บทเรียนออนไลน์ วิชาภาษาไทย เรื่อง ลักษณะและธรรมชาติของภาษา
ทีมงานทรูปลูกปัญญา | 2016-09-09 23:26:41
ผังมโนทัศน์สาระการเรียนรู้
ความหมายของภาษา
ภาษา คือ เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อความหมาย
๑. ภาษาถ้อยคำ (วัจนภาษา) = เสียงพูด/ตัวอักษร
๒. ภาษาไม่ใช่ถ้อยคำ (อวัจนภาษา) = ภาษาท่าทาง/สัญลักษณ์
ภาษาตามหลักภาษาศาสตร์ = เสียงพูดของมนุษย์ และภาษาเขียนจากเสียงพูดเท่านั้น
ธรรมชาติของภาษา
๑. ภาษาใช้เสียงสื่อความหมาย
๑. เสียงสัมพันธ์กับความหมาย เลียนเสียงธรรมชาติ เดาความหมายได้ เช่น แมว ตุ๊กแก รถตุ๊ก ๆ
๒. เสียงไม่สัมพันธ์กับความหมาย คนกำหนดความหมายขึ้น เช่น บ้าน= เฮ้าส์= เคห
๒. ภาษาประกอบด้วยหน่วยเล็กซึ่งประกอบกันเป็นหน่วยใหญ่ขึ้น
เสียง --> คำ --> กลุ่มคำหรือประโยค --> เรื่องราว ขยายได้เรื่อย ๆ ไม่จำกัด
๓. ภาษามีการเปลี่ยนแปลง
ภาษาเปลี่ยนแปลงเนื่องจากการพูดในชีวิตประจำวัน (กลืนเสียง/กร่อนเสียง) อิทธิพลของภาษาอื่น (ยืมคำ/เลียนแบบสำนวนหรือประโยค) การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมและเทคโนโลยีต่าง ๆ ทำให้เกิดสิ่งใหม่ขึ้น ส่งผลให้คำเก่าที่เคยใช้ถูกแทนที่ด้วยคำใหม่ และการเลียนภาษาของเด็ก
๔. ภาษามีลักษณะเฉพาะที่ต่างและเหมือนกัน
๑. ลักษณะเฉพาะที่ต่างกันของแต่ละภาษา ได้แก่ เสียง ชนิดของคำ และไวยากรณ์
๒. ลักษณะเฉพาะที่เหมือนกันในแต่ละภาษา เช่น เสียงสื่อความหมาย มีวิธีสร้างคำหลากหลาย มีสำนวนสุภาษิต มีคำชนิดต่าง ๆ ขยายประโยคได้เรื่อย ๆ มีวิธีแสดงความคิดคล้ายกัน และมีการเปลี่ยนแปลง
พลังของภาษา
ความสำคัญของภาษา
๑. ภาษาช่วยธำรงสังคม ภาษาใช้กำหนดแนวทางปฏิบัติให้สังคมธำรงอยู่ได้
๒. ภาษาแสดงความเป็นปัจเจกบุคคล การใช้สำนวนภาษาของแต่คนแสดงถึงลักษณะเฉพาะตน
๓. ภาษาช่วยให้มนุษย์พัฒนา ภาษาถ่ายทอดความรู้และพัฒนาความคิด ให้เกิดสิ่งใหม่ ๆ
๔. ภาษาช่วยกำหนดเหตุการณ์ที่จะให้มีขึ้นในอนาคต
๕. ภาษาช่วยจรรโลง เช่น บทเพลง นิทาน นิยายคำอวยพร
ลักษณะของภาษาไทย
๑. ระบบตัวเขียน
๑. อักษรแทนคำ พัฒนาจากภาพเขียนโดยตรง เช่น แทนลูกศร
แทนตะวัน
แทนนา
๒. อักษรแทนพยางค์ ตัวเขียน ๑ ตัว แทน ๑ พยางค์ กุ
