(วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ : เทคนิคเล่าเรื่องรอบวง , เทคนิคคู่คิด )
ชั่วโมงที่ 1-2
1. ครุแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน คละกันตามความสามารถ ให้แต่ละคนมีหมายเลขประจำตัวตั้งแต่ 1 - 4 แล้วให้สมาชิกแต่ละกลุ่มจับคู่กัน ศึกษาแผ่นดินไหว และ ภูเขาไฟปะทุ
2. ครูแนะนำให้นักเรียนใช้หนังสือเรียน ประกอบการศึกษา
3. ครูให้นักเรียนแต่ละคนในกลุ่มเล่ารายละเอียดที่ได้ศึกษาไปแล้ว โดยให้แต่ละคนใช้เวลาในการเล่าเท่าๆ กัน จนครบทุกคน
4. ครูอธิบายให้นักเรียนเข้าใจเกี่ยวกับการเกิดแผ่นดินไหว และ ภูเขาไฟปะทุ
5. นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาความรู้เพิ่มเติมในหนังสือเรียนอีกครั้ง แล้วจับคู่กันสรุปเกี่ยวกับการเกิดแผ่นดินไหว เมื่อได้ข้อสรุปร่วมกันแล้วนำข้อมูลไปแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนในกลุ่ม
6. นักเรียนจับคู่กันทำใบงานที่ 3.1 เรื่อง แผ่นดินไหวเกิดได้อย่างไร และใบงานที่ 3.2 เรื่องแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยคำตอบในใบงาน
7. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เรื่อง การเกิดแผ่นดินไหว
ชั่วโมงที่ 3-4
1. นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาความรู้เพิ่มเติมในหนังสือเรียนอีกครั้ง แล้วจับคู่กันสรุปเกี่ยวกับการเกิดภูเขาไฟปะทุ เมื่อได้ข้อสรุปร่วมกันแล้วนำข้อมูลไปแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนในกลุ่ม
2. นักเรียนจับคู่กันทำใบงานที่ 3.3 เรื่อง รอยเลื่อนในประเทศไทย และใบงานที่ 3.4 เรื่อง การเกิดภูเขาไฟ จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยคำตอบในใบงาน
3. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เรื่อง การเกิดภูเขาไฟ
ชั่วโมงที่ 5-6
1. นักเรียนแต่ละกลุ่มศึกษาความรู้เพิ่มเติมในหนังสือเรียนอีกครั้ง แล้วจับคู่กันสรุปเกี่ยวกับประเภทของภูเขาไฟ เมื่อได้ข้อสรุปร่วมกันแล้วนำข้อมูลไปแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนในกลุ่ม
2. นักเรียนจับคู่กันทำใบงานที่ 3.5 เรื่อง ประเภทของภูเขาไฟ จากนั้นครูและนักเรียนร่วมกันเฉลยคำตอบในใบงาน
3. ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เรื่อง ประเภทของภูเขาไฟ
4. ให้นักเรียนรวมกลุ่ม 4 คน ตามความสมัครใจ เพื่อร่วมกันสืบค้นและสรุปผลการทดลองในกิจกรรมต่างๆ ในชั้นเรียน แล้วนำมาวิเคราะห์และสรุปความรู้เพื่อนำเสนอผลงานเรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลงด้วยโปรแกรม Microsoft Power Point
นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง โลกและการเปลี่ยนแปลง