บทเรียนออนไลน์ วิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง รัฐบาลกับระบบเศรษฐกิจ
ทีมงานทรูปลูกปัญญา | 2016-09-26 13:14:21
ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้
1. รัฐบาลกับการพัฒนาประเทศ
บทบาทของรัฐบาลกับการพัฒนาประเทศ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้บัญญัติแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ซึ่งเป็นหลักการแห่งนโยบายหลักให้รัฐปฏิบัติตามเพื่อบริหารประเทศไว้ 10 ด้าน คือ
1. ด้านทั่วไป ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ เป็นสภาพบังคับของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ โดยให้รัฐดำเนินการตรากฎหมายราชการแผ่นดินและกำหนดนโยบายในการบริหารราชการแผ่นดิน และ เป็นแผนการบริหารราชการแผ่นดินและแผนการตรากฎหมายของคณะรัฐมนตรี
2. ด้านความมั่นคงของรัฐ รัฐธรรมนูญกำหนดให้รัฐต้องพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์ เอกราชอธิปไตยและบูรณภาพแห่งเขตอำนาจรัฐ และต้องจัดให้มีกำลังทหารอาวุธยุทโธปกรณ์และเทคโนโลยี
3. ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคงของประเทศอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งส่งเสริมการดำเนินการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
4. ด้านศาสนา สังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายใน 2 ประเด็นหลัก คือ ในด้านศาสนา และ ในด้านสังคม
5. ด้านกฎหมายและการยุติธรรม รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบาย
6. ด้านการต่างประเทศ รัฐต้องส่งเสริมสัมพันธไมตรีและความร่วมมือกับนานาประเทศ
7. ด้านเศรษฐกิจ รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายใน 2 ประเด็นหลัก คือ ด้านการดำเนินการตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ของประชาชนทุกระดับ รวมถึงสังคม การเมือง การเกษตร ตลอดจนการดำเนินธุรกิจ และ ด้านเศรษฐกิจ
8. ด้านที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม แนวปฏิบัติที่รัฐต้องดำเนินการ ต้องคำนึงถึงความสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น
9. ด้านวิทยาศาสตร์ ทรัพย์สินทางปัญญา และพลังงาน รัฐส่งเสริม จัดงบประมาณ และ เผยแพร่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสมัยใหม่
10. ด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านนี้ ซึ่งเน้นการส่งเสริมให้ประชาชนเช้ามามีส่วนร่วมพัฒนาประเทศ
บทบาททางเศรษฐกิจของรัฐบาล มีดังนี้
- การจัดสรรการใช้ทรัพยากรของสังคม
- การกระจายรายได้และความมั่งคั่งของสังคม
- การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
- การเร่งรัดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ
- การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและรักษาสภาพแวดล้อม
1. การแทรกแซงราคาและการควบคุมราคา โดยรัฐบาลจะกำหนดราคาของสินค้าให้สูงหรือต่ำกว่าระดับราคาดุลยภาพในตลาด ซึ่งมีวิธีการดังนี้
- การประกันราคาขั้นต่ำ คือ การกำหนดราคาสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งไม่ให้ต่ำเกินไป ราคาขั้นต่ำนี้อาจสูงกว่าราคาตลาดหรือราคาดุลยภาพ ส่วนใหญ่นำมาใช้กับผลผลิตที่มีราคาตกต่ำ รัฐบาลมักใช้ เช่น
- ลดปริมาณการผลิต
- ให้เงินอุดหนุนแก่เกษตรกร
- การกำหนดราคาขั้นสูง คือ การกำหนดราคาสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งซึ่งจะต่ำกว่าราคาตลาดหรือราคาดุลยภาพ ส่งผลผู้บริโภคสามารถซื้อสินค้าในราคาที่ถูกลง
2. บทบาทการเก็บภาษีเพื่อพัฒนาประเทศของรัฐในระดับต่าง ๆ
- การเก็บภาษีของรัฐในระดับประเทศ จัดเก็บโดยรัฐบาลกลาง แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
- ภาษีทางตรง เป็นภาษีที่เสียภาษีไม่สามารถผลักภาระไปให้ผู้อื่นได้ ประกอบด้วย
- ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คือ ภาษีที่จัดเก็บจากบุคคลทั่วไป หรือจากหน่วยภาษีที่มีลักษณะพิเศษตามที่กฎหมายกำหนดและมีรายได้เกิดขึ้นตามเกณฑ์ที่กำหนด
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล คือ ภาษีที่จัดเก็บจากเงินได้ของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล และ นิติบุคคลอื่น ๆ
- ภาษีเงินได้ปิโตรเลียม คือ ภาษีที่จัดเก็บจากการประกอบกิจการเกี่ยวกับน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซธรรมชาติเหลว สารพลอยได้ และสารประกอบไฮโดรคาร์บอน ที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ
- ภาษีทรัพย์สิน คือ ภาษีที่จัดเก็บจากทรัพย์สินประเภทต่าง ๆ
- ภาษีหลักทรัพย์ คือ ภาษีที่จัดเก็บจากตราสารหรือหลักฐานแสดงสิทธิในทรัพย์สิน
- ภาษีทางอ้อม คือ ภาษีที่เก็บจากบุคคลที่สามารถผลักภาระไปยังผู้อื่นได้ ประกอบด้วย
- ภาษีมูลค่าเพิ่ม รัฐบาลจะรียกเก็บจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนการผลิตสินค้าหรือบริการ และการจำหน่ายสินค้าหรือบริการชนิดต่าง ๆ โดยผู้ประกอบการมีหน้าที่เก็บจากลูกค้า แล้วนำไปชำระแก่รัฐบาล
- ภาษีธุรกิจเฉพาะ คือ ภาษีที่จัดเก็บจากการประกอบกิจการเฉพาะอย่างแทนภาษีการค้าที่ถูกยกเลิก
- ภาษีสรรพสามิต คือ ภาษีที่จัดเก็บจากผู้ประกอบอุตสาหกรรม ตามมูลค่าหรือปริมาณของสินค้า และ บริการ ตามพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต
- ภาษีศุลกากร ใช้สกัดการไหลบ่าของสินค้าจากต่างประเทศ
- อากรแสตมป์ คือ ภาษีที่จัดเก็บจากการกระทำตราสาร
- ภาษีทรัพยากรธรรมชาติ เรียกเก็บจากการให้เช่าที่ดิน สินทรัพย์ชั้นผิวดินและสินทรัพย์ที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
- การเก็บภาษีของรัฐในระดับท้องถิ่น จัดเก็บโดยองค์กรปกครองท้องถิ่น จำแนกเป็น 3 ระดับ คือ
- เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล และเมืองพัทยา
- องค์การบริหารส่วนจังหวัด
- กรุงเทพมหานคร
2. นโยบายและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของรัฐบาล
ซึ่งในที่นี้จะศึกษาเฉพาะนโยบายและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของรัฐบาลที่สำคัญ 6 ประการ ดังนี้
1. นโยบายและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อบุคคล ได้แก่
นโยบายการกระจายรายได้ที่เป็นธรรม เพื่อให้เศรษฐกิจเจริญเติบโตในอัตราสูงอย่างมีเสถียรภาพ เกิดการจ้างงานเต็มที่ และระดับราคามีเสถียรภาพ
นโยบายการให้ประชาชนเข้าถึงแหล่งเงินทุน เพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม พร้อมทั้งให้ประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มผู้มีรายได้น้อยมีช่องทางการออม
2. นโยบายและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อกลุ่มบุคคล นโยบายปรับปรุงโครงสร้างของรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้รัฐวิสาหกิจเป็นกลไกขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การพัฒนาและการลงทุนของประเทศ
3. นโยบายและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อประเทศ ได้แก่
นโยบายการพัฒนาระบบสถาบันการเงินในประเทศ เพื่อให้สถาบันการเงินให้บริการตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการเงินและสภาวะสังคม ด้วยค่าบริการที่ต่ำ และมีประสิทธิภาพ
นโยบายการปรับโครงสร้างภาษีอากรทั้งระบบ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สร้างความเป็นธรรมในสังคม
นโยบายการบริหารทรัพย์สินของประเทศที่มีอยู่ทั้งทรัพย์สินของภาครัฐ
นโยบายสร้างรายได้ ได้แก่
1. นโยบายและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อบุคคล ได้แก่
- นโยบายการสร้างอาชีพ สร้างงาน เสริมสร้างกระบวนการสร้างอาชีพ
- นโยบายการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ เพื่อให้ธุรกิจและประชาชนปรับตัวในการแสวงหาโอกาสใหม่และรองรับผลกระทบ
2. นโยบายและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อกลุ่มบุคคล ได้แก่
- นโยบายการเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอาหาร
- นโยบายการยกระดับความสามารถในการแข่งขันและขยายช่องทางการตลาดของธุรกิจ
- นโยบายขยายการลงทุน เพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจแก่ประเทศและภูมิภาค
- นโยบายการดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศในสาขาการผลิตสินค้าและบริการ
3. นโยบายและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อประเทศ ได้แก่
- นโยบายการส่งเสริมการท่องเที่ยวจากทั้งภายนอกและภายในประเทศ
- นโยบายการให้อุตสาหกรรมพลังงานปิโตรเลียมและพลังงานทดแทนสร้างรายได้
นโยบายปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ แบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 ภาคเกษตร
1. นโยบายและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อบุคคล ได้แก่
- นโยบายการเสริมสร้างรากฐานของครัวเรือนเกษตรกรให้เข้มแข็ง
- นโยบายการจัดทำระบบทะเบียนครัวเรือนเกษตรกรที่มีข้อมูลการเกษตรของครัวเรือนครบถ้วน สามารถเชื่อมโยงกับบัตรเครดิตของเกษตรกรและมีการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ
- นโยบายการส่งเสริมเกษตรทฤษฎีใหม่
2. นโยบายและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อกลุ่มบุคคล ได้แก่
- นโยบายการสนับสนุนสภาเกษตรกรแห่งชาติ
- นโยบายการเพิ่มประสิทธิภาพของการผลิตพืช
- นโยบายการเร่งรัดพัฒนาธุรกิจการเกษตร
- นโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรมูลค่าเพิ่ม
3. นโยบายและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อประเทศ ได้แก่
- นโยบายการเพิ่มศักยภาพกระบวนการผลิตด้านปศุสัตว์
- นโยบายการพัฒนาการประมง
ส่วนที่ 2 ภาคอุตสาหกรรม
1. นโยบายและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อบุคคล นโยบายการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูป จะเพิ่มมูลค่าและยกระดับสินค้าให้มีคุณภาพและมีโอกาสในการขยายตลาด
2. นโยบายและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อกลุ่มบุคคล ได้แก่
- นโยบายการยกระดับความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรม
- นโยบายการเข้าสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ใช้ปัญญา เทคโนโลยี และภูมิปัญญาท้องถิ่นทดแทนอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเป็นหลัก
- นโยบายการสร้างความเข้มแข็งให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
- นโยบายการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมแห่งใหม่
- นโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
3. นโยบายและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อประเทศ ได้แก่
- นโยบายการกำหนดมาตรฐานและคุณภาพสินค้าอุตสาหกรรม เพื่อป้องกันสินค้านำเข้าที่ไม่ได้คุณภาพ
- นโยบายการมีมาตรการทางภาษีในการพัฒนาอุตสาหกรรม
- นโยบายการหาแหล่งแร่ทางเศรษฐกิจ
ส่วนที่ 3 ภาคบริการ การตลาด การค้า และการลงทุน ได้แก่
1. นโยบายและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อบุคคล นโยบายส่งเสริมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนการท่องเที่ยวและเร่งรัดการปรับปรุงมาตรฐานเรื่องสิ่งอำนวยความสะดวกและความปลอดภัย รวมถึงสุขอนามัย
2. นโยบายและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อกลุ่มบุคคล ได้แก่
- นโยบายการส่งเสริมสนับสนุนนักท่องเที่ยวคุณภาพทั้งจากต่างประเทศและในประเทศ
- นโยบายการพัฒนาธุรกิจบริการที่มีศักยภาพเพื่อขยายฐานการผลิตและการตลาดสู่ระดับภูมิภาค
- นโยบายการลงทุนในต่างประเทศ