รุ
มะ
๓. อักษรแทนเสียง ใช้ตัวเขียนแทนเสียงในภาษา ได้แก่ สระ พยัญชนะ วรรณยุกต์
๒. เสียงและอักษรไทย
อวัยวะสำหรับเปล่งเสียงพูด
แบ่งเป็น ๓ กลุ่ม ได้แก่ ปอด/หลอดลม กล่องเสียง/เส้นเสียง และอวัยวะเหนือเส้นเสียง
หน้าที่และอวัยวะสำคัญในการเปล่งเสียงพูด มีดังนี้
ปอด ปล่อยกระแสลม
หลอดลม เป็นทางผ่านของกระแสลม
กล่องเสียงและเส้นเสียง เส้นเสียงทำปฏิกิริยากับกระแสลม เกิดเสียงก้องกับไม่ก้อง
ช่องคอและลิ้นไก่ ลิ้นไก่ยก เกิดเสียงสระและพยัญชนะธรรมดา ลิ้นไก่ลด เกิดเสียงพยัญชนะนาสิก
ช่องปาก การเคลื่อนไหวลิ้นและริมฝีปากในลักษณะต่าง ๆ ทำให้เกิดเสียงต่าง ๆ
ชนิดของเสียงพูด
๑. พยัญชนะ
เสียงพยัญชนะ แบ่งเป็น อโฆษะ (เสียงไม่ก้อง) และ โฆษะ (เสียงก้อง)
ฐานที่เกิดของเสียงพยัญชนะ ได้แก่ เส้นเสียง เพดานปาก ปุ่มเหงือก ฟัน ริมฝีปาก
ลักษณะการเปล่งเสียงพยัญชนะ ได้แก่ เสียงกัก/เสียงระเบิด เสียงนาสิก เสียงเสียดแทรก เสียงกักเสียดแทรก/เสียงกึ่งเสียดแทรก เสียงข้างลิ้น เสียงกระทบ เสียงกึ่งสระ
การบอกชื่อของเสียงพยัญชนะ เรียกตามลักษณะการเปล่งเสียง ฐานที่เกิดเสียง ลักษณะการเปลี่ยนแปลงเส้นเสียง และปริมาณลม ดังนี้
ที่ |
พยัญชนะ |
ลักษณะการ เปล่งเสียง |
ฐานที่เกิดเสียง |
ลักษณะการเปลี่ยนแปลง ที่เส้นเสียงและปริมาณลม |
๑ |
/ป/ |
เสียงกัก |
ริมฝีปาก |
ไม่ก้อง ไม่มีกลุ่มลม |
๒ |
/พ/ |
เสียงกัก |
ริมฝีปาก |
ไม่ก้อง มีกลุ่มลม |
๓ |
/บ/ |
เสียงกัก |
ริมฝีปาก |
ก้อง ไม่มีกลุ่มลม |
๔ |
/ต/ |
เสียงกัก |
ฟัน-ปุ่มเหงือก |
ไม่ก้อง ไม่มีกลุ่มลม |
๕ |
/ท/ |
เสียงกัก |
ฟัน-ปุ่มเหงือก |
ไม่ก้อง มีกลุ่มลม |
๖ |
/ด/ |
เสียงกัก |
ปุ่มเหงือก |
ก้อง ไม่มีกลุ่มลม |
๗ |
/ก/ |
เสียงกัก |
เพดานอ่อน |
ไม่ก้อง ไม่มีกลุ่มลม |
๘ |
/ค/ |
เสียงกัก |
เพดานอ่อน |
ไม่ก้อง มีกลุ่มลม |
๙ |
/อ/ |
เสียงกัก |
เส้นเสียง |
ไม่ก้อง ไม่มีกลุ่มลม |
๑๐ |
/ฟ/ |
เสียงเสียดแทรก |
ริมฝีปากและฟัน |
ไม่ก้อง |
๑๑ |
/ซ/ |
เสียงเสียดแทรก |
ปุ่มเหงือก |
ไม่ก้อง |
๑๒ |
/ฮ/ |
เสียงเสียดแทรก |
เส้นเสียง |
ไม่ก้อง |
๑๓ |
/จ/ |
เสียงกักเสียดแทรก |
ปุ่มเหงือก-เพดานแข็ง |
ไม่ก้อง ไม่มีกลุ่มลม |
๑๔ |
