การเขียนเพื่อการสื่อสาร
วิชา : ภาษาไทย ระดับชั้น : ม.1
โพส : วันที่ 11 พ.ค. 2554
โหวต :  | เข้าชม : 40,021 ครั้ง
|
 |
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 |
 |
|
|
หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การเขียนเพื่อการสื่อสาร |
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 |
เรื่อง การเขียนเรียงความ |
เวลา 2 ชั่วโมง |
 |
สาระสำคัญ / ความคิดรวบยอด |
 |
การเขียนเรียงความจัดเป็นการเขียนเชิงสร้างสรรค์ที่มีการใช้รูปแบบและมีการเรียบเรียงภาษาที่สละสลวย โดยเฉพาะการเขียนเรียงความเชิงพรรณนาจะต้องอาศัยการเลือกสรรถ้อยคำที่ทำให้เกิดจินตภาพและความงามของภาษา |
 |
ตัวชี้วัด / จุดประสงค์การเรียนรู้ |
 |
ตัวชี้วัด ท 2.1 ม.1/4 เขียนเรียงความ
จุดประสงค์การเรียนรู้ 1. บอกความแตกต่างของการเขียนเรียงความเชิงพรรณนาประเภทต่างๆ ได้ 2. เขียนเรียงความเชิงพรรณนาด้วยภาษาที่สร้างสรรค์ |
 |
สาระการเรียนรู้ |
 |
สาระการเรียนรู้แกนกลาง การเขียนเรียงความเชิงพรรณนา |
 |
สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน |
 |
ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถในการคิด - ทักษะการคิดสร้างสรรค์ ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต - กระบวนการปฏิบัติ |
 |
คุณลักษณะอันพึงประสงค์ |
 |
1. มีวินัย 2. ใฝ่เรียนรู้ 3. มุ่งมั่นในการทำงาน |
 |
กิจกรรมการเรียนรู้ |
 |
(วิธีสอนแบบบรรยาย และวิธีสอนโดยเน้นกระบวนการ : กระบวนการปฏิบัติ) นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 4
ชั่วโมงที่ 1 1. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้ให้นักเรียนทราบ 2. ครูสนทนากับนักเรียนเกี่ยวกับการเขียนเรียงความว่า นักเรียนเคยเขียนเรียงความเพื่อส่งเข้าประกวดหรือไม่ และนักเรียนคิดว่าการเขียนเรียงความที่ดีควรมีลักษณะอย่างไร 3. ให้นักเรียนในชั้นเรียนช่วยกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับระดับภาษาที่ใช้ในการเขียน ตลอดจนสาระสำคัญของเรียงความ 4. ครูอธิบายให้นักเรียนทราบว่า การเขียนเรียงความ จัดเป็นการเขียนเชิงสร้างสรรค์ที่ต้องมีการจัดลำดับข้อความ เรื่องราวให้มีความน่าสนใจ โดยผู้เขียนเรียงความจะใช้ภาษาระดับทางการหรือกึ่งทางการ 5. ครูมอบหมายให้นักเรียนศึกษาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการเขียนเรียงความ จากหนังสือเรียน 6. เมื่อนักเรียนศึกษาจบแล้ว ให้ร่วมกันสรุปสาระสำคัญของการเขียนเรียงความ โดยครูชี้แจงให้นักเรียนทราบว่า การเขียนเรียงความมีองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ - คำนำ เป็นส่วนที่ดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน - เนื้อเรื่อง เป็นสาระสำคัญของเรื่อง - สรุป เป็นการสรุปสาระสำคัญของเรื่องหรือให้ข้อคิด คำคมแก่ผู้อ่าน
ชั่วโมงที่ 2 1. ให้นักเรียนศึกษากลวิธีในการเขียนเรียงความเชิงพรรณนา จากหนังสือเรียน 2. ครูยกตัวอย่างการใช้ภาษาในการพรรณนา เพื่อให้นักเรียนเกิดความรู้ความเข้าใจ ดังนี้ - การใช้คำตรงกันข้าม เช่น ความรักทำให้ความขี้ริ้วกลับกลายเป็นความงาม - การเปรียบเทียบโดยนัย เช่น หญิงงามและหนามกุหลาบที่แหลมคมเป็นของคู่กัน - การใช้ข้อความกล่าวเกินจริง เช่น เธอเป็นดั่งลมหายใจ ร้องไห้จนน้ำตาเป็นสายเลือด 3. ให้นักเรียนช่วยกันยกตัวอย่างคำที่ใช้ในปัจจุบันที่เกิดมาจากคำเลียนเสียงธรรมชาติ 4. ครูอธิบายให้นักเรียนทราบว่า การมีพื้นฐานในการเลือกคำ และการใช้ภาษาในการพรรณนาจะช่วยให้ภาษาในการเขียนเรียงความมีความน่าสนใจ 5. ให้นักเรียนศึกษาตัวอย่าง การเขียนเรียงความเชิงพรรณนาตามความรู้สึก และการพรรณนาตามความเป็นจริง จากหนังสือเรียน 6. ให้นักเรียนเขียนเรียงความ โดยเลือกเรื่องที่ตนเองมีความสนใจ ครูเสนอแนะเกี่ยวกับการเลือกเรื่อง หรือหัวข้อที่จะเขียนเรียงความว่า ควรเลือกเขียนจากเรื่องใกล้ตัว หรือเรื่องที่นักเรียนรู้จักหรือคุ้นเคยเพื่อที่จะได้มีรายละเอียดในการเขียน และเขียนให้เห็นภาพได้ชัดเจน |
 |
การวัดผลและประเมินผล |
 |
วิธีการ |
เครื่องมือ |
เกณฑ์ |
นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน |
แบบทดสอบก่อนเรียน |
ร้อยละ 60 ผ่านเกณฑ์ |
นักเรียนเขียนเรียงความ |
แบบประเมินการเขียนเรียงความ |
ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์ |
นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน |
แบบประเมินตามสภาพจริง |
ระดับคุณภาพ 2 ผ่านเกณฑ์ |
|
 |
สื่อ / แหล่งการเรียนรู้ |
 |
สื่อการเรียนรู้ 1. หนังสือเรียน ภาษาไทย : หลักภาษาและการใช้ภาษา ม.1
แหล่งการเรียนรู้ 1. ห้องสมุด |
ขอขอบคุณเนื้อหาจาก : บริษัท อักษรเจริญทัศน์ อจท. จำกัด
คะแนนโหวต : 
|