ตอบว่า อยาก

พระพุทธองค์จึงตรัสว่า
 

“คถาคตสามารถรู้ว่า

อารมณ์ใดเกิด อารมณ์ใดเกาะเกี่ยวจิตใจ

และเมื่ออารมณ์ใดจืดจางไป คถาคตก็รับรู้ว่า อารมณ์นั้นจืดจางไป

ความคิดความรู้สึกก็เช่นกัน เกิดขึ้น เกาะเกี่ยวในจิตใจ และก็จางหายไป

อานนท์ นี่เป็นคุณลักษณะอันประเสริฐของคถาคต”

 

“ความอัศจรรย์นั้นไม่ได้มาจากการที่เทวดาโอบอุ้มยามคถาคตมาเกิด หรือพูดได้ เดินได้ยามประสูติ อัศจรรย์ที่แท้คือ การที่เราสามารถดูจิตของเราเองได้

 

การฝึกดูจิต ในชีวิตประจำวัน

 

เมื่อเราโดนแซงคิวในร้านสะดวกซื้อ การได้ดูจิตของตนเองว่า เราเห็นอารมณ์โกรธ เห็นคำพูดที่ผุดมาในใจว่า ยายคนนี้เป็นใครกล้ามาแซงคิวเรา

นั่นคือ “การได้ดูอารมณ์แต่ไม่ถลำตามอารมณ์ นั่นแหล่ะ คืออภินิหารย์ที่แท้จริง

เมื่อเห็นอารมณ์เกิดขึ้นตามจริง แบบเป็นกลาง โดยไม่กดอารมณ์หรือดึงกลับมา เราก็จะเกิดสติปัญญาตามมาว่า ทุกสิ่งล้วนเกิดขึ้นดับไป และสติปัญญาจะทำให้รู้ว่า เราต้องทำอะไร

 

แม้แต่พระโสดาบันก็ยังมีอารมณ์โกรธ ยังมีความต้องการ แสดงสิ่งที่ไม่ดี และอาจจะเกิดความรู้สึกโกรธ เวลามีใครแซงคิว

 

แต่พระโสดาบันจะต่างจากปุถุชนธรรมดาที่ว่า จะสามารถแยกแยะได้ว่า นั่นคืออารมณ์โกรธ และจะไม่ถลำลึกตามอารมณ์โกรธนั้น และปัญญาที่พัฒนาต่อมาจากการมีสติ ณ ขณะนั้น ก็จะทำให้เกิดความเมตตาต่อหญิงที่แซงคิวนั้น

 

การที่มีอารมณ์ต่าง ๆ มากมาย เช่น โกรธ หลง อิจฉา ฯลฯ หากเราเผลอถลำตามอารมณ์นั้น ก็จะเกิดปฎิกิริยาโต้ตอบมากมาย แต่หากเรามีสติ เห็นอารมณ์ที่เกิด ณ ปัจจุบันขณะนั้น และไม่ถลำตามไปยึดอารมณ์นั้นเพราะความอยากได้มา หรือไม่อยากให้เกิดขึ้น ก็จะทำให้เกิดความสุขจากการที่จิตไม่ยึด ไม่อยากขึ้น  

เช่นการให้สัมภาษณ์รายการตอนนี้ ที่มีเสียงรถวิ่งผ่านไปมา เราไม่ชอบเลย แต่เราก็อยู่กับความไม่ชอบได้อย่างมีความสุข เพราะไม่ยึดอารมณ์โกรธไม่ชอบนั้น ไม่ต้องวิ่งหนี ไม่ต้องสร้างปัญหาให้เกิดขึ้น

 

หากฝึกจิตให้มีสติ มองตามอารมณ์แต่ไม่ถลำตามอารมณ์แบบนี้ไปเรื่อย ๆ เราจะพบว่า มีพื้นที่มากมายในโลกนี้ และจะเห็นว่า มีอารมณ์โน่นนี่ เกิดขึ้นมากมาย แต่กระนั้น เราก็แค่ดู แค่เห็น ปล่อยให้ผ่านไป และจะพบว่า ไม่ว่าจะอยู่ท่ามกลางสถานการณ์ใด ๆ ใจเราก็มีความสุข
 
 © ทรูปลูกปัญญา