/ช/ |
เสียงกักเสียดแทรก |
ปุ่มเหงือก-เพดานแข็ง |
ไม่ก้อง มีกลุ่มลม |
๑๕ |
/ม/ |
นาสิก |
ริมฝีปาก |
ก้อง |
๑๖ |
/น/ |
นาสิก |
ปุ่มเหงือก |
ก้อง |
๑๗ |
/ง/ |
นาสิก |
เพดานอ่อน |
ก้อง |
๑๘ |
/ร/ |
กระทบ |
ปุ่มเหงือก |
ก้อง |
๑๙ |
/ล/ |
ข้างลิ้น |
ปุ่มเหงือก |
ก้อง |
๒๐ |
/ย/ |
กึ่งสระ |
เพดานแข็ง |
ก้อง |
๒๑ |
/ว/ |
กึ่งสระ |
เพดานอ่อนหรือริมฝีปาก |
ก้อง |
๒๒ |
/ป/ |
เสียงกัก |
ริมฝีปาก |
ไม่ก้อง ไม่มีกลุ่มลม |
รูปพยัญชนะ
๑. พยัญชนะต้น พยัญชนะทั้ง ๒๑ หน่วยเสียง ใช้เป็นพยัญชนะต้นได้ทั้งหมด
๒. พยัญชนะสะกดหรือพยัญชนะท้าย มี ๘ มาตรา คือ แม่กก แม่กง แม่เกย แม่กด แม่กน แม่กบ แม่กม แม่เกอว ส่วนพยัญชนะที่ไม่ใช้เป็นเสียงพยัญชนะท้ายมี ๙ ตัว ได้แก่ ฃ ฅ ฉ ฌ ผ ฝ ห อ ฮ
ลักษณะที่ควรสังเกตเกี่ยวกับพยัญชนะ
๑. พยัญชนะไทยมีรูปมากกว่าเสียง เพราะ ภาษาไทยรับคำภาษาต่างประเทศ เพื่อรักษาอักขรวิธีของภาษาเดิม จึงคิดรูปพยัญชนะเพิ่ม (อักษรเดิม :ฆ ฌ ญ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ธ ภ ภ ศ ษ ฬ ฎ) เช่น มาฆะ มณฑป ไอศกรีม และพยัญชนะไทยมีอักษรคู่ โดยอักษรสูงพื้นเสียงจัตวา อักษรต่ำพื้นเสียงสามัญ เช่น ขา-คา
๒. รูปพยัญชนะบางรูปไม่ออกเสียง เช่น องค์ สามารถ พรหม พุทธ โทรม หลาย อย่า บางคำมีพยัญชนะแต่ไม่ปรากฏรูป ได้แก่ ได้แก่ คำที่ประสมสระเกิน อำ ไอ ใอ เอา ฤ ฤๅ
๑. สระ
เสียงสระ เป็นเสียงโฆษะ (เสียงก้อง)
อวัยวะทำให้เกิดเสียงสระต่างกัน ได้แก่ ลิ้นและริมฝีปาก โดยส่วนของลิ้น ระดับของลิ้น และรูปปากต่างกันจะกล่อมเกลาเสียงสระต่างกัน
รูปและเสียงสระเดี่ยว สระเดี่ยว ๑๘ เสียง แบ่งเป็น เสียงสั้นและยาวอย่างละ ๙ เสียง ดังนี้
รูป |
เสียงสระสั้น |
คำ |
|
รูป |
เสียงสระยาว |
คำ |
-ะ |
อะ |
กะ |
-า |
อา |
ขา |
|
-ิ |
อิ |
บิ |
-ี |
อี |
ปี |
|
-ึ |
อึ |
คึก |
-ื |
อือ |
มืด |
|
-ุ |
อุ |
ดุ |
-ู |
อู |
ครู |
|
เ-ะ |
เอะ |
เละ |
เ- |
เอ |
เจน |
|
แ-ะ |
แอะ |
แกะ |
แ- |
แอ |
แล |
|
เ-อะ |
เออะ |
เถอะ |
เ-อ |
เออ |
เธอ |
|
โ-ะ |
โอะ |
โต๊ะ |
โ- |
โอ |
โผ |
|
เ-าะ |
เอาะ |
เจาะ |
-อ |
ออ |
นอน |
เสียงสระประสม เกิดจากเสียงสระเดี่ยว ๒ เสียงประสมกัน มี ๓ เสียง คือ
