|
เศรษฐกิจพอเพียง
วิชา : สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับชั้น : ม.1
โพส : วันที่ 18 ต.ค. 2554
โหวต :  | เข้าชม : 37,922 ครั้ง
|
 |
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 |
 |
|
|
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 เศรษฐกิจพอเพียง |
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 |
เรื่อง ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง |
เวลา 3 ชั่วโมง |
 |
สาระสำคัญ / ความคิดรวบยอด |
 |
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตของพสกนิกรชาวไทย |
 |
ตัวชี้วัด / จุดประสงค์การเรียนรู้ |
 |
ตัวชี้วัด ส 3.1 ม 1/3 อธิบายความเป็นมา หลักการ และความสำคัญของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต่อสังคมไทย
จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. อธิบายความหมายและความเป็นมาของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ 2. อธิบายความเป็นมาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวมทั้งโครงการตามพระราชดำริได้ |
 |
สาระการเรียนรู้ |
 |
สาระการเรียนรู้แกนกลาง 1. ความหมายและความเป็นมาของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2. ความเป็นมาของเศรษฐกิจพอเพียงและหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรวมทั้งโครงการตามพระราชดำริ |
 |
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน |
 |
ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการคิด - ทักษะการคิดวิเคราะห์ ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต - กระบวนการทำงานกลุ่ม - กระบวนการสืบค้นข้อมูล |
 |
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ |
 |
1. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2. มีวินัย 3. ใฝ่เรียนรู้ 4. อยู่อย่างพอเพียง |
 |
กิจกรรมการเรียนรู้ |
 |
(วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ : เทคนิคคู่คิดสี่สหายThink Pair Square / วิธีสอนแบบบรรยาย / วิธีสอนโดยเน้นกระบวนการกลุ่ม : กระบวนการกลุ่ม) นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน ประจำหน่วยการเรียนรู้ที่ 5
ชั่วโมงที่ 1 1. ให้นักเรียนเล่าการกระทำของบุคคลที่นักเรียนประทับใจในการกระทำของเขาที่แสดงว่า เป็นคนมัธยัสถ์ รู้จักใช้จ่ายแต่พอดีพอควร รู้จักใช้จ่ายอย่างมีเหตุผล ซึ่งบุคคลดังกล่าวอาจจะเป็นพ่อแม่ พี่น้อง ลุงป้า น้าอา ปู่ย่า ตายาย เพื่อนบ้าน ผู้นำชุมชน ผู้นำระดับจังหวัด หรือผู้นำระดับประเทศ พร้อมทั้งให้เหตุผลที่นักเรียนประทับใจ ในการกระทำของบุคคลดังกล่าว และการกระทำของบุคคลนั้นส่งผลดีต่อตัวเขา หรือผู้อื่นอย่างไร 2. ครูอธิบายเพื่อนำเข้าสู่การเรียนการสอนว่าบุคคลต่างๆ ที่นักเรียนช่วยกันยกตัวอย่างมานั้นมีการกระทำที่สอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และครูอธิบายให้นักเรียนเข้าใจในหัวข้อต่อไปนี้ 1) ความหมายของคำว่าพอเพียง เศรษฐกิจพอเพียง 2) ความเป็นมาของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3) หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 3. ครูแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน คละกันตามความสามารถ คือ เก่ง ปานกลางค่อนข้างเก่ง ปานกลางค่อนข้างอ่อน และอ่อน (โดยครูจัดไว้ล่วงหน้า) แล้วให้นักเรียนแต่ละกลุ่มแบ่งนักเรียนออกเป็น 2 คู่ 4. นักเรียนแต่ละคู่ศึกษาความรู้ เรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ในหัวข้อ ความหมาย และความเป็นมาของเศรษฐกิจพอเพียง หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แล้วช่วยกันทำใบงานที่ 1.1 เรื่อง ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง 5. นักเรียน 2 คู่ ในแต่ละกลุ่มผลัดกันอธิบายผลงานตามหัวข้อที่ได้ทำในใบงานที่ 1.1 และทำความเข้าใจ จนมีความกระจ่างชัดเจน 6. ครูสุ่มเรียกนักเรียนแต่ละกลุ่มออกมาเฉลยใบงาน กลุ่มละ 1 หัวข้อย่อย ในตอนที่ 1 และให้กลุ่มอื่นที่มีผลงานแตกต่างกันออกมานำเสนอเพิ่มเติม จากนั้นให้กลุ่มอื่นๆ ที่ยังไม่ได้นำเสนอช่วยกันเสนอผลงานในผังความคิด หัวข้อ หลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีครูเป็นผู้ช่วยตรวจสอบความถูกต้อง 7. ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปความรู้เกี่ยวกับความหมาย ความเป็นมาของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และหลักการทรงงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 8. ครูมอบหมายให้นักเรียนแต่ละกลุ่มไปค้นคว้าความรู้เกี่ยวกับ โครงการตามพระราชดำริที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง จากสื่อและแหล่งการเรียนรู้ต่อไปนี้ (ให้นักเรียนเตรียมข้อมูลมาในชั่วโมงต่อไป) 1) หนังสือเรียน เศรษฐศาสตร์ ม.1 2) กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. แนวทางส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนสำหรับเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน. กรุงเทพมหานคร : หจก. บางกอกบล๊อก, 2548. 3) สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. กษัตริย์นักพัฒนา. กรุงเทพมหานคร : ดอกเบี้ย, 2546.