- นโยบายการปรับปรุงมาตรการการส่งเสริมการลงทุนให้ครอบคลุมการให้สิทธิประโยชน์แก่ธุรกิจในภาคเกษตร อุตสาหกรรม การท่องเที่ยวการกีฬา และการบริการ
- นโยบายการพัฒนาสินค้าและบริการที่สร้างโอกาสใหม่ในการหารายได้
- นโยบายการจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
3. นโยบายและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อประเทศ ได้แก่
- นโยบายการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม
- นโยบายการสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศ
- นโยบายการขยายตลาดเชิงรุก
- นโยบายการขยายความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน และการตลาดภายใต้กรอบความร่วมมือและข้อตกลงการค้าเสรีในระบบพหุภาคีและทวิภาคี
- นโยบายโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาระบบรางเพื่อขนส่งมวลชน และการบริหารจัดการระบบขนส่งสินค้าและบริการ ได้แก่
1. นโยบายและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อบุคคล ได้แก่
- นโยบายการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง ประปา และระบบไฟฟ้า
- นโยบายขยายการให้บริการน้ำสะอาด
- นโยบายการพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกด้านการขนส่ง
- นโยบายการพัฒนาระบบคมนาคมขนส่งทางราง โดยพัฒนาระบบรถไฟทางคู่ ศึกษาและพัฒนารถไฟความเร็วสูง ศึกษาและพัฒนาขยายทางรถไฟ
- นโยบายเร่งรัดโครงการรถไฟฟ้า 10 สายทาง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
2. นโยบายและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบกลุ่มต่อบุคคล นโยบายการพัฒนาการขนส่งทางน้ำและกิจการพาณิชย์นาวี โดยพัฒนาท่าเรือน้ำลึกและสะพานเศรษฐกิจเชื่อมสองฝั่งทะเลภาคใต้
3. นโยบายและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อประเทศ ได้แก่ นโยบายการพัฒนาท่าอากาศยานสากล ท่าอากาศยานภูมิภาคและอุตสาหกรรมการบินของไทย โดยเพิ่มความสามารถของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิให้รองรับผู้โดยสารได้มากขึ้น
- นโยบายพลังงาน ได้แก่
1. นโยบายและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อบุคคล นโยบายการกำกับราคาพลังงานให้มีราคาเหมาะสมและสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง
2. นโยบายและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อกลุ่มบุคคล นโยบายการให้อุตสาหกรรมพลังงานสร้างรายได้แก่ประเทศ และพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางธุรกิจพลังงาน
3. นโยบายและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อประเทศ ได้แก่
- นโยบายสร้างเสริมความมั่นคงทางพลังงาน
- นโยบายการพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก
- นโยบายการอนุรักษ์พลังงาน
- นโยบายเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่
1. นโยบายและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อบุคคล ได้แก่
- นโยบายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
- นโยบายการเข้าถึงการใช้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสาธารณะ
- นโยบายส่งเสริมการใช้สื่อวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ทั้งภาครัฐและภาคประชาชน
2. นโยบายและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อกลุ่มบุคคล นโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้ได้มาตรฐานและสอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรม
3. นโยบายและกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อประเทศ นโยบายส่งเสริมการใช้คลื่นความถี่ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และดำรงไว้ซึ่งสิทธิอันพึงได้ของประเทศในการใช้เทคโนโลยีด้านสื่อสาร
แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th