เสียงสระประสม |
เสียงสระเดี่ยว |
เอีย |
อี + อา |
เอือ |
อือ + อา |
อัว |
อู + อา |
เสียงสระที่มีพยัญชนะประสม หรือ สระเกินมี ๘ เสียง ได้แก่ อำ (ม สะกด) ไอ ใอ (ย สะกด) เอา (ว สะกด) ฤ ฤๅ (ร พยัญชนะต้น) ฦ ฦๅ (ล พยัญชนะต้น)
ลักษณะที่ควรสังเกตอื่น ๆ ของการใช้รูปสระแทนเสียงในภาษาไทย ได้แก่
๑. เสียงสระบางเสียงใช้อักษรแทนได้หลายรูป เช่น เสียงสระ อะ
๒. รูปสระบางรูปไม่ออกเสียงเมื่อประกอบในคำ เช่น ญาติ ดาวเกตุ สัญชาติ
๓. คำที่ออกเสียงสระ บางคำประวิสรรชนีย์ บางคำไม่ประวิสรรชนีย์
๔. เสียงสระบางเสียงใช้รูปสระต่างกัน สื่อความหมายต่างกัน เช่น เทอญ เทิน ใน ไน ใต้ ไต้
๑) วรรณยุกต์
เสียงวรรณยุกต์ ถูกเปล่งมาพร้อมเสียงสระและพยัญชนะ แตกต่างกันตามความสั่นของเส้นเสียง
ระดับเสียงวรรณยุกต์ ได้แก่ วรรณยุกต์ระดับ (เสียงคงที่) ได้แก่ สามัญ เอก ตรี และ วรรณยุกต์เปลี่ยนระดับ (เสียงเปลี่ยน) ได้แก่ โท (สูงลงต่ำ) จัตวา (ต่ำขึ้นสูง)
ตารางระดับเสียงวรรณยุกต์
การผันเสียงวรรณยุกต์สัมพันธ์กับอักษรสามหมู่ คำเป็น คำตาย
คำเป็น ประสมสระเสียงยาวในแม่ ก กา ประสมสระเกิน อำ ใอ ไอ เอา และสะกดด้วยแม่ กง กน กน กม เกย เกอว เช่น ดู น้ำ ไหล ใกล้ เขา สูง ชัน ชม เชย ดาว
คำตาย ประสมสระเสียงสั้นในแม่ ก กา และสะกดด้วยแม่ กก กด กบ เช่น ปะ มด คาบ พริก
อักษรสามหมู่
๑. อักษรกลาง
คำเป็น ผันได้ครบ ๕ เสียง คำตาย ผันได้ ๔ เสียง
|
สามัญ |
เอก |
โท |
ตรี |
จัตวา |
คำเป็น |
กา |
ก่า |
ก้า |
ก๊า |
ก๋า |
คำตาย |
– |
กะ |
ก้ะ |
ก๊ะ |
ก๋ะ |
๒. อักษรสูง
คำเป็น ผันได้ ๓ เสียง คำตาย ผันได้ ๒ เสียง
|
สามัญ |
เอก |
โท |
ตรี |
จัตวา |
คำเป็น |
– |
ข่า |
ข้า |
– |
ขา |
คำตาย |
– |
ขะ |
ข้ะ |
– |
– |
๓. อักษรต่ำ
คำเป็น ผันได้ ๓ เสียง คำตาย สระสั้นผันได้ ๓ เสียง สระยาวผันได้ ๓ เสียง
|
สามัญ |
เอก |
โท |
ตรี |
จัตวา |
คำเป็น |
คา |
– |
ค่า |
ค้า |
– |
คำตาย สระสั้น |
– |
– |
ค่ะ |
คะ |
ค๋ะ |
คำตาย สระยาว |
– |
– |
คาด |
ค้าด |
ค๋าด |
ข้อสังเกตเกี่ยวกับการผันเสียงวรรณยุกต์
– วรรณยุกต์ตรีและจัตวาเท่านั้นที่ออกเสียงตรงตามรูป (เก๊ จ๊ะ ปุ๋ย วี๋ด)