ชั่วโมงที่ 2-3 1. ครูนำภาพเกี่ยวกับโครงการตามพระราชดำริต่อไปนี้ มาให้นักเรียนทายว่าเกี่ยวข้องกับโครงการด้านใด 1) ภาพสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง 2) ภาพพื้นที่บริเวณลุ่มแม่น้ำคลองน้ำจืด คลองแฆแฆ อำเภอสายบุรี จังหวัดปัตตานี 3) ภาพป่าไม้สมบูรณ์ 4) ภาพป่าไม้แห้งแล้ง 5) ภาพโครงการศูนย์ศิลปาชีพ 6) ภาพเขื่อนภูมิพล 7) ภาพวัดพระราม 9 8) ภาพกังหันชัยพัฒนา 2. ครูช่วยเฉลยให้นักเรียนทราบว่าภาพต่าง ๆ นั้นจะสัมพันธ์กับโครงการตามพระราชดำริ คือ 1) โครงการด้านการเกษตร ได้แก่ ภาพที่ 1, 2, 6, 8 2) โครงการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ได้แก่ ภาพที่ 3, 4, 6 3) โครงการด้านการส่งเสริมอาชีพ ได้แก่ ภาพที่ 5 4) โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ได้แก่ ภาพที่ 6 5) โครงการด้านการอนุรักษ์และพัฒนาดิน ได้แก่ ภาพที่ 2 6) โครงการด้านคุณธรรม ได้แก่ ภาพที่ 7 3. ครูอธิบายเชื่อมโยงให้นักเรียนเข้าใจว่าโครงการตามพระราชดำรินั้นมีอยู่จำนวนมาก ซึ่งล้วนแต่มีผลสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ และให้นักเรียนแต่ละกลุ่มที่ช่วยกันหาข้อมูลความรู้เกี่ยวกับโครงการตามพระราชดำริที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง นำข้อมูลมาร่วมกันวิเคราะห์และตอบคำถามตามหัวข้อในใบงานที่ 1.2 เรื่อง โครงการตามพระราชดำริเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง 4. นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานต่อชั้นเรียนโดยการจับสลาก แล้วนำเสนอตามหมายเลขที่จับสลากได้โดยปฏิบัติดังต่อไปนี้ - กลุ่มหมายเลข 1 นำเสนอผลงาน กลุ่มหมายเลข 2 มีหน้าที่เสนอความคิดเห็นเพิ่มเติม - กลุ่มหมายเลข 2 นำเสนอผลงาน กลุ่มหมายเลข 3 มีหน้าที่เสนอความคิดเห็นเพิ่มเติม - กลุ่มหมายเลข 3 นำเสนอผลงาน กลุ่มหมายเลข 4 มีหน้าที่เสนอความคิดเห็นเพิ่มเติม - กลุ่มหมายเลข 4 นำเสนอผลงาน กลุ่มหมายเลข 5 มีหน้าที่เสนอความคิดเห็นเพิ่มเติม - กลุ่มหมายเลข 5 นำเสนอผลงาน กลุ่มหมายเลข 1 มีหน้าที่เสนอความคิดเห็นเพิ่มเติม 5. ครูเป็นผู้ตรวจสอบความถูกต้องของการนำเสนอผลงานของกลุ่มที่นำเสนอ และกลุ่มที่แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม 6. ครูและนักเรียนช่วยกันสรุปความสำคัญและประโยชน์ของโครงการตามพระราชดำริเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง |
 |
การวัดผลและประเมินผล |
 |
วิธีการ |
เครื่องมือ |
เกณฑ์ |
นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน |
แบบทดสอบก่อนเรียน |
ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์ |
นักเรียนทำใบงานที่ 1.1 |
ใบงานที่ 1.1 |
ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์ |
นักเรียนทำใบงานที่ 1.2 |
ใบงานที่ 1.2 |
ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์ |
สังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่ม |
แบบสังเกตพฤติกรรมการเข้าร่วมกิจกรรม กลุ่ม |
ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์ |
|
 |
สื่อ / แหล่งการเรียนรู้ |
 |
สื่อการเรียนรู้ 1. หนังสือเรียน เศรษฐศาสตร์ ม.1 2. หนังสือค้นคว้าเพิ่มเติม 1) กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย. แนวทางส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนสำหรับเจ้าหน้าที่พัฒนา ชุมชน. กรุงเทพมหานคร : หจก. บางกอกบล๊อก, 2548. 2) สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. กษัตริย์นักพัฒนา. กรุงเทพมหานคร : ดอกเบี้ย, 2546. 3. ใบงานที่ 1.1 เรื่อง ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง 4. ใบงานที่ 1.2 เรื่อง โครงการตามพระราชดำริเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง 5. ตัวอย่างสื่อประกอบการเรียนการสอน
แหล่งการเรียนรู้ 1. ห้องสมุด 2. แหล่งข้อมูลสารสนเทศ - http://www.sufficiencyeconomy.org/ - http://www.doae.go.th/report/SE/html/01.htm - http://www.inspect9.moe.go.th/economic_king80.htm - http://sufficiencyeconomy.panyathai.or.th/ - th.wikipedia.org/wiki/เศรษฐกิจพอเพียง |
ขอขอบคุณเนื้อหาจาก : บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด
คะแนนโหวต : 
|
|