– คำที่ออกเสียงไม่ตรงรูปวรรณยุกต์ ได้แก่ อักษรต่ำคำเป็นและคำตาย รูปวรรณยุกต์เอกออกเสียงโท (พึ่บพั่บ ตอม่อ ทอฟฟี่) รูปวรรณยุกต์โทออกเสียงตรี (เพล้ง วุ้ย เค้ก เชิ้ต)
– คำที่ออกเสียงวรรณยุกต์แต่ไม่มีรูปวรรณยุกต์ ให้ดูพื้นเสียงของคำ เช่น อักษรสูง คำเป็นพื้นเสียงจัตวา (เฉ โถม) คำตายพื้นเสียงเอก (ผิด สาด) อักษรต่ำ คำเป็นพื้นเสียงสามัญ (ยา ลม) คำตายเสียงสั้นพื้นเสียงตรี (คะ โพละ) คำตายเสียงยาวพื้นเสียงโท (คาด งีบ) อักษรกลาง คำเป็นพื้นเสียงสามัญ (จำ กิน) คำตายพื้นเสียงเอก (กะ จิบ)
– คำที่ใช้รูปและเสียงวรรณยุกต์ตรงกันมีเฉพาะคำเป็นที่มีอักษรกลางเป็นพยัญชนะต้นเท่านั้น เช่น กา ก่า ก้า ก๊า ก๋า
การประสมอักษร
พยางค์ปิด (มีตัวสะกด) พยางค์เปิด (ไม่มีตัวสะกด)
องค์ประกอบของพยางค์อย่างน้อย ๓ ส่วน คือ พยัญชนะต้น สระ และวรรณยุกต์ อาจมีตัวการันต์ก็ได้ เช่น กา เล่ห์ แต่อย่างมากไม่เกิน ๕ ส่วน คือ พยัญชนะต้น สระ พยัญชนะสะกด และวรรณยุกต์ อาจมีตัวการันต์ก็ได้ เช่น สัมพันธ์
การประสมอักษรของคำหลายพยางค์ต้องแยกประสมแต่ละพยางค์ เช่น
หนังสือ เป็นคำสองพยางค์ คือ หนัง + สือ
หนัง เป็นการประสมอักษรสี่ส่วน ประกอบด้วย
พยัญชนะต้น : หน
สระ : อะ ลดรูป
พยัญชนะสะกด : ง
วรรณยุกต์ : ไม่มีรูป เสียงจัตวา
สือ เป็นการประสมอักษรสามส่วน ประกอบด้วย
พยัญชนะต้น : ส
สระ : อือ
วรรณยุกต์ : ไม่ปรากฏรูป เสียงจัตวา
พยางค์ที่ขึ้นต้นด้วยรูปสระเกิน ฤ ฤๅ จะไม่ปรากฏรูปพยัญชนะต้น เช่น
ฤทธิ์ เป็นการประสมอักษรห้าส่วน ประกอบด้วย
พยัญชนะต้น : ร ใช้รูปสระเกิน ฤ
สระ : อิ ใช้รูปสระเกิน ฤ
พยัญชนะสะกด : ท เสียง ด
พยัญชนะการันต์ : ธิ
วรรณยุกต์ : ไม่ปรากฏรูป เสียงตรี
สรุป
การเข้าใจความหมายของภาษา ลักษณะและธรรมชาติของภาษา พลังของภาษา และการประสมอักษร จะช่วยให้สามารถใช้ภาษาไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังเป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ภาษาอื่น
คำสำคัญ
การประสมอักษร ระบบตัวเขียน ธรรมชาติของภาษา ความสำคัญของภาษา การผันวรรณยุกต์ เสียงพยัญชนะ เสียงสระ เสียงวรรณยุกต์
แหล่งที่มาของเนื้อหา : สำนักพิมพ์วัฒนาพานิช www.wpp.